รู้หรือยัง? ผู้บริจาคเลือดก็มีสิทธิการรักษาที่พิเศษเหมือนข้าราชการได้!!





สิทธิการรักษาหลายคนอาจจะเข้าใจว่าสงวนไว้เฉพาะครอบครัวข้าราชการเท่านั้น ล่าสุดสมาชิกหมายเลข 2783538 ได้ตั้งกระทู้ถามในพันทิปบริจาคเลือด เกิน24ครั้ง ได้สิทธิรักษาฟรี แบบข้าราชการ จริงหรือ ???? (อ่านรายละเอียดเนื้อความกระทู้เพิ่มเติมได้ที่ http://pantip.com/topic/34767546) ก็ได้มีหลายคนที่เข้ามาคอมเม้นท์ตลอดจนอ้างอิงจากเว็บบอร์ดสภากาชาด (http://www.redcross.or.th/forum/12206) ก็ยืนยันแล้วว่าเป็นเรื่องจริง

 

o26h52purpCF7gmg5rV-o

สิทธิพิเศษสำหรับผู้บริจาคโลหิต
1. ผู้บริจาคโลหิต   ตั้งแต่      7 ครั้งขึ้นไป   สามารถขอใช้สิทธิ์
    ช่วยเหลือ
ค่าห้องพิเศษและค่าอาหารพิเศษได้   ไม่เกินร้อยละ  50
2. ผู้บริจาคโลหิต   ตั้งแต่    16 ครั้งขึ้นไป   สามารถขอใช้สิทธิ์
    ช่วยเหลือ
ค่ารักษาพยาบาล  + ค่าห้องพิเศษและค่าอาหาร   ได้ร้อยละ  50
3. ผู้บริจาคโลหิต   ตั้งแต่    24 ครั้งขึ้นไป   สามารถขอใช้สิทธิ์
    ช่วยเหลือ
ค่ารักษาพยาบาล  100% + ค่าห้องพิเศษและค่าอาหาร   ได้ร้อยละ 50
4. ผู้บริจาคโลหิต   ตั้งแต่  100 ครั้งขึ้นไป   สามารถขอใช้สิทธิ์   "ขอพระราชทานเพลิงศพ "
    ได้เป็นกรณีพิเศษ
   ** เฉพาะผู้บริจาคโลหิตเท่านั้น  ไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้ผู้อื่นได้  
5. ผู้บริจาคโลหิต   
ตั้งแต่ 9 ครั้งขึ้นไป   สามารถขอใช้สิทธิ์   ตรวจวิเคราะห์สารเคมีในโลหิตได้
    เช่น   ตรวตจหาน้ำตาล , ไขมัน  , การทำงานของตับ  , การทำงานของไต   ฯลฯ
 
   โดยผู้บริจาคโลหิตสามารถใช้สิทธิ์ได้   ปีละ  1 ครั้ง

 

ประโยชน์ของสมาชิกสภากาชาดไทย
รายละเอียด : ผู้ที่เป็นสมาชิกสภากาชาดทุกประเภท มีสิทธิดังนี้
1. เมื่อเข้า
รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของสภากาชาดไทย คือ  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชาจะได้ลดอัตราค่าห้อง ค่าผ่าตัด ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด

2. เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จะได้ลดอัตราค่าห้องร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด (ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข) หลักฐานที่สมาชิกสภากาชาดไทยจะต้องนำไปแสดงในการขอรับการรักษาพยาบาลต่อเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้แก่ ประกาศนียบัตรของสมาชิกประเภทนั้นๆ และถ้าเป็นสมาชิกสามัญประจำปีต้องมีใบเสร็จรับเงินไปแสดงด้วย

3. ถ้าบิดาและมารดาเป็นสมาชิก เอกสิทธิของสมาชิกรวมถึงบุตรที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ด้วย

4. การลดหย่อนค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 จะมีผลต่อเมื่อสมาชิกมิได้ค้างชำระ หนี้แก่สภากาชาดไทยในขณะที่ขอรับประโยชน์ดังกล่าว และต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกำหนด ดังนี้
(1) สมาชิกพิเศษ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลตั้งแต่วันที่เป็นสมาชิก
(2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล เมื่อมีชื่ออยู่ใน ทะเบียนสมาชิกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน
(3) สมาชิกวิสามัญ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลต่อเมื่อมีชื่อ อยู่ในทะเบียนสมาชิกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
(4) สมาชิกสามัญตลอดชีพ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลต่อเมื่อ มีชื่ออยู่ในทะเบียนสมาชิกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 9 เดือน
(5) สมาชิกสามัญ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล ต่อเมื่อมีชื่ออยู่ในทะเบียนสมาชิก เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

5. บุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภากาชาด แต่ได้ประโยชน์บางอย่าง ได้แก่
(1) ผู้บริจาคโลหิตให้แก่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย หรือ สาขาบริการโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป รวมจำนวนโลหิตแล้วไม่น้อยกว่า 140 ซีซี มีสิทธิเทียบเท่าสมาชิกสามัญตลอดชีพ
(2) บุคคลผู้บริจาคโลหิตให้ศูนย์บริการโลหิต หรือสาขาบริการโลหิตตั้งแต่
24 ครั้งขึ้นไป สถานบริการสาธารณสุขรักษาพยาบาลให้โดยไม่คิดมูลค่า แต่ถ้าอยู่ห้องพิเศษให้เรียกเก็บค่าห้องเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดและให้มีสิทธิเฉพาะตัว (ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2525 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2527) และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532)
(3) สมาชิกอาสากาชาดที่ได้รับการอบรมหลักสูตรอาสากาชาดปฏิบัติภารกิจ
ของอาสากาชาดอย่างสม่ำเสมอจนครบ 1 ปี ตามระเบียบปฏิบัติของอาสากาชาดเมื่อเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของสภากาชาดไทย อาทิ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชาจะได้รับสิทธิลดค่าห้อง ค่าผ่าตัด ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด
 

ประกาศเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2552

 

redcross


ขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บไซต์ http://www.redcross.or.th/forum/12206
เว็บไซต์ 
http://pantip.com/topic/34767546
เรียบเรียงใหม่โดย Thaijobsgov


 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: