ใครมีที่มีทางรู้ไว้! อัพเดต  “อัตราภาษีที่ดิน” ใหม่ล่าสุด…แบบไหนเสียมาก เสียน้อย หรือได้ยกเว้น





เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีการปรับปรุงการเก็บภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีมากขึ้น ดังนี้

 

หลังจาก ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขั้นตอนต่อไปจะต้องส่งร่างกฎมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจทานถ้อยคำก่อนส่งร่างกฎหมายให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2560

 

อัตราการจัดเก็บรูปแบบใหม่

อัตราภาษีที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจะเป็นอัตราสูงสุดที่จะจัดเก็บภาษีจากผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะจัดแบ่งอัตราภาษีดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการใช้ประโยชน์  ได้แก่

 

1) กรณีใช้เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกิน 0.2%

2) กรณีใช้เพื่อเป็นที่พักอาศัย ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกิน 0.5%

3) กรณีใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ (เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น) ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกิน 2%

4) ในส่วนของที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์  กำหนดอัตราภาษีสูงสุดในกฎหมายให้ อปท. เรียกเก็บภาษีสำหรับที่ดินดังกล่าวในอัตราไม่เกิน 5% ของฐานภาษี

 

1213.1

 

โดยอัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจริงจะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดเป็นอัตราก้าวหน้า  ดังนี้

 

1) เกษตรกรรม ตั้งแต่ 0-0.1% ของฐานภาษี

2) ที่พักอาศัยหลัก ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่ 0.05-0.1% และที่พักอาศัยหลังอื่น ตั้งแต่ 0.03-0.3% ของฐานภาษี

3) ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ 0.3-1.5% ของฐานภาษี

4) ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน จะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี โดยในปีที่ 1-3 เก็บในอัตรา 1% ของฐานภาษี ปีที่ 4-6 เก็บในอัตรา 2% ของฐานภาษี ปีที่ 7 เป็นต้นไป เก็บในอัตรา 3%

 

[ads]

 

ทั้งนี้ มีการยกเว้นภาษีให้แก่ทรัพย์สินบางประเภท เช่น สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินของสถานทูต ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่มิได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทรัพย์สินของเอกชนที่ได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และบ้านพักอาศัยหลักในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น

 

1213.2

 

การปรับเปลี่ยนครั้งนี้คาดว่าจะมีประโยชน์ต่อทั้งประชาชนหรือประเทศชาติ เช่น

 

1. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูงกับผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำ

2. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี

3. กระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ลดปัญหาการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไร

4. ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

5. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงานของ อปท. มากขึ้น

 

ใครมีที่มีทางก็ควรรู้ถึงสิ่งเหล่านี้เอาไว้บ้าง จะได้ตามเขาทันนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก thaipublica.org

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: