อย่าคิดว่าไม่เป็นไร! “ใจสั่น” สัญญาณเตือน “หัวใจล้มเหลว” …เช็คภัยใกล้ตัวนี้ได้ด้วย 5 สัญญาณร้าย





จะเห็นได้ว่า “ภาวะหัวใจล้มเหลว” เกิดขึ้นได้บ่อยๆในคนไทย และเมื่อเกิดขึ้นมาทีไร ก็จะเกิดความสูญเสียแบบมากมาย เพราะส่วนใหญ่ถ้าไม่เสียชีวิตก็จะต้องพิการตลอดชีวิต ซึ่งไม่ได้สร้างความลำบากแก่คนที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่ครอบครัวและคนรอบตัว ก็ยังต้องมาช่วยดูแลและเหนื่อยตาไปด้วย

 

ทั้งนี้ เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกายอวัยวะ หากหัวใจไม่สามารถทำงานได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที ระบบต่างๆ ภายในร่างกายก็จะหยุดทำงานทันที และเราก็จะเสียชีวิตในที่สุด

ดังนั้น หากใครที่มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ก็ควรทราบสัญญาณอันตรายหรือสัญญาณเตือนภัยก่อน “หัวใจล้มเหลว” เอาไว้ให้ดี จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องร้ายๆได้

 

 

กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

1. กรรมพันธุ์ พ่อแม่เป็นมาก่อน

2. คนที่ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่ค่อยออกกำลังกาย

3. คนที่ทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันอยู่เป็นประจำ

4. คนที่มีความเครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพศใด อายุเท่าไร ก็เสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ทั้งนั้น

 

 

อาการเริ่มต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจ ระวังไว้ให้ดี

1. เจ็บหน้าอก ถือเป็นอาการแรกๆ ที่ต้องสังเกต และอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โดยพวกเขามักจะเจ็บแน่น อึดอัด อาจเจ็บที่หน้าอกข้างซ้าย หรือเจ็บทั้งสองข้าง (ทั้งนี้มักไม่เจ็บแค่ข้างขวาข้างเดียว) โดยอาการเจ็บหน้าอกจะเกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมหนักๆ เช่น การออกกำลังกาย วิ่ง เดินเร็ว กระโดด เต้น หรือเวลาเกิดความเครียดและโมโห

2. เหนื่อยง่ายผิดปกติ ทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็หอบแล้ว

3. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเร็วเดี๋ยวช้า

4. ขาบวม อาการนี้เกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง ทำให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลเข้าหัวใจด้านขวาได้สะดวก จึงทำให้เกิดอาการเลือดค้างสะสมที่ขามากขึ้น และเป็นสาเหตุให้ขาบวมได้

5. เป็นลม หมดสติ หรือเกือบหมดสติ เช่น หน้ามืด ตาลาย

 

หากใครที่เริ่มมีอาการดังกล่าวเหล่านี้ถี่ขึ้น คนรอบตัวที่สังเกตเห็นพวกเขามีอาการลักษณะคล้ายๆ กันนี้ ลองหาเวลาไปตรวจสุขภาพดูน่าจะดีกว่านะคะ

อย่ามัวแต่ปล่อยให้หัวใจทำงานอย่างหนัก จนพอมันไม่ไหวก็ล้มเหลวไปโดยไม่รู้สึกตัว เพราะนอกจากเป็นอันตรายต่อตัวเองแล้ว ยังเป็นอันตรายกับคนอื่นรอบข้างด้วย

 

[ads]

 

โรคหัวใจล้มเหลว เกิดมาจากการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจเกิดขาดตอนหรือหยุดชะงักลง เลือดมีหน้าที่นำออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ ขณะที่มีอาการหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจของคุณจะไม่ได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ หากปราศจากออกซิเจน กล้ามเนื้อหัวใจอาจเสียหายหรือถูกทำลายได้ กุญแจในการฟื้นตัวจากอาการหัวใจล้มเหลวคือ “การคืนสภาพให้เลือดหมุนเวียนได้ตามปกติอย่างเร็วที่สุด”  เพราะฉะนั้นควรใช้ยาช่วยทันทีเมื่อคุณรู้สึกเหมือนจะมีอาการหัวใจล้มเหลว

 

 

ปรับร่างกายสักนิด เปลี่ยนร่างกายสักหน่อย ช่วยลดความเสี่ยงได้

การหลีกเลี่ยงจากภาวะหัวใจล้มเหลวทำได้โดยการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคเบาหวาน การติดเชื้อไวรัส การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความอ้วน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยการปรับวิถีชิวิตเพื่อช่วยลดความเสี่ยง เช่น

1. การงดสูบบุหรี่

2. การควบคุมความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด

3. การออกกำลังกาย

4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

5. การควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

6. การลดความเครียด

 

การบำบัดหัวใจของคุณอย่างดีจะช่วยให้คุณฟื้นตัวได้เร็ว และไม่ต้องพบเจอกับอาการหัวใจล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ขอให้หัวใจแข็งแรงกันทุกคนนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก naarn.com

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: