ลาคลอด 98 วัน ราชกิจจาฯ ออกกฎกระทรวง ให้ลูกจ้างที่ทำงานบ้านมีสิทธิลาได้





นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน ได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2567) ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งขณะนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 เมษายน 2567 เพิ่มการคุ้มครองให้กับลูกจ้างซึ่งทำงานบ้าน 11 เรื่อง ได้แก่

  • มีเวลาทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน
  •  มีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
  •  มีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็น
  •  ห้ามลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานเวลา 22.00 – 06.00 น. ทำล่วงเวลา หรือวันหยุด
  •  ลูกจ้างหญิงลาคลอดได้ 98 วัน
  •  ห้ามเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์
  •  ให้นายจ้างแจ้งการใช้แรงงานเด็ก
  • ลูกจ้างเด็กมีสิทธิฝึกอบรมโดยได้รับค่าจ้าง 30 วัน
  • ลูกจ้างหญิงได้รับค่าจ้างลาคลอด 45 วัน
  •  ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
  • ลูกจ้างได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

“เรามุ่งผลักดันกฎหมายให้ออกมาตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาและคุ้มครองแรงงานนอกระบบให้ตรงจุดที่สุด เพื่อเป็นหลักประกันทางสังคมในการพัฒนาชีวิตคุณภาพแรงงานนอกระบบในมิติต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องแรงงานให้ดีขึ้นต่อไป”

นายพิพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กระทรวงแรงงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพราะเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ที่สุดมีจำนวนมากกว่า 20 ล้านคน ให้สามารถเข้าถึงสิทธิพื้นฐานในการประกอบอาชีพมีหลักประกันสังคม มีความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างซึ่งทำงานบ้าน ซึ่งการคุ้มครองตามกฎหมายยังไม่ครอบคลุมและยังไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน จึงเร่งผลักดันกฎหมายให้ขยายความคุ้มครองให้ลูกจ้างซึ่งทำงานบ้านได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งขณะนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา.

 

ข้อมูลจาก : ฐานเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: