ใจหายยิ่งนัก ท่านจะไม่อยู่กับเราจริงๆ แล้ว…พระบรมศพในหลวง ร.9 มิได้บรรจุลงประทับในพระบรมโกศด้วยเพราะเหตุนี้





 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 อันนำมาซึ่งความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงของปวงชนชาวไทย ในอดีตนั้นพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วนั้น จะถูกอัญเชิญบรรจุเพื่อลงประทับสู่พระบรมโกศ ซึ่งมิใช่เพียงแค่พระมหากษัตริย์เท่านั้น

และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินถึงพระที่นั่งพิมานรัตยา เสด็จเข้าภายในพระฉาก ซึ่งพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ร.9 บรรทมอยู่บนพระแท่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระบรมศพบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยกราบถวายบังคมพระบรมศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับขวดน้ำพระสุคนธ์จากเจ้าพนักงาน ถวายสรงที่พระบรมศพ แล้วกราบถวายบังคมพระบรมศพ ทรงรับหม้อน้ำพระสุคนธ์ โถน้ำขมิ้น และโถน้ำอบไทย จากเจ้าพนักงาน ถวายสรงที่พระบาทพระบรมศพ

บรรดาปวงชนชาวไทยยังคงสงสัยถึงการบรรจุศพเจ้านายหรือผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้รับเกียรติยศ ในวาระสุดท้าย ก็สามารถได้รับพระราชทานโกศ เพื่อบำเพ็ญกุศลได้เช่นกัน ต่อมาเพจในเฟซบุ๊กแฟนเพจที่ใช้ชื่อว่า คลังประวัติศาสตร์ไทย ได้เผยสาเหตุที่ พระบรมศพ ประทับยังพระหีบ มิได้ลงประทับพระบรมโกศ มิใช่เพราะยกเลิกธรรมเนียม แต่เป็นเพราะ พระราชประสงค์ส่วนพระองค์  ซึ่งเพจดังกล่าว เป็นเพจที่ให้ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยได้โพสต์ให้ข้อมูลหลังจากข่าวพระราชสำนัก โดยได้ระบุข้อความไว้ว่า…

สาเหตุที่ได้เชิญพระหีบพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นแว่นฟ้าหลังพระแท่นสุวรรณเบญจดล มิได้ลงประทับยังพระบรมโกศ มิใช่การยกเลิกธรรมเนียมแต่อย่างใด แต่มาจากพระประสงค์ส่วนพระองค์ เนื่องด้วยเมื่อคราสมเด็จย่าสวรรคตนั้น พระองค์ได้ทรงรับสั่งว่าให้นำท่านลงหีบ ซึ่งพระราชกระแสรับสั่งนี้เกิดขึ้นเมื่อคราพิธีสรงน้ำสมเด็จพระราชินี ในรัชกาลที่ 7 ซึ่งสมเด็จย่าเสด็จด้วย และได้เห็นการทำพระสุกำหรือมัดตราสังพระบรมศพแล้วอัญเชิญลงสู่พระบรมโกศ เป็นไปด้วยความทุลักทุเล พระองค์จึงตรัสว่า

“อย่าทำกับฉันอย่างนี้ อึดอัดแย่”  ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับสมเด็จพระพี่นางในรัชกาลที่ 9

 

 

 

 

 

 

 

ในอดีตเหล่าบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อสิ้นพระชนม์ลง พระบรมศพล้วนถูกบรรจุลงประทับในพระบรมโกศแทบทั้งสิ้น แต่ธรรมเนียมนี้ มามีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกก็เมื่อในคราว งานพระราชพิธีพระบรมศพ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ที่ท่านได้ทรงมีพระกระแสรับสั่ง ว่าทรงมีพระประสงค์มิลงประทับในพระบรมโกศเพราะในคราเมื่อท่านทำพิธีสรงน้ำพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 7 ท่านได้ทรงอยู่ทอดพระเนตร และได้ทรงเห็นพิธีสุกำหรือการมัดพระบรมศพอันเชิญลงในพระโกศ ซึ่งเป็นไปด้วยความทุลักทุเลอย่างมาก

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เผยภาพหนังสือของราชเลขาธิการถึงนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดวันสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 25 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2560 โดยวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งเป็นวันที่สำคัญที่สุดของการพระราชพิธี กำหนดวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2560

กำหนดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
25 ต.ค. 60 ออกพระเมรุ
26 ต.ค. 60 ถวายพระเพลิง
27 ต.ค. 60 เก็บพระอัฐิ
28 ต.ค. 60 ออกทุกข์
29 ต.ค. 60 เชิญพระอัฐิ
23-28 ต.ค. 2560 เป็นวันหยุดราชการ … จึงหยุดยาว 9 วัน (รวมทั้งวันเสาร์  อาทิตย์  21-22 )

#หนังสืองานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จัดทำเสร็จแล้ว เปิดในลิ้งค์นี้ (ใช้นิ้วสัมผัสเปิดอ่านได้เลย) >>> http://www.m-culture.go.th/th/ebook/Glossary_about_HM_King_Bhumibol_Adulyadej’s_Funeral/mobile/index.html#p=1 

ผศ.ดร.ศิวาวิทย์ สำเร็จผล

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจคลังประวัติศาสตร์ไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: