คู่รักควรรู้! สูตรคำนวณเรียก “สินสอด” จ่ายเท่าไรจึงจะลงตัว





การแต่งงาน เป็นหนึ่งในธรรมเนียมปฏิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อคนสองคนบ่มเพาะความรักจนสุกงอม และพร้อมจะใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว การที่เจ้าบ่าวจะขอเจ้าสาวไปเป็นภรรยาได้ ก็ต้องมีการเตรียมเงินเตรียมทองไว้เป็นค่าใช้จ่าย หรืออีกนัยหนึ่งก็เรียกว่าค่า “สินสอด” นั่นแหละ แต่จะต้องเป็นจำนวนเท่าไรจึงจะสมน้ำสมเนื้อ สมฐานะ และไม่เป็นภาระจนกระอักเลือดของฝ่ายชาย วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน

755.1

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ หากคู่รักคิดจะแต่งงานกัน ฝ่ายเจ้าบ่าวคงจะต้องหนักใจกันเสียหน่อย ว่าควรจะทุ่มทุนเท่าไรดีเพื่อให้ลงตัวกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งถ้ายังคิดไม่ออกวันนี้เจาขอยกข้อมูลที่น่าสนใจจาก “ภศุ ร่วมความคิด” เจ้าของผลงานวิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) สถาบันนิด้า มาฝากกัน ในหัวข้อ “ถ้าฉันจะแต่งงาน ควรได้รับ หรือต้องจ่ายสินสอดเท่าไร

 

วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ประเมินมูลค่าสินสอดโดยใช้แบบจำลองที่เรียกว่า “เฮดโดนิค (Hedonic Pricing Model : HPM)” เนื่องจาก สินสอดเป็นข้อตกลงของการแต่งงาน ไม่ได้มีการซื้อขายผ่านตลาด จึงไม่มีราคาตลาด ราคาของสินสอดจึงมักถูกกำหนดผ่านกระบวนการเจรจาต่อรองเสียมากกว่า

แบบจำลองเฮดโดนิค ผนวกเอาตัวแปรคุณลักษณะต่างๆของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเข้ามาวิเคราะห์ ซึ่งสุดท้ายแล้วมูลค่าของสินสอดจะต้องอยู่ที่ระดับราคาดุลยภาพของทั้งสองฝ่าย

[ads]

 

ภศุ เก็บข้อมูลตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามกับคู่แต่งงานจำนวน 220 คู่ หรือ 440 คน ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีข้อมูลของคู่แต่งงานตั้งแต่ปี 2526 ถึง 2550 ภายใต้ระยะเวลาที่คู่แต่งงานคบหากันก่อนแต่งงานเฉลี่ยที่ 5 ปีครึ่ง ซึ่งพบว่า มูลค่าของสินสอดที่ฝ่ายหญิงเรียกจากฝ่ายชายสูงสุด มีมูลค่าเกือบ 6.7 ล้านบาท และต่ำสุดอยู่ที่หมื่นกว่าบาท หรือมีค่าเฉลี่ยของสินสอดอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท

 

ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาสินสอดขึ้นอยู่กับ ระดับรายได้ การศึกษา ภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว และการได้แต่งงานเป็นบุคคลลำดับที่เท่าไรของบ้าน เช่น

– เมื่อคู่แต่งงานมีระดับรายได้สูงขึ้น 1 บาท จะทำให้มูลค่าของสินสอดเพิ่มขึ้นไป 2 บาทเศษ

– เมื่ออายุของคู่แต่งงานสูงขึ้น 1 ปี จะทำให้มูลค่าสินสอดเพิ่มขึ้นไปอีก 8,986 บาท

– หากคู่แต่งงานมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ มูลค่าสินสอดจะเพิ่มขึ้นไปอีก 174,818 บาท

– หากคู่แต่งงานออกเรือนหรือแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว จะทำให้มูลค่าของสินสอดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไปอีก 227,064 บาท

 

ภศุ กล่าวว่า โดยรวมแล้วการแต่งงานเร็วจะดีกว่า เพราะมูลค่าของสินสอดจะต่ำลงตามรายได้และอายุ แต่จากการประมวลผลแบบแยกฝ่ายชายออกจากฝ่ายหญิง เขาว่า กลับให้ผลการศึกษาดังนี้

เมื่อฝ่ายชายมีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า จะเต็มใจจ่ายค่าสินสอดให้ฝ่ายหญิงเพิ่มขึ้น 20% แต่ถ้าฝ่ายหญิงเป็นผู้มีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า กลับต้องการจะเรียกค่าสินสอดจากฝ่ายชายเพิ่มขึ้นถึง 32%”

 “เมื่อระยะเวลาในการคบหา และตำแหน่งหน้าที่การงานของฝ่ายหญิงสูงขึ้น ความเต็มใจในการจ่ายค่าสินสอดของฝ่ายชายก็จะต้องเพิ่มขึ้นด้วย”  

755.2

ภศุยกตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่างที่ 1

คู่บ่าวสาวต่างมีรายได้เฉลี่ยคนละ 20,000 บาทต่อเดือน มีอายุ 30 ปี ทั้งคู่ เป็นคนกรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว โดยที่ต่างคนต่างไม่มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตน และทั้งคู่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง

ค่าสินสอดที่ถือว่าได้ดุลยภาพ จะคำนวณออกมาได้เป็น (2.2205 ×รายได้ต่อเดือน) + (8,986.92×อายุ) + (ถ้าเป็นคนกรุงเทพฯ 174,818.6) + (227,064.1 ถ้าแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว)

หรือเท่ากับ (2.2205×20,000 บาท) + (8,986.92×30 ปี) + (174,818.6 เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ) + (227,064.1 เพราะแต่งงานเป็นคนแรกของบ้าน) เท่ากับ 715,590.3 บาท

 

ตัวอย่างที่ 2

คู่บ่าวสาวจบการศึกษาไม่เกินระดับมัธยม หรือ ปวช. ต่างมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาทต่อเดือน มีอายุ 30 ปี ทั้งคู่เป็นคนกรุงเทพฯและแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว โดยที่ต่างคนต่างมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตน แต่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง

มูลค่าของสินสอดที่เหมาะสมจะกลายเป็น (2.2205 × รายได้ต่อเดือน) + (8,986.92×อายุ) + (เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ 174,818.6) – (454,350.5 เพราะจบการศึกษาไม่เกินมัธยม/ปวช.) + (227,064.1 เพราะแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว) – (134,160.8 เพราะมีภาระต้องดูแลครอบครัวของตน) เท่ากับ 127,389 บาท

 

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานยังไม่จบเพียงแค่ค่าสินสอด แต่ยังต้องมีค่าชุดแต่งงาน ค่าถ่ายรูปพรีเวดดิ้ง ค่าสถานที่ ค่าขันหมาก ค่าของชำร่วย ค่าแต่งหน้า ทำผม ค่าดนตรี ค่าอาหาร และอื่นๆอีกมากมายที่คุณทั้งคู่ต้องสำรองเงินเผื่อเอาไว้กว่าจะได้แต่งงานสมใจ

สุดท้ายแล้ว ทั้งหมดทั้งปวงคงไม่ได้ขึ้นอยู่กับสูตรคณิตศาสตร์ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเต็มใจของทั้งสองฝ่าย หากคุณรักกันจริง มูลค่าของสินสอดก็คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรเลย จะหนีตามกันไปหรือสู่ขอแบบยิ่งใหญ่ ขอแค่รักกันจริงและไม่ทิ้งกันไป ก็น่าจะพอแล้วใช่หรือไม่ค่ะ?

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก newsupdate.sayhibeauty.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: