ล่าสุด เงินดิจิทัล 10,000 บาท เตรียมปรับเกณฑ์แจก ยึดฐานเงินเดือน





นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ดิจิทัลวอลเล็ตว่า ที่ประชุมได้หารือกันในหลายประเด็น แต่ก็ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน โดยเฉพาะเรื่องกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่มีการเสนอให้ตัดกลุ่มคนรวยออก

หลักเกณฑ์การแจก เงินดิจิทัล 10,000 บาท มี 3 แนวทางดังนี้

1. กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ใช้ฐานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน จำนวน 15-16 ล้านคน งบประมาณ 160,000 ล้านบาท

2. ตัดกลุ่มคนที่มีรายได้เดือนละ 25,000 บาท หรือ มีเงินฝากในบัญชี 1 แสนบาท จะเหลือผู้ที่ได้รับสิทธิ 43 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4.3 แสนล้านบาท

3. ตัดผู้ที่มีรายได้เกินเดือนละ 50,000 บาท หรือ มีเงินฝากในบัญชี 5 แสนบาท จะเหลือผู้ได้รับสิทธิ 49 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4.9 แสนล้านบาท

ส่วนรัศมีการใช้จ่าย เงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้มีการปรับให้ใช้จ่ายได้ในระดับอำเภอ ไม่ได้มีขนาดใหญ่เกินไปที่จะกระจุกตัวของเม็ดเงิน อีกทั้งยังมีร้านค้าเพียงพอต่อการใช้จ่าย จากเดิมที่กำหนดไว้แค่รัศมี 4 กิโลเมตร ส่วนการขึ้นเงินของร้านค้าจะต้องเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) นิติบุคคล และบุคคลธรรมดาที่อยู่ในระบบภาษี

สำหรับ การยืนยันตัวตนเงินดิจิทัล ต้องดำเนินการตามกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ที่เคยได้ใช้สิทธิโครงการของรัฐผ่านแอปฯ ต่างๆ ไม่ต้องยืนยันตัวตนซ้ำ ส่วนคนที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการของรัฐมาก่อนเลย จะต้องยืนยันตัวตนเพื่อขอรับสิทธิ ในส่วนของร้านค้าที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ เปิดให้ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสินค้าสำหรับอุปโภคบริโภค

ส่วน งบประมาณดำเนินโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท มีการหลายแนวทาง แต่โจทย์ของการคิดนโยบายจะใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณฯ อีกทั้งมีข้อเสนอว่า อาจใช้การตั้งงบประมาณผูกพัน 4 ปี เบิกจ่ายปีละ 100,000 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้การขึ้นเงินของร้านค้าต้องชะลอออกไป

“จะใช้กรอบงบประมาณแผ่นดินเป็นหลักตามที่ฝ่ายนโยบายได้ให้โจทย์ไว้ เมื่อใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก ต้องรองบประมาณปี 2567 ซึ่งอาจล่าช้าไปช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2567 จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มได้ใน 1 กุมภาพันธ์ 2567”

นายจุลพันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ดำเนินการระบบในโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้ข้อสรุปแล้วว่าจะมอบหมายให้ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้พัฒนาระบบเพราะมีความพร้อมและมีประสบการณ์พัฒนาแอปพลิเคชั่นของรัฐ ส่วนค่าใช้จ่ายการทำระบบยืนยันไม่ใช่วงเงิน 12,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผลการประชุมคณะอนุกรรมการฯ จะส่งให้คณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานพิจารณาถึงรายละเอียดอีกครั้งในสัปดาห์หน้า

 

ข่าวจาก : sanook

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: