เปิดเงื่อนไขการขอกู้ยืมเงินจากโครงการ “โคแสนล้าน”





รัฐบาลเดินหน้าโครงการโคแสนล้าน หวังช่วยส่งเสริม สนับสนุน สร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุนเมือง อีกทั้งยังช่วยยกระดับการผลิตโคเนื้อที่มีคุณภาพสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งรายละเอียดของโครงการนี้ทั้งหมดจะเป็นอย่างไร ใครจะมีสิทธิได้กู้ยืม และกรอบวงเงินของโครงการนี้จะกี่บาท

งบประมาณโครงการ”โคแสนล้าน”กรอบวงเงินเท่าไร

  • โครงการโคแสนล้าน นำงบฯมาจากวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่กำหนด โดยมีกรอบวงเงินสำหรับโครงการนี้อยู่ที่ 5,000 ล้านบาท

กลุ่มเป้าหมายโครงการโคแสนล้าน

  • กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่มีประวัติการกู้เงินและชำระเงินดี
  • เคยกู้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน หรือ ธนาคารอื่นๆแล้วชำระหนี้ได้โดยอนุมัติสินเชื่อ จำนวน 100,000 ครัวเรือน ๆละ 50,000 บาท

เงื่อนไขและประเภทสินเชื่อและระยะเวลาการกู้ของโครงการ”โคแสนล้าน”

  • ประเภทสินเชื่อจะเป็นสินเชื่อระยะยาว ระยะเวลาการชำระคืนเงินในปีที่ 3 นับจากวันลงนามในนิติกรรมสัญญา
  • สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ สามารถกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงโค 100,000 ครัวเรือน ๆ ละ 50,000 บาท
  • รัฐชดเชยดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินที่กำหนดตามต้นทุนทางการเงินที่เกิดขึ้นจริง อัตรา 4% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี จำนวน 400 ล้านบาท หรือปีละ 200 ล้านบาท
  • ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ กองทุนหมู่บ้านฯที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการยื่นคำขอและทำนิติกรรมสัญญากับสถาบันการเงินที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี หรือ ภายในกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน
  • รัฐจัดหาตลาดรองรับ เพื่อต่อยอดและขยายผลในการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ในด้านการผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่าย กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความเข้มแข็ง

การติดตามและประเมินผลในโครงการโคแสนล้าน

  • ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานรายเดือน หรือ รายไตรมาส โดยให้ธนาคารรายงานข้อมูลกองทุนหมู่บ้านฯที่ยื่นขอรับการสนับสนุนงบประมาณและผลการอนุมัตงบประมาณของธนาคาร โดยคณะกรรมการกองทุนหมูบ้าน กระทรวงพาณิชย์ และกรมปศุสัตว์

ความคาดหวังต่อโครงการ”โคแสนล้าน”

  • สร้างรายได้ต่อครัวเรือนอย่างน้อย 240,000 บาท/ครัวเรือน จากต้นทุน 50,000 บาท หรือ 4.8 เท่า ในระยะเวลา 5 ปี (โค 2 ตัว เฉลี่ยราคาโคตัวละ 25,000 บาท สร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 120,000 บาทต่อตัว)
  •  ช่วยแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรและเกิดความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของรัฐบาล พัฒนาตลาดในประเทศและส่งออกไปตลาดในภูมิภาคและตลาดโลก
  • สร้างความเข้มแข็งและการยกระดับการผลิตของเกษตรกรรายย่อย และเอกชน ให้สามารถเลี้ยงโคเนื้อเชิงอุตสาหกรรมตอบสนองต่อการบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  • สร้างรายได้เพิ่มความสามารถ ลดความยากจนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ได้อย่างน้อยปีละ 120,000 บาท ในระยะเวลา 5 ปี ต่อแม่โค 1 ตัว

 

ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: