อยากรวยต้องระวัง! 7 รูปแบบแชร์ลูกโซ่…เข้ามาแบบเนียนๆ รู้อีกทีก็ตกเป็นเหยื่อไปซะแล้ว





ใครก็อยากรวย แต่หลายคนก็ไม่อยากทำงาน ถ้ามีวิธีไหนที่สามารถรวยทางลัดได้แบบไม่ต้องเหนื่อยมาก หลายคนก็พร้อมจะเสี่ยง และนี่ก็เป็นช่องว่างที่เหล่ามิจฉาชีพสามารถเข้ามาหลอกลวงและสูบเงินจากความอยากรวยของคุณได้

ขบวนการแชร์ลูกโซ่จะเป็นรูปแบบแผนธุรกิจที่แฝงไปด้วยเล่ห์กลที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อหลอกล่อต้มตุ๋นคนที่อยากรวยและหลงเชื่อคนง่าย จนสุดท้ายก็ต้องยอมควักเงินในกระเป๋าออกมาลงทุน

วันนี้เราจะมาตีแผ่วิธีการหลอกลวงของแกงค์ลูกโซ่กันค่ะ ว่าเขาจะหลอกเราแบบไหนได้บ้าง ไม่อยากถูกหลอกต้องอ่าน!

 

7 รูปแบบแชร์ลูกโซ่ เหยื่อล่อ “คนอยากรวย”

รูปแบบที่ 1 แอบอ้างชื่อผู้มีอิทธิพล

ถือเป็นการหลอก “เหยื่อ” ที่แนบเนียนที่สุด เพราะการแอบอ้างชื่อผู้มีอำนาจ มีอิทธิพล มีชื่อเสียง จะทำให้คนหลงเชื่อได้โดยง่าย ทั้งนี้เพราะพวกเขาคาดหวังโอกาสของความร่ำรวยจากอำนาจของบุคคลเหล่านั้นนั่นเอง

 

 

รูปแบบที่ 2 ล่อเหยื่อนักศึกษาด้วยโซเชียลมีเดีย

ที่เล็งกลุ่มนักศึกษาก็เพราะเป็นกลุ่มคนที่หลงเชื่อคนง่าย แม้จะไม่มีเงินเดือน แต่ก็ไม่มีประสบการณ์ชีวิตมากนัก มีความอยากสบาย และเชื่อคนง่ายสูง

โดยวิธีการจะชักชวนในลักษณะการใช้คนในกลุ่มเพื่อนเฟซบุ๊ก รุ่นพี่ที่เป็นไอดอล แชร์ข้อมูลรายได้ และยืนยันว่าไม่หลอกลวง ได้ผลตอบแทนจริง อีกทั้งโชว์ความเป็นอยู่ที่หรูหรา โชว์ตัวเลขรายได้ในสมุดบัญชี หรือได้ท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา

ลักษณะธุรกิจจะเป็นพวกผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น เครื่องสำอาง วิตามิน อาหาร น้ำมันหอมระเหย โดยไม่เน้นการขาย แต่เน้นให้มีการจ่ายค่าสมาชิก ตั้งแต่ 3,000 – 20,000 บาท และให้หาสมาชิกเพิ่มเพื่อประกันเงินคืน 150%จากค่าสมาชิก

       

รูปแบบที่ 3 ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งดึงดูด

จะเน้นไปที่ “กลุ่มคนทำงาน” ที่ใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้วิธีการเชิญชวนผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียให้มาร่วมลงทุนเพื่อนำเงินไปลงทุนต่อในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

การล่อเหยื่อจะเสนอให้เห็นถึงผลตอบแทนที่ได้รับ มีเงินปันผลเข้าในบัญชีทุกเดือน อัตราขั้นต่ำ 2-10% ต่อเดือน

ในขณะเดียวกัน หากผู้ลงทุนปรับสถานะตัวเองเป็นตัวแทน ก็จะได้รับผลประโยชน์กลับคืนอีกส่วนหนึ่งด้วย              

 

 

รูปแบบที่ 4 ใช้สินค้าเกษตรเป็นตัวล่อ 

จะล่อเหยื่อให้ลงทุนกองทุนสินค้าเกษตร ด้วยหลักการ “ไม่ต้องทำอะไร แต่เหมือนเข้าไปเป็นเจ้าของสวนเอง อยู่เฉยๆ ก็ได้ผลกำไรต่อปีงามๆ”

แต่ในปัจจุบันก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และใช้การคืนเงินบางส่วนในระยะแรกๆเพื่อให้ผู้ลงทุนวางใจว่าได้รับผลตอบแทนจริง โดยเข้าใจว่าเป็นดอกเบี้ย และหลงชักชวนผู้อื่นมาลงทุนด้วย

สินค้าเกษตรที่มักจะนำมาเป็นจุดขาย คือ พืชการเกษตรที่มีการปั่นในตลาดจนกลายเป็นที่ต้องการของตลาดในเวลาต่อมา เช่น มะม่วง ไม้สัก พันธุ์ไม้กฤษณา เป็นต้น

      

รูปแบบที่ 5 ขายฝันระดมทุนตั้งบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์

จะเข้ามาในลักษณะบริษัทข้ามชาติ ด้วยการวางแผนธุรกิจง่ายๆ ระดมทุนขั้นต่ำ 6,000 บาท และให้สิทธิในการถือหุ้นในบริษัท โดยอาจมีการนำสินค้ามาจำหน่ายซึ่งสมาชิกสามารถซื้อได้ในราคาถูก แต่เป้าหมายหลัก คือ การขายฝันว่าบริษัทมีแผนจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  แต่สุดท้ายก็จะเป็นลักษณะบริษัทปิดตัวลง ติดตามเงินลงทุนไม่ได้ หุ้นบริษัทไม่มีมูลค่าใดๆ      

 

[ads]

 

รูปแบบที่ 6 ผลิตภัณฑ์อวดอ้างสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค

เป็นแบบที่ระบาดแบบไม่รู้จบในต่างจังหวัด  โดยใช้ความเจ็บป่วยของคนมาเป็นเครื่องมือหลอกเหยื่อให้หลงเชื่อ

วิธีการคือ นำผลิตภัณฑ์มากล่าวอ้างว่าสามารถรักษาโรคได้สารพัด แม้ว่าในตัวยาเองอาจจะมียาอันตรายแฝงอยู่ ทำให้ผู้ป่วยหลงเชื่อและซื้อมาทดลอง จากนั้นจะมีการสร้างกลุ่มสมาชิกขึ้นมาลงทุนจำหน่ายเพราะโฆษณาว่าขายดีและได้รับผลตอบแทนมาก

      

รูปแบบที่ 7  ใช้การทำบุญบังหน้า ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งเงินกลับมา

เป็นขบวนการต้มตุ๋นแชร์ลูกโซ่สำหรับสายบุญ โดยจะใช้วิธีการอ้างอิงศาสนาและการทำบุญที่มีการตอบแทนสูงมาช่วยจูงใจ โดยอาจมีการติดป้ายโฆษณาที่แอบอ้างจากหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน และคนมีชื่อเสียงในพื้นที่ว่าองค์กรหรือกลุ่มคนเหล่านั้นได้มีการร่วมทำบุญบางส่วนมาแล้วด้วย เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

      

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจริงๆแล้วในประเทศไทย และหลายรายก็โดนจับ แต่ก็ยังมีอีกหลายรายที่ยังคงต้มตุ๋นคนบริสุทธิ์กันต่อไป  ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่ต้องใช้วิจารณญาณให้ดี รู้เท่าทันกลโกง อย่าใช้ความโลภเป็นที่ตั้ง แล้วคุณจะไม่โดนหลอกง่ายๆอีกต่อไป

 

จำไว้นะคะว่า…ไม่มีธุรกิจใดๆในโลกที่ได้เงินมาง่ายๆและรวดเร็วแบบชั่วพริบตา เพราะถ้าเป็นจริง…โลกนี้คงไม่มีคนจนหรอก จริงมั๊ยค่ะ?

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก manager.co.th

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: