แข็งแรงแค่ไหนก็เป็น “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ได้….หยุด 5 พฤติกรรมเสี่ยง….มันใกล้กว่าที่คุณคิดเยอะ!





หากพูดถึง “หมอนรองกระดูก” แล้ว วัยรุ่นส่วนใหญ่อาจไม่ค่อยให้ความสนใจกับมันเสียเท่าไหร่ เพราะคิดว่าตัวเองยังเป็นเด็ก แข็งแรง และไม่น่าจะเจ็บป่วยด้วยโรคแบบนี้ได้ แต่ถ้าเริ่มทำงานไปได้สักพัก คุณจะเริ่มได้ยินคำนี้บ่อยขึ้น หรือบางทีโรคนี้อาจจะกำลังเกิดขึ้นกับคุณอยู่ก็ได้ แต่เป็นเพียงอาการเริ่มต้นเท่านั้น

อย่ารอให้มันเติบโตและลุกลามมากไปกว่านี้เลยค่ะ รีบกำจัดจุดอ่อน แล้วปิดประตูไม่ให้มีโอกาสเกิดโรคนี้กันดีกว่า

 

 

รู้จักกับ “หมอนรองกระดูก” กันก่อน

หมอนรองกระดูก คือ เนื้อเยื่อพังผืดเหนียวๆ ที่ซ้อนกันเป็นวงรอบหลายๆ ชั้น ด้านในนุ่มๆ และยืดหยุ่นคล้ายวุ้น ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ตั้งแต่คอ อก ยาวลงไปจนถึงเอว

เมื่อเกิดการขยับของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกจะรับแรงกระแทกในทุกกิจกรรม ทั้งการนั่ง ยืน กระโดด เอนหลัง บิดตัว และอื่นๆ ซึ่งจะคอยปกป้องไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนที่หรือเสียดสีกันนั่นเอง

 

และเชื่อหรือไม่ค่ะว่า โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมากเท่าไหร่ แต่วัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-50 ปีนี่แหนะที่น่าเป็นห่วง เพราะเป็นวัยที่ใช้ร่างหนัก พักผ่อนน้อย และอาจจำเป็นต้องทำงานในสถานที่ และเวลาที่จำกัดอยู่เสมอๆ

 

1641-2

 

อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการที่ผิดปกติ หรือ สัญญาณสำคัญของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่คุณต้องระวัง ได้แก่

1. ปวดบริเวณเอว คอ อก หรือหลังช่วงล่าง โดยจะรู้สึกปวดแบบจิ๊ดๆ เหมือนโดนไฟฟ้าช็อต และอาการปวดจะเป็นๆ หายๆ อย่างยาวนาวมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

2. บางครั้งจะรู้สึกปวดร้าว หรือเจ็บแปลบไปถึงต้นขา น่อง หรือเท้าได้

3. มีอาการชาในบริเวณที่ปวดควบคู่ไปด้วย

4. รู้สึกไร้เรี่ยวแรงบริเวณเอว หลัง หรือคอ จะขยับยังลำบาก

5. กล้ามเนื้อบริเวณคอ หลัง เอว อก ต้นขา น่องขา หรือหลังเท้าอ่อนแรง

6. หากอาการรุนแรง อาจรู้สึกชาไปถึงรอบอวัยวะเพศ รอบก้น

7. การขับถ่าย หรือปัสสาวะจะยากลำบาก

 

[ads]

 

ถ้าไม่อยากเอาชีวิตตัวเองไปเสี่ยง จงหยุดพฤติกรรมเสี่ยงของ “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ตั้งแต่บัดนี้ พฤติกรรมต่างๆที่ไม่ควรทำบ่อย ได้แก่

 

1. ก้มๆ เงยๆ บ่อยๆ หรือทำมากจนเกินไป

2. ยกของหนักด้วยท่าเดิมๆ หรือท่าที่ผิดๆ

3. ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานอยู่ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนบ่อยๆ เช่น เขตก่อสร้าง เป็นต้น จึงเสี่ยงต่อโรคนี้เป็นอย่างมาก

4. อ้วน หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน

5. อยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ โดยเฉพาะพันักงานออฟฟิตที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆทั้งวัน

 

ไม่เช่นนั้น คุณอาจจะต้องทานยาเพื่อลดความปวด ทำกายภาพบำบัด และอาจต้องฉีดยาเพื่อลดการอักเสบที่เส้นประสาท แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดก็เป็นได้

 

1641-3

 

ดังนั้น วิธีการป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ดี จึงควรที่จะ

1. ไม่ยกของหนัก หรือยกของท่าเดิมๆ มากเกินไป

2. ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เช่น กายบริหาร เดินไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น

3. หมั่นออกกำลังกาย ทำการบริหารเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องให้แข็งแรง ป้องกันอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

ถ้าทำได้แบบนี้ได้ ก็คงจะห่างไกลจากคำว่า  “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ได้อย่างแน่นอน เพราะเราอยากให้คนไทยทุกคนแข็งแรง และใช้ชีวิตอยู่ด้วยความสุขตลอดไป

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก si.mahidol.ac.th

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: