หยุดกด-ขยี้ดวงตา….เสี่ยงกระจกตาโก่ง แตก





  “กระจกตาโก่ง” เป็น 1 โรคทางตาที่อาจจะแฝงมากับภาวะสายตาสั้น สายตาเอียง ทำให้คนที่มีปัญหาสายตาอยู่แล้วอาจจะไม่รู้ตัวเอง แล้วเข้าใจไปว่าการที่สายตาสั้น หรือเอียงชนิดที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จนต้องเปลี่ยนแว่นสายตาอยู่บ่อย ๆ นั้นเป็นเพราะใช้สายตามากเกินไป แต่ในความเป็นจริงอาจจะเป็นภาวะเริ่มต้นของปัญหากระจกตาโก่งก็เป็นได้

 

[ads]

 

 

 

 

   ทั้งนี้ รศ.พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ หัวหน้าศูนย์เลเซอร์สายตา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุว่า โรคกระจกตาโก่งเกิดจากเส้นใยคอลลาเจนในกระจกตาอ่อนแอ ซึ่งยังไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เชื่อคาดว่ามีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ คนกลุ่มนี้เมื่อคันตามักใช้ข้อนิ้วขยี้ตาอย่างแรง ซึ่งก็สันนิษฐานว่าการกด ขยี้ดวงตาอย่างแรงเป็นตัวกระตุ้นให้เส้นใยคอลลาเจนอ่อนแอลง และยังพบด้วยว่า การทำเลสิกซึ่งต้องฝนกระจกตาให้บางลง ทำให้มีภาวะกระจกตาโก่งง่ายกว่าคนทั่วไป แต่โอกาสเกิดน้อยเพราะจักษุแพทย์จะตรวจสอบและระมัดระวังดีอยู่แล้ว

%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%88%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%87_873-768x432

   การที่ กระจกตาเริ่มอ่อนแอลง จนทำให้ความดันในลูกตาซึ่งเป็นความดันในระดับปกตินั้นสามารถดันกระจกตาให้โก่งขึ้นในลักษณะบิด ๆ เบี้ยว ๆ โป่งขึ้นมาด้านนั้นบ้าง ด้านนี้บ้าง จากที่เคยทำหน้าที่ในการรับแสงจากระยะไกลผ่านเข้าไปเลนส์แก้วตา แล้วมาหักเหที่จอรับภาพ หรือจอประสาทตาเพื่อทำให้มองเห็นภาพได้ดี ก็กลายเป็นการทำหน้าที่ผิดเพี้ยนไปหมด

   “การหักเหของแสงมากเกินไป กระทบกับการมองเห็นในลักษณะสายตาสั้น สายตาเอียง หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้กระจกตาโก่งขึ้นจนแตกทำให้น้ำในลูกตาซึมเข้าไป ทำให้เกิดเป็นฝ้า ขาว ขุ่น อักเสบบวม เป็นแผลเป็น อาจจะทำให้กระจกตาพิการ มีปัญหาเรื่องการมองเห็น และที่สำคัญโรคนี้มักเป็นทั้ง 2 ข้างพร้อม ๆ กัน มีเพียงร้อยละ 2-4 เท่านั้นที่จะเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว”

   อย่างไรก็ตาม เราไม่พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานบางรายซึ่งมีปัญหาเรื่องความดันลูกตาสูงจะก่อให้เกิดโรคนี้ หรือในกรณีของผู้มีปัญหาสายตายาวก็ไม่มีความสัมพันธ์กับโรคดังกล่าวแต่อย่างใด

%e0%b8%94%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b2

   รศ.พญ.งามจิตต์ บอกว่า ในระยะหลัง ๆ เมื่อเทคโนโลยีในการตรวจรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตามีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ตรวจเจอผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1. อายุ 10-20 ปี กลุ่มนี้โรคมักมีอาการรุนแรง 2. อายุ 20-30 ปี โรคจะนิ่ง ๆ ไม่เป็นมาก และ 3. กลุ่มที่ไม่แสดงอาการ รู้ตัวเมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องตรวจวัดดวงตา

   ส่วนการรักษานั้นมีอยู่ 5 วิธี คือ 1. การสวมแว่นสายตา 2. คอนแทค เลนส์ 3. การฉายแสงอัล   ตร้าไวโอเลตเอ (Crosslinking) ผสมกับไวตามินบีในทางการแพทย์ เพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาสร้างเชื่อมพันธ์เชื่อมตัวไฟเบอร์ให้มากขึ้น แข็งแรงมากขึ้น สามารถต้านแรงดันลูกตาไม่ให้กระจกตาโก่งตามแรงดันนั้นได้ นับเป็นการหยุดยั้งกระจกตาโก่ง 4. การใส่วงแหวนขึงตรึงกระจกตา หลักการเหมือนกับใส่สะดึงตรึงผ้า แต่เป็นการรักษาชั่วครู่ ไม่ได้หยุดยั้งความโก่งเหมือนกับการทำคอสริง และ 5. การเปลี่ยนกระจกตาใหม่ ซึ่งต้องรอการบริจาคซึ่งเฉลี่ยแล้วต้องรอ 3 ปี

   ทั้งนี้ เนื่องจากไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เส้นใยคอลลาเจนอ่อนแอลงเป็นเพราะอะไร จึงยากที่จะหาวิธีป้องกันการเกิดโรค ดังนั้น จึงต้องยึดหลักการถนอมดวงตาแบบพื้นฐานคือ ไม่กด ขยี้ดวงตาแรง ไม่ใช้สายตาหนักเกินไป หากเมื่อยล้าดวงตาก็ให้กลอกตาไปมา แต่ไม่แนะนำให้กดหรือนวด ขณะเดียวกัน ก็สังเกตการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาสั้น สายตาเอียงภายใน 1 ปี ค่าการมองเห็นไม่ควรเกิน 50 หากผิดสังเกตก็ควรมาพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรซื้ออาหารเสริมมารับประทานสุ่มสี่สุ่มห้า.

 

[ads=center]

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก:www.dailynews.co.th

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: