ทราบแล้วเปลี่ยน! นอนคลุมโปง ความเชื่อผิดๆ อันตรายกว่าที่คิด ทำให้สมองเสื่อมได้ !





หลายคนติดนิสัยนอนคลุมโปงเป็นประจำ หากไม่ได้คลุมโปงก็จะนอนไม่หลับ แต่รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมการนอนคลุมโปงนั้น นอกจากจะไม่ดีต่อสุขภาพแล้วยังอันตรายมากกว่าที่คิด ซึ่งอาจนำไปสู่สาเหตุที่ทำให้สมองเสื่อมได้

ทำไมการนอนคลุมโปงถึงอันตราย?

เพราะอากาศในผ้าห่มจะไม่ค่อยถ่ายเท อากาศข้างนอกเข้ามาไม่ได้ อากาศในผ้าห่มก็ไม่ถ่ายเท ทำให้มีก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ในผ้าห่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) มาจากอากาศเก่าที่เราหายใจออกมานั่นเองส่งผลให้ อ๊อกซิเจน (O2) เข้าไปเลี้ยงสมอง และ ร่างกายได้น้อยลง อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ซึ่งหากทำเป็นประจำอาจเกิดเป็นโรคสมองเสื่อมได้ นอกจากนี้หลายคนยังคงมีความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับการนอนคลุมโปง ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดอากาศหายใจได้ มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันต่อเลยค่ะ

มีความเชื่อ ที่หลากหลายเกี่ยวกับ การคลุมโปง

1.เวลานอนไม่หลับ ให้นอนคลุมโปง???

ความมืดในผ้าห่ม ทำให้ฮอร์โมนความง่วง(เมลาโทนิน) หลั่งออกมามากขึ้น การนอนคลุมโปงจึงทำให้นอนหลับง่ายขึ้นจริงๆ แต่มีวิธีที่ดีกว่านั้น คือการเอาผ้า มาปิดแค่ส่วนตา แล้วเว้นจมูกไว้ ให้ได้หายใจปกติ ฉะนั้นใครที่นอนในที่สว่างๆไม่ได้ ต่อไปควรหลีกเลี่ยงการคลุมโปง และควรเปลี่ยนมาใช้ผ้าปิดตาสีทึบๆ หรือเอาผ้าว้างปิดตาแล้วเว้นตรงจมูกไว้แทนจะดีกว่า ไจะได้ไม่เสี่ยงต่อการขาดอากาศหายใจ 

2.เวลาไม่สบาย ให้ปิดแอร์ นอนคลุมโปง ให้เหงื่อออกเยอะๆ???

การที่ร่างกายขับเหงื่อ และระบายความร้อนออกมา อาจช่วยให้ไข้ลดลงได้บ้าง แต่ไม่มาก และในขณะที่คุณนอนหลับก็เสี่ยงกับการขาดอากาศหายใจได้ แนะนำให้ใช้วิธีที่ดีกว่านี้คือการเช็ดตัว ซึ่งช่วยลดไข้ได้พอๆกับกินยาลดไข้เลยทีเดียว

รูปประกอบความเข้าใจ สรุปสั้นๆ 

เห็นไหมคะว่าการนอนคลุมโปงนั้นอันตรายขนาดไหน ใครที่ติดนิสัยนอนคลุมโปงหรือมีเพื่อนนอนคลุมโปง อย่าลืมแชร์ไปให้เพื่อนอ่านกันนะ เพราะนอกจากจะเสี่ยงกับการขาดอากาศหายใจแล้วยังเสี่ยงกับการเป็นโรคสมองเสื่อมอีกต่างหาก ฉะนั้นใครที่ทำอยู่แนะนำให้รีบเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนคลุมโปงด่วน เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของคุณเอง

ขอขบคุณที่มาจาก : Jones Salad   รูปภาพจาก : CrossFit Upper Limits,ShutterstockDaily Mail,blog.casper.com
เรียบเรียงโดย : Thaijobsgov.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: