กกต.แจงใช้บัตรเลือกตั้งเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่สับสนแน่นอน

Advertisement 1 เม.ย. นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข (เบอร์ ) เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น โดยรูปแบบบัตรเลือกตั้ง นับแต่มีการเลือกตั้งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ บัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ Advertisement 1.บัตรที่มีเฉพาะหมายเลข(เบอร์)ผู้สมัคร หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบัตรโหล จะไม่มีรายชื่อผู้สมัครแต่อย่างใด ทุกการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยใช้บัตรเลือกตั้งแบบนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่มีเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือมีการเลือกตั้งแบบบัญชีราบชื่อ หลังปี 2540 ก็ตาม หมายความว่า ไม่เคยมีชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งแต่อย่างใด 2.บัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อ คือ บัตรที่มีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง […]

กกต.เตือน “ห้ามรถแห่” หลังสมัคร ส.ส. ชี้เข้าข่ายจัดมหรสพ

1 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกเอกสารข่าวเผยแพร่กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดให้วันที่ 3 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และในวันที่ 4 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี นั้น สำนักงานกกต. ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดขบวนแห่ในวันสมัครรับเลือกตั้ง โดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดขบวนแห่หรือกองเชียร์ที่แสดงการสนับสนุนเข้ามาในสถานที่สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองในวันดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อกระบวนการสมัครเสร็จสิ้นลงแล้ว ไม่ควรมีการจัดขบวนหรือกองเชียร์ออกจากสถานที่รับสมัครไปตามถนน ตำบล หรือหมู่บ้านในลักษณะนี้อีก เนื่องจากเคยมีคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 และคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไว้ในทำนองเดียวกันว่า การจัดขบวนแห่และรถยนต์ติดแผ่นป้ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งภายหลังการสมัครรับเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วไปตามชุมชน โดยมีการแสดงดนตรีหรือการรื่นเริงใด ๆ ถือเป็นการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการหาเสียงด้วยการจัดให้มีการรื่นเริงซึ่งขัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง   ข่าวจาก : มติชน

จับตา! กกต.-กระทรวงต่างประเทศ ไม่อำนวยเลือกตั้งนอกประเทศ พิรุธเพียบ!

29 มีนาคม พรรคเสรีรวมไทย ส่งจดหมายถึง ประธาน กกต. และ รมว. การต่างประเทศ เรียกร้องขอให้อำนวยความสะดวกและจริงจังต่อการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร โดยระบุว่า จำนวนของคนไทยในต่างประเทศ จากรายงานของกรมการกงสุล เมื่อมกราคม 2566 คือ 1,385,157 คน โดยคาดว่าจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 1 ล้านคน การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 มีการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรใน 67 ประเทศ มีผู้มาใช้สิทธิ 101,003 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.71 ของผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง 119,2302 ราย จากตัวเลขข้างต้น จึงเห็นได้ว่า หากมีระบบการอำนวยความสะดวกประชาชนในการลงทะเบียนและการใช้สิทธิ จำนวนของประชาชนที่มาใช้สิทธิยังสามารถเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2562 อีกหลายเท่า สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ กลับพบปัญหาว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งกับกระทรวงการต่างประเทศกลับไม่ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสะดวก ดังนี้ ประการแรก ระบบในการอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีหลักฐานทั้งบัตรประชาชนและหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ ในกรณีนี้ มีคนไทยจำนวนหนึ่งมีประสบปัญหาเอกสารหมดอายุ […]

กกต.ประกาศ77จังหวัดทั่วไทย มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง52.28ล้านคน

22 มี.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่กกต. กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไป ในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค.2566 โดยมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 14 พ.ค. แยกรายจังหวัดรวม 77 จังหวัด มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ​52,287,045 คน โดยจ.กรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด 4,469,280 คน รองลงมา จ.นครราชสีมา มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,124,587 คน, อุบลราชธานี 1,477,644 คน, ขอนแก่น 1,453,689 คน และเชียงใหม่ 1,333,088 คน ตามลำดับ   ข่าวจาก : ข่าวสด

กกต.เปิด4ช่องทาง ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 25มี.ค.-9เม.ย.66

22 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไป ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 และลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตและนอกเขต ในวันที่ 7 พฤษภาคม โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีความประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า นอกเขตเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนในเขตเลือกตั้งน้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้งที่มีสิทธิเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม-9 เมษายน 2566 สำหรับการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าสามารถดำเนินการได้ ดังนี้ 1.ยื่นคำขอด้วยตนเอง ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือยื่นคำขอต่อเอกอัคราชทูตหรือผู้ที่เอกอัคราชทูตมอบหมาย 2.ยื่นคำขอทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึงนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ 3.ยื่นคำขอทางอินเตอร์เน็ตทางดิจิทัลผ่านแอพพลิเคชันของกรมการปกครอง (ThaID) 4.แอพพลิเคชั่น Smart Vote สามารถลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่ต้องนําส่งเอกสารและหลักฐานประกอบการลงทะเบียน โดยวิธีลงทะเบียนขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ คือ 1.เข้าสู่ระบบ […]

กกต.ประกาศแล้ว! จำนวน ส.ส.พึงมีทั่วประเทศ หากไม่รวมต่างด้าวเป็นผู้เลือกตั้ง

3 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต.ได้ลงนามประกาศ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องยกเลิกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. 2566 ลงวันที่ 31 ม.ค. 66 โดยอ้างถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการกำหนดจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 86(1) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ว่า คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย ทั้งนี้ ยังได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยเรื่อง จำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี โดยจำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565 มีจำนวน 65,106,581 คน จำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 162,766 คนต่อ ส.ส. 1 คน และจำนวน ส.ส. 77 จังหวัด ซึ่งหลังจากนี้ ทางสำนักงานจะประสานไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำประกาศทั้ง 2 ฉบับลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป จำนวน ส.ส.พึงมี […]

กกต.เผย ไม่ได้ยกเลิกรายงานผลคะแนนเลือกตั้ง แค่ปรับระบบให้แม่นยำขึ้น

26 ก.พ. 2566 – นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการพิจารณาแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขตว่า การแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่ได้วางไทมไลน์ไว้ในเบื้องต้นคือภายในวันที่ 28 ก.พ. จะพิจารณาครบทั้ง 400 เขต โดยสัปดาห์นี้ กกต. จะยังพิจารณาแบ่งเขตเลือกตั้งต่อไป ส่วนเรื่องระบบการรายงานผลคะแนนการเลือกตั้ง ขอยืนยันว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ กกต. มิได้ยกเลิกการรายงานผลการนับคะแนน แต่กำลังปรับปรุงให้มีความแม่นยำและรวดเร็ว บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องกว่าครั้งที่ผ่านมา โดยครั้งนี้จะมีระบบรายงานผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ หรือที่เรียกว่า ECT Report ซึ่งเป็นระบบรายงานผลคะแนนในทันทีเมื่อนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งเสร็จสิ้น โดยกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) จะส่งรายงานผลการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งและแบบขีดคะแนนให้ศูนย์รวมคะแนนในแต่ละอำเภอเป็นผู้กรอกผลคะแนนให้แทน จึงช่วยผ่อนคลายภาระของ กปน. ที่ปฎิบัติงานมาตลอดทั้งวัน และช่วยลดข้อผิดพลาดจากระบบเดิม จึงเชื่อมั่นว่าการรายงานผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้จะมีความถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้สื่อข่าวถามว่า หากรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีจะยุบสภาวันที่ 15 มี.ค. กกต.ต้องจัดเลือกตั้งภายใน 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน มีความพร้อมหรือไม่ และวันเลือกตั้งจะเป็นวันที่ 7 […]

กกต.ยันแบ่ง400เขตถูกต้อง ยึดตามกรอบ รธน.ต้องนับต่างด้าวรวมด้วย

7 กุมภาพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกเอกสารชี้แจง กรณีตามที่ปรากฏเป็นข่าว เรื่องการนำจำนวนราษฎรที่ไม่มีสัญชาติไทยมาใช้ในการคำนวณ เพื่อกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการแบ่งเขตเลือกตั้ง สำนักงาน กกต. ขอเรียนว่ากรณีดังกล่าวนี้เคยประชาสัมพันธ์ให้ทราบแล้ว ตามข่าวประชาสัมพันธ์ที่ 28/2566 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 และขอเรียนเพิ่มเติมว่า การกำหนดจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและการแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) 2564 มาตรา 86 ที่บัญญัติให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ซึ่งตามพระราชบัญญัติ การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 45 บัญญัติให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง รวบรวมรายงานยอดจำนวน ราษฎรทั่วราชอาณาจักรที่มีอยู่ในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ล่วงมา และผู้อำนวยการทะเบียนกลางได้ประกาศ จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 โดยประกาศจำนวนราษฎรทั้งบุคคลที่มีสัญชาติไทย และบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ดังนั้น การดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.และการกำหนดจำนวน ส.ส. ดังกล่าวของสำนักงาน กกต […]

วิษณุเผย ยังไม่ได้คุย ​กกต.วางไทม์ไลน์เลือกตั้งใหม่ หากอยู่ครบวาระ

(18 มกราคม) วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า​ ขณะนี้ยังไม่มีการเรียกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาหารือถึงการวางไทม์ไลน์ในการเลือกตั้งแต่อย่างใด พร้อมอธิบายว่า ตามสถานการณ์มีความเป็นไปได้อยู่ 3 ทาง คือ ยุบสภาก่อนหมดสมัยประชุม ยุบสภาหลังปิดสมัยประชุม ไม่ยุบสภา แต่ปล่อยให้สภาหมดวาระในวันที่ 23 มีนาคมนี้ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป โดย กกต. ก็เตรียมการเอาไว้ว่าสภาจะอยู่ครบวาระ จึงได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 ซึ่งจะไม่มีการเลยไปจากนี้ และเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าการเลือกตั้งจะเกิดในวันหยุด​ ไม่วันเสาร์​ก็อาทิตย์อยู่แล้ว วิษณุ​ยอมรับว่า เมื่อครั้งที่จะกำหนดให้วันที่ 5 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการพิเศษ ได้มีการหารือกันเป็นการภายในว่า หากสมมติว่าการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคม การหยุดยาวต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 4-7 พฤษภาคม จะทำให้เป็นปัญหาหรือไม่​ ซึ่ง กกต. มองว่าไม่เป็นปัญหา แต่หากเกิดอะไรขึ้น​ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็สามารถเชิญ​ กกต. เข้ามาหารือได้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องของงบประมาณ​ วิษณุกล่าวว่า […]

กกต.อาจไม่รายงานผลคะแนนเลือกตั้งออนไลน์ อ้างห่วงระบบล่ม-แพงไป

11 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่เห็นชอบกรณีที่สำนักงาน กกต.เสนอแผนงานการจัดทำโปรแกรมการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบออนไลน์ และการรายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส.อย่างไม่เป็นทางการตามที่ก่อนหน้านั้นสำนักงานฯ ได้มีประสานและได้รับความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในการสร้างระบบนานเกือบปีจนแล้วเสร็จ โดยมีรายงานว่าที่ประชุม กกต. ไม่เชื่อว่าระบบที่มีการจัดทำขึ้นจะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในอดีตที่ทำให้การรายงานผลการเลือกตั้งมีความคลาดเคลื่อนได้ อีกทั้งถ้า กกต.เห็นชอบให้สำนักงานดำเนินการตามที่ขอหากเกิดปัญหาขึ้น ก็จะกลายเป็นสิ่งที่มัดตัว กกต.เพราะเป็นระบบของสำนักงาน กกต. ขณะเดียวกันงบในการจัดทำราว 20 ล้านบาทก็สูงเกินไป “กกต.ระบุว่า คราวเลือกตั้งปี 62 ที่สำนักงานฯ ให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร.ทำระบบรายงานผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการผ่านแอพพลิเคชั่น Rapid Report แต่พอเกิดปัญหาระบบรายงานผลล่ม มีการโจมตีระบบ ก็ไม่มีใครที่จะรับผิดชอบ กลายเป็นปัญหามาตกหนักที่ กกต.” แหล่งข่าวระบุ ทั้งนี้หลัง นายแสวง บุญมี ได้รับแต่งตั้งเป็น เลขาธิการ กกต. เคยระบุถึงนโยบายเกี่ยวกับการจัดเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปที่จะเกิดขึ้นกรณีสภาผู้แทนราษฎรครบวาระในปี 66 ว่า นอกจากระบบการรายงานผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการแล้ว […]

1 2 3 4 16
error: