“จดทะเบียนที่ดินออนไลน์” ต่างสำนักงาน แจกลิ้งก์ พร้อมขั้นตอน





ที่ดิน เป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่ผู้ครอบครองเป็นเจ้าของจะต้องมีเอกสารแสดงสิทธิ ซึ่งหากจะทำการ ขาย, ขายฝาก, ให้ , จำนอง หรือขอรับมรดก เป็นต้น ก็จะต้องมีการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม

ในปัจจุบัน กรมที่ดินได้อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน สามารถจดทะเบียนที่ดินออนไลน์ ต่างสำนักงานได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
โดยขณะนี้ กรมที่ดินให้บริการสำนักงานที่ดินอิเล็กทรอนิกส์ จดทะเบียนต่างสำนักงานแบบออนไลน์ ครอบคลุมทุกภูมิภาค ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ,อุบลราชธานี ,หนองคาย ,บึงกาฬ ,เชียงใหม่ ,สงขลา ,สิงห์บุรี และ ขอนแก่น

ผู้ที่ต้องการจดทะเบียนที่ดินต่างสำนักงานแบบออนไลน์ จะต้องจองคิวล่วงหน้าโดยโหลดแอปพลิเคชั่น e-QLands เพื่อเข้าไปลงทะเบียนจองคิวล่วงหน้า 1 วันทำการ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนจดทะเบียนที่ดินออนไลน์ ต่างสำนักงาน

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น e-QLands 

ดาวน์โหลด e-QLands แอนดรอยด์

ดาวน์โหลด e-QLands สำหรับโทรศัพท์ระบบ ios

  1. กดเลือกจองคิวจดทะเบียนต่างสำนักงานแบบออนไลน์ (เฉพาะโฉนดที่ดินและเป็นสำนักงานที่ดินอิเล็กทรอนิกส์)
  2. เลือกสำนักงานที่ใกล้บ้านหรือที่สะดวก
  3. รอการยืนยัน
  4. เดินทางไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่จองไว้ ตามวันและเวลาที่กำหนด

ขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามปกติ 

  1. รับบัตรคิว ที่จุดประชาสัมพันธ์
  2. รับคำขอและสอบสวน
  3. ตรวจสอบสารบบและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
  4. ลงบัญชีรับทำการ
  5. ตรวจอายัด
  6. ประเมินทุนทรัพย์
  7. เขียนใบสั่ง, ใบเสร็จ และรับเงินค่าธรรมเนียม ภาษีและอากร(ถ้ามี)
  8. พิมพ์สัญญาและแก้สารบัญจดทะเบียน
  9. คู่กรณีลงนามในสัญญา
  10. เจ้าพนักงานที่ดินลงนามจดทะเบียนและประทับตรา
  11. แจกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและสัญญา

ทั้งนี้ เงื่อนไขในการให้บริการจดทะเบียนออนไลน์ ต่างสำนักงาน จะต้องเป็นการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่ไม่มีการประกาศหรือรังวัด มีเอกสารหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเท่านั้น และเจ้าของที่ดินต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 0 2141 5555

 

ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: