ประกันสังคม แจงวิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพผู้ประกันตนมาตรา 33





ประกันสังคม ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแล ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา เป็นต้น

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีชราภาพ ประกันสังคมจะจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของผู้ประกันตน โดยนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินบำนาญชราภาพให้ผู้ประกันตนเป็นรายเดือนตลอดชีวิต โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

พิพัฒน์ กางแผนฉุกเฉิน กู้วิกฤตกองทุนประกันสังคมล้มละลาย 30 ปีข้างหน้า

ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพ (จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต) ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หากจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้รับเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน

ตัวอย่างการคำนวณ หากผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถขอรับเงินบำนาญชราภาพได้ โดยมีวิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพ เป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้อัตราเงินบำนาญ 20%

ส่วนที่ 2 และในปีที่ 16 – ปีที่ 20 (5 ปี) จะได้รับอัตราเงินบำนาญ เพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อปีรวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี จะได้ 20% + 7.5% = 27.5%

ดังนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน = 27.5% ของ 15,000 บาท คือ 4,125 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต

และในกรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี นับแต่เดือนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามจำนวนเดือนที่เหลือ หลังจากผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน

จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้นมิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่างการทำงานมากมายแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคงอุ่นใจได้ว่า มีเงินออมชราภาพไว้เป็นหลักประกัน

ผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง).

 

ข้อมูลจาก : ประกันสังคม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: