รู้ไว้ไม่เสียสิทธิ! เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้ารักษาฟรี 72 ชั่วโมง ทั่วถึงทุกโรงพยาบาล





ขณะนี้ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้พัฒนาและออกแบบให้ประชาชนคนไทยที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลได้มากขึ้น

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มีนโยบายออกมาว่า

“เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์”

 

  1693-1

 

โดยเงื่อนไขการบริการคือ

1.ไม่คิดค่ารักษากับผู้ป่วย แต่จะเบิกคืนจากกองทุนต่างๆ โดยมี สพฉ.กำหนดอาการฉุกเฉินวิกฤต

2.การรักษาอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินจะคิดค่ารักษาทุกรายการแทนการเหมาจ่ายใน 72 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นเป็นเรื่องที่แต่ละกองทุนกับโรงพยาบาลเอกชนจะตกลงกันเอง

3.จัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิ เมื่อพ้นวิกฤต หรืออยู่จนครบ 72 ชั่วโมง อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ซึ่งมีการเพิ่มผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินขึ้นเป็น 2 เท่า และสั่งการตรวจสอบหมายเลข โทรศัพท์ สายด่วน 1669 ให้พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

 

[ads]

 

นอกจากนี้ สพฉ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉิน เอาไว้ดังนี้

 

บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต หากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง

 

เมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0-4 นาที

 

1692-1

 

หลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดง 25 กลุ่มอาการ ดังนี้

– ปวดท้องบริเวณหลัง เชิงกราน และขาหนีบ

– แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สัตว์ต่อย แอนาฟิแล็กซิส ปฏิกิริยาภูมิแพ้

– สัตว์กัด

– เลือดออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ

– หายใจลำบาก หายใจติดขัด

– หัวใจหยุดเต้น

– เจ็บแน่นทรวงอกหัวใจ มีปัญหาทางด้านหัวใจ

– สำลัก อุดกั้นทางเดินหายใจ

– เบาหวาน

– ภาวะฉุกเฉินเหตุสิ่งแวดล้อม

– ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกติทางตา หู คอ จมูก

– คลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท อารมณ์

– พิษ รับยาเกินขนาด

– มีครรภ์ คลอด นรีเวช

– ชัก มีสัญญาณบอกเหตุการณ์ชัก

– ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุจำเพาะ

– อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความรู้สึก ยืนหรือเดินไม่ได้เฉียบพลัน

– ไม่รู้สติ ไม่ตอบสนอง หมดสติชั่ววูบ

– เด็ก กุมารเวช

– ถูกทำร้าย

– ไฟไหม้ ลวกเหตุความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าช็อต

– ตกน้ำ จมน้ำ บาดเจ็บทางน้ำ

– พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ เจ็บปวด

– อุบัติเหตุยานยนต

– และอื่นๆ

 

1693-2

 

อาการที่สามารถเข้ารับสิทธิรักษาฟรีได้จะต้องมีอาการดังนี้

– หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ

– ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที

– การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน

– ระบบหายใจมีอาการดังนี้

~ไม่สามารถหายใจได้ปกติ

~หายใจเร็ว แรง และลึก

~หายใจมีเสียงดังผิดปกติ

~พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้

~สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ

– ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย 2 ข้อ คือ

 

~ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว

~หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น

 

– อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ

– อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น

~เจ็บหน้าอกรุนแรง

~แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด

~กำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก

 

เมื่อทราบรายละเอียดของการรักษาฟรีกันแล้ว เมื่อเกิดหรือพบเจออุบัติเหตุหรืออันตรายฉุกเฉินก็จะได้ส่งตัวผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ทันเวลา…รู้ไว้จะได้ไม่เสียสิทธินะคะ

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก matichon.co.th และ bisnescafe.com

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: