ธ.ก.ส เดินหน้าโครงการล้านละร้อย หนุนชุมชนสร้างไทย ดอกเบี้ย 0.01%





นายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ต้องการผลักดันสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย ระยะที่ 2 หรือ โครงการล้านละร้อย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน โดยเกษตรกรที่กู้ไปแล้วในเฟสแรกที่ต้องการขอกู้เพิ่มจะต้องเป็นกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่า (Added Value) จากโครงการเดิมเท่านั้น โดยสามารถยื่นขอกู้ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 พฤศจิกายน 2568

ธ.ก.ส.ได้ดำเนินโครงการล้านละร้อย วงเงินสินเชื่อ 50,000 ล้านบาทมาแล้ว 4 ปี สามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่อทั้งสิ้น 28,401 ล้านบาทคิดเป็นเกษตรกร 6,500 ราย วงเงินเฉลี่ยต่อราย 4.1 ล้านบาท มีการชำระคืนและปิดบัญชีไปจำนวนมาก ล่าสุดเหลือเพียง 800 รายมูลหนี้ 2,640 ล้านบาทและมีหนี้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพียง 0.8% เท่านั้น

ทั้งนี้โครงการล้านละร้อย เฟส 2 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบไปเมื่อปลายปี 2566 ภายใต้วงเงินเดิมที่เหลือประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยได้ขยายเงื่อนไขการปล่อยกู้เพิ่มเติมคือ สนับสนุนสินเชื่อพื่อการบริหารจัดการน้ำ การเกษตรยั่งยืนและตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model ภายใต้ SDGs และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตรา 0.01% ต่อปีในช่วง 3 ปีแรก จากนั้นตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป คิดดอกเบี้ยตามเกณฑ์ปกติของ ธ.ก.ส.

“ล้านละร้อยเฟส 2 เพิ่งเริ่มโครงการ ซึ่งปล่อยกู้ได้แล้ว 5,800 ล้านบาท เหลือวงเงิน 15,000 ล้านบาท ซึ่่งนับว่าดอกเบี้ยถูกมาก ใครก็อยากได้ ทุกกลุ่มเกษตรกรจึงต้องการยื่นขอกู้ เพราะให้ยอดเงินกู้ 3-5 ล้านบาท บาทต่อราย สูงสุด 100 ล้านบาทต่อกลุ่ม เพื่อต้องการยกระดับชุมชนผ่านหัวขบวนเกษตรกร เพื่อนำเงินไปลงทุนการผลิต ทำให้เกษตรกร ที่อยู่ในเครือข่ายเข้ามาร่วมโครงการมากขึ้น ธ.ก.ส. จึงเดินหน้ายกระดับหัวขบวนในชุมชน ช่วยกันผลักดันการลงทุนในพื้นที่ให้มากขึ้น”นายพงษ์พันธ์กล่าว

ทั้งนี้ธ.ก.ส.พร้อมสนับสนุนทั้งเงินทุนให้กับกลุ่มเกษตรกรหัวขบวน รวมถึงมูลค่าเพิ่ม (value added) เพราะผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีความแตกต่างกัน ซึ่งในการเดินทางศึกษาดูงานที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ จึงได้นำเกษตรกรหัวขบวนร่วมศึกษาดูงานด้วยไม่ว่าจะเป็น I love flower farm, TEAMPHUM, วสช.บ้านตาติด, กาแฟลองเลย,The FIG Nature Garden, ไร่ภูตะวันออร์กานิค ฟาร์ม, พีเจ ริช อินเตอร์กรุ๊ป,ชุมชนบ้านนาต้นจั่น, NPP Orchid และชุมชนบ้านไหนหนัง

นางสาวนภัสวรรณ เมณะสินธุ์ วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตดอกเบญจมาศ บ้านตาติด จุดผลิตไม้ดอกไม้ประดับแหล่งสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี 1 ใน 10 เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ร่วมเดินทางศึกษาดูงานกับธ.ก.ส.ในครั้งนี้กล่าวว่า ได้ไอเดียดีๆ จากการดูงาน โดยเฉพาะในอุทยาน เคอเคนฮอฟ ว่า จะนำไปพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างไร ทั้งลักษณะการจัดส่วน รูปแบบการจัดซุ้มที่สามารถนำไปปรับใช้ได้

 

ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: