เฉลยข้อสอบราชการ มกรา กุมภา มีนา แต่ตอบเมษา = ผิด ความจริงคือยังไง?





เผยข้อสอบราชการ โจทย์สั้น ๆ มกรา กุมภา มีนา … แต่เฉลยว่า คำตอบไม่ใช่ เมษา คำที่เห็นอย่าเพิ่งมั่นใจ อาจต้องหาคำตอบด้วยหลักคณิตศาสตร์ งานนี้ทำโซเชียลถกสนั่น

กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในวันนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2565 ) กับข้อสอบบรรจุข้าราชการ หลังมีคนไปเห็นคลิปจากเพจเฟซบุ๊ก อ.ดร.ยอดแก้ว แก้วมหิงสา ที่สอนแนวทางการหาคำตอบจากคำถามสั้น ๆ ที่ดูเหมือนจะง่าย แต่ไม่ง่ายเลย โดยคำถามคือ…

“มกรา กุมภา มีนา ….”

ก. กุมภา
ข. มีนา
ค. เมษา
ง. สรุปไม่ได้

ทางเพจดังกล่าวสอนวิธีหาคำตอบข้อนี้ว่า จำเป็นต้องใช้การหาเหตุผล หากเข้าใจว่าเป็นเดือนแล้วตอบ เมษา จะไม่ถูกต้อง และข้อนี้ไม่ใช่ อนุกรม เพราะสังเกตข้อ ง. มีตัวเลือกว่า “สรุปไม่ได้” ดังนั้นจึงต้องใช้สูตรหาความน่าจะเป็น

จากนั้นแทนประโยคเป็นตัวเลขเพื่อหาคำตอบ มกรา แทนด้วย 1 / กุมภา แทนด้วย 2 / มีนา แทนด้วย 3 แล้วลองคิดตาม 2 สูตร ดังต่อไปนี้

สูตรแรก

– ” 1 ไป 2 เท่ากับว่า ∼ 2 – 1 (ไม่ใช่ 2 = 1)” โจทย์ข้อนี้ 3 (มีนา) ไม่ได้ตรงข้ามกับ 2 (กุมภา) ดังนั้นคำตอบจึงยังไม่ใช่

สูตรสอง
– “1 ไป 2 | 1 = 2” โจทย์ข้อนี้ 3 = มีนา ไม่ใช่ มกรา จึงใช้สูตรนี้ไม่ได้เช่นกัน

ดังนั้นคำตอบคือ ง. สรุปไม่ได้

ทั้งนี้หลังคลิปดังกล่าวถูกแชร์ออกไปได้กลายเป็นที่ถกเถียงสนั่นโซเชียล โดยหลายคนยืนยันว่าถ้าเจอแบบนี้คงตอบ เมษา เพราะมีการเรียงชื่อเดือนมาแล้วถึง 3 เดือน

ขณะที่บางส่วนพอเข้าใจในการหาคำตอบเรื่องความน่าจะเป็น แต่โจทย์ก็ควรอธิบายให้ละเอียดมากกว่านี้เพื่อป้องกันคนเข้าใจผิดได้

บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า โจทย์แบบนี้คือ ตรรกศาสตร์ หนึ่งในหลักคณิตศาสตร์ โดยห้ามคิดตามความรู้สึก ดังนั้นคำว่า มกรา กุมภา มีนา โจทย์ไม่ได้หมายถึงชื่อเดือน คำใบ้อาจจะซ่อนในการที่ไม่ได้มีการลงท้ายว่า มกราคม กุมภาพันธ์ และ มีนาคม ก็เป็นได้

รวมทั้งคำตอบข้อ ง. สรุปไม่ได้ ก็เป็นอีกหนึ่งคำใบ้ที่สำคัญเช่นกัน หากมีตัวเลือกนี้เข้ามา ก็เป็นไปได้สูงที่จะต้องหาคำตอบตามหลักตรรกศาสตร์ เป็นต้น

 

ข่าวจาก : kapook

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: