กรธ.ฟันธง “ประยุทธ์” นั่งรักษาการไม่ได้ ถ้าศาลวินิจฉัยครบ 8 ปี

Advertisement 17 กันยายน นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวชี้แจงหลักข้อกฎหมายในฐานะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กรณีเกิดข้อคำถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ครบวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ยังสามารถทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีรักษาการต่อไปจนกว่าจะหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้หรือไม่ว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปีแล้ว ท่านต้องพ้นจากหน้าที่ทันที เพราะตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดเรื่องคุณสมบัติของรัฐมนตรีไว้อยู่ จึงไม่สามารถอยู่ทำหน้าที่ต่อไปได้แล้ว เท่ากับว่าขาดคุณสมบัติทันที เนื่องจากกรณีนี้จะไม่เหมือนกับกรณีการยุบสภาที่นายกฯต้องทำหน้าที่ดูแลรักษาการไปก่อน Advertisement “เท่ากับว่าท่านจะไม่สามารถอยู่ทำหน้าที่นายกฯรักษาการต่อไปได้ ต้องให้รองนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่รักษาราชการแทนไปก่อน จนกว่าจะเข้าสู่กระบวนการเลือกนายกฯคนใหม่” อดีต กรธ.กล่าว นายชาติชายกล่าวถึงก่อนหน้านี้มีผู้แสดงความเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ หากประสงค์จะรักษาการก็ทำได้ไปจนกว่าจะเลือกนายกฯคนใหม่ได้นั้น ความเห็นนี้อาจลืมมองเรื่องคุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าต้องพ้นจากตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งรวมถึงนายกฯจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ด้วย ซึ่งเป็นการพ้นตำแหน่งจากการขาดคุณสมบัติ ไม่ใช่เป็นเพราะเหตุการณ์การเมืองหรือการยุบสภา หรือสภาหมดวาระที่จะต้องเลือกตั้งกันใหม่ แบบนี้จะรักษาการต่อไปได้ Advertisement ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 170 กำหนดว่าความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงไว้ 6 อนุมาตรา คือ (1) […]

กรธ.อ้าง “ชุดความคิดใหม่” ประยุทธ์อยู่ได้ถึงปี70

ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ ในรายการ คมชัดลึก ดำเนินรายการโดย วราวิทย์ ฉิมมณี ทางสถานีโทรทัศน์เนชั่น เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมว่า กรณีมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี แต่มีปัญหาว่าจะเริ่มต้นนับจากวันเวลาใด จะต้องดูมาตราที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ข้อกำหนดห้ามอยู่เกิน 8 ปี เริ่มจากรัฐธรรมนูญ 2550 ที่กำหนดไว้ในมาตรา 171 ส่วนรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่ในมาตรา 158 วรรคสี่ ศ.ดร.ชาติชาย กล่าวว่า ในเรื่องนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 กรธ.ใช้ชุดความคิดใหม่ และมีวิธีการที่แตกต่าง โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้องได้แก่ มาตรา 88 และ 89 ที่ให้พรรคการเมืองเสนอชื่อแคนดิเดต 3 คน ไม่ต้องเป็นส.ส.ก็ได้ จากนั้นการเป็นนายกฯ ให้เป็นไปตามมาตรา 159 และจากนั้นคือมาตรา 158 ที่ระบุห้ามดำรงตำแหน่งเกิน […]

error: