นักวิทย์จีนพบต้นตอไวรัสเลย์วี มาจาก “หนูผี” ไม่ติดจากคนสู่คน





11 ส.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว’ โพสต์ข้อความระบุเกี่ยวกับไวรัสเลย์วี ระบุว่า ไวรัส ‘เลย์วี’ ครับ…นักวิทยาศาสตร์เตือน อย่าพึ่งตื่ตระหนก ไวรัส ‘เลย์วี’ ชี้ระบาดช้า จีนพบติดเชื้อ 35 รายใน 3 ปี ย้ำไม่เหมือนโควิด

ศาสตราจารย์ ฟรานซิส บัลลูกซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อจากมหาวิทยาลัย คอลเลจ ลอนดอน ในอังกฤษ ออกโรงขอให้สาธารณชน “อย่าเพิ่งตื่นตระหนก” หลังจากที่จีนได้พบผู้ติดเชื้อไวรัสเลย์วี 35 ราย ซึ่งรับเชื้อมาจากหนู และเกิดความหวั่นเกรงว่าจะกลายเป็นโรคระบาดหนักซ้ำรอบโควิด 19 ​

ศ.ฟรานซิส ชี้ว่า ยังไม่มีหลักฐานพบว่าไวรัสตัวนี้จะระบาดได้ง่ายในมนุษย์ และย้ำว่ามันไม่ใช่ไวรัสที่ระบาดเร็วเหมือนกับไวรัสโคโรนา ดังนั้นความวิตกว่ามันจะกลายเป็น ‘โควิด 2.0’ นั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ในประเทศจีน กำลังจับตาไวรัสชนิดนี้ ซึ่งพบการระบาดในพื้นที่ในมณฑลชานตง และมณฑลเหอหนาน ทางตะวันออกของจีน ซึ่งพบว่าแพร่ระบาดในสัตว์อย่าง “หนูผี” โดยล่าสุดพบติดเชื้อในมนุษย์แล้ว 35 ราย โดยพบการติดเชื้อระหว่างเดือนธันวาคม 2018 – กลางปี 2021 ซึ่งหมายความว่า ไวรัสตัวนี้ระบาดอยู่ในวงจำกัดและระบาดในกลุ่มคนไม่มากในแต่ละปี

ผู้รับเชื้อคนแรกนั้นเป็นชาวนาเพศหญิงวัย 53 ปี ​ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการไข้ อ่อนเพลียและไอ โดยผู้ป่วยทั้งหมดคาดว่ารับเชื้อมาจากสัตว์โดยตรง ไม่ใช่รับเชื้อจากคนสู่คน

การค้นพบดังกล่าวถูกเผยแพร่วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ โดยนักวิจัยจากจีน สิงคโปร์ และออสเตรเลีย โดย ผู้ติดเชื้อไวรัส ‘เลย์วี’ ที่พบในเวลานี้นั้นไม่ได้มีอาการรุนแรงและเสี่ยงถึงชีวิต และไม่จำเป็นต้องแตกตื่น

นักวิจัยระบุว่า พบไวรัสเลย์วี ใน “หนูผี” 27% ที่นำมาทดสอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กคล้ายตัวตุ่นนี้ อาจเป็นพาหะนำโรคตามธรรมชาติของไวรัสดังกล่าว นอกจากนี้ ยังพบไวรัสในสุนัขราว 5% และพบในแพะอีก 2% ด้วย

ทั้งนี้ ไวรัสเลย์วี จัดอยู่ในกลุ่มไวรัสที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน ไวรัสชนิดนี้เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก

 

ข่าวจาก : ข่าวสด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: