มารู้จักโรควูบ!! ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน





 557000015399501

โรควูบ คือ อาการที่มีลักษณะคล้ายจะเป็นลมเกือบจะหมดสติ หรือบางรายหมดสติไป (Syncope) โดยเป็นภาวะที่สามารถพบได้บ่อย สาเหตุของการเป๊นโรคนี้นั้นมีมากมายโดยหนึ่งในสาเหตุเหล่านั้น เป็นเกิดจากความผิดปกติทางหัวใจ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะในชีวิตประจำวันเช่น การเดิน การขับรถ หรือการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อมีอาการวูบเกิดขึ้นก็จะส่งผลต่อผู้ใกล้ชิดทางด้านจิตใจคือเกิดความกังวลว่าจะฟื้นขึ้นมาหรือไม่และอาจก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในการทำกิจกรรมต่างๆ เพราะกลัวจะเกิดอาการวูบ อาจทำให้ล้มลง เกิดอุบัติเหตุจากการล้มหรือเสียการทรงตัวได้ ได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้วเรามารู้จักโรคนี้และวิธีการปฐมพยาบาลกันเลยครับ 

อาการของโรควูบ มีอาการหน้ามืดหมดสติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ขณะยืน เช่น บนรถเมล์ ในห้องน้ำ อาจมีอาการอื่นประกอบ เช่น เหงื่อออก ตัวซีด อาเจียน โดยตัวของโรคเองจะไม่ก่อให้เกิดความอันตรายมากนักแต่ขึ้นอยู่กับว่า ณ ตอนนั้นกำลังทำอะไรอยู่เช่น อยู่ในห้องน้ำก็อาจจะทำให้ศรีษะกระแทกพื้นได้ หรือขณะขับรถก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 

thaihealth_c_dijkmpuvwy69

ผู้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดอาการวูบ คือ

  • ู้สูงอายุ

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

  • ผู้มีปัญหาด้านการได้ยิน 

  • ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะหรือหู

เมื่อพบเห็นผู้มีอาการวูบและวิธีการปฐมพยาบาล

เบื้องต้นเมื่อพบผู้ที่มีอาการวูบนั้น สิ่งแรกคือต้องประเมินว่าผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ชีพจรเป็นอย่างไเมื่อหมดสติ ถ้าผู้ป่วยไม่หมดสติก็แค่ให้ผู้ป่วยนั่งลงหรือนอนลงก็เพียงพอ ถ้าอาการดีขึ้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรต่อ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นก็ควรนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด

การป้องกันการเกิดอาการวูบ

ผู้ที่ไม่เคยเป็นหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ก็จะช่วยลดโอกาสเกิดการวูบได้ เช่น การรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิตให้แข็งแรง ด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดหลับอดนอน เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดอาการวูบได้แล้วครับ

 

เรียบเรียงโดย Thaijobsgov

ข้อมูลจาก http://beyc.co.th/,โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ขอบคุณภาพจาก Google.com

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: