บางคนยังไม่รู้! “พ.ร.บ.รถยนต์” เบิกจ่ายได้มากกว่าที่คุณคิด…เบิกง่ายแค่ทำตามขั้นตอนนี้!





พ.ร.บ.รถยนต์ ทำไปทำไม? ทำแล้วเราจะได้ใช้จริงๆ หรือไม่? ถ้าคุณยังไม่รู้จักประโยชน์ที่แท้จริงของ พ.ร.บ. ต้องอ่าน!

 

พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ การประกันรถยนต์ภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นสิ่งที่บังคับให้รถยนต์หรือจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำ! ทุกครั้งที่ต้องเสียภาษี ต่อทะเบียนรถ จะต้องซื้อ พ.ร.บ.ควบคู่ไปด้วย

 

ทั้งนี้ ก็เพื่อคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ และจักรยานยนต์ เป็นหลัก การคุ้มครองมีดังนี้

 

1. ชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ โดยจ่ายตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

 

2. ชดเชยการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน

 

หากเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 ต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

 

 

ส่วนการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้เคลมประกันจะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย มีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหาย กรณีเป็นฝ่ายถูก โดยเบื้องต้นดังนี้

1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน

2. การเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน

3. สูญเสียอวัยวะ

3.1 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือ ตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป 300,000 บาท

3.2 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือสายตา(ตาบอด) หรือ หูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด 250,000 บาท

3.3 สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียว หรือ หลายนิ้ว 200,000 บาท

4. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท

5. จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท

6. วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง

7 วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง

 

[ads]

 

อย่างไรก็ตาม ผูที่ต้องการเคลมต้องมีเอกสารต่างๆให้พร้อมเพื่อง่ายต่อการเรียกร้องค่าเสียหาย สำหรับ เอกสารที่จะต้องใช้เวลาการเคลม พ.ร.บ. มีดังนี้

 

กรณีบาดเจ็บ

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

2. ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ

 

กรณีเบิกค่าชดเชย หรือ ผู้ป่วยใน

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

2. ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

 

กรณีทุพพลภาพ

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

2. ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ

3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ

 

 

กรณีเสียชีวิต

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

2. ใบมรณบัตร

3. สำเนาบัตรประชาชนทายาทสำเนาทะเบียนบ้าน

4. สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ

 

เมื่อเตรียมเอกสารครบเรียบร้อยตามที่ระบุไว้แล้ว คุณก็สามารถทำเรื่องขอเบิกเงินจาก บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยจะมีการเบิกจ่ายเงินภายใน 7 วัน

พ.ร.บ.จะคุ้มครองผู้เสียหายในส่วนของคนเท่านั้น ในส่วนทรัพย์สินหรือตัวรถจะไม่ได้รับการคุ้มครองแต่อย่างใด

 

ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ผู้ขับขี่รถยนต์หรือจักรยานยนต์จึงควรจะทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ ส่วนประกันรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 ก็ควรทำไว้เช่นกัน แล้วแต่ความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ก็เพื่อประกันความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ไม่มีใครรู้

 

แม้ว่าเราจะไม่เคยประมาท ประพฤติตัวถูกต้องตามกฎระเบียบเสมอ แต่ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ ดังนั้น เตรียมการณ์เอาไว้ก่อนจะดีกว่า

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.siamvariety.com/view-19728.html

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: