รมว.พิพัฒน์ ยันขับเคลื่อน ประกันสังคมมุ่งสู่ องค์กรให้บริการทันสมัย

Advertisement 28 มีนาคม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในโครงการสัมมนาผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงาน คณะผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จำนวน 242 คน และตัวแทนอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอุดรธานี จำนวน 20 คน ให้การต้อนรับ ณ โรงแรม เซ็นทารา อุดร จังหวัดอุดรธานี Advertisement นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ครั้งที่ 1/2567 ในวันนี้ ลำดับแรกต้องขอชื่นชมที่ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมได้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างทุ่มเทและเสียสละ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคม ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตน อย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงแรงงานได้กำหนดเป้าหมาย ในการเป็นหนึ่งในกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่มีหน้าที่ในการดูแลกำลังแรงงานให้มีความปลอดภัย และมีสวัสดิการที่มั่นคงในการดำรงชีวิต […]

ประกันสังคม ซื้อหุ้น”บางจาก ฯ” 4.71 แสนหุ้น ขยับพอร์ตถือ 15%

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตามแบบรายงานการได้มา/จำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ได้รับแจ้งจาก บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ระบุว่าเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 สำนักงานประกันสังคม ได้มาซึ่งหุ้น BCP จำนวน 471,400 หุ้น คิดเป็น 0.0342% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา คิดเป็น 206,566,097 หุ้น หรือสัดส่วน 15.002% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มาของกลุ่ม จำนวน 471,400 หุ้น คิดเป็น 0.0342% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มาของกลุ่ม จำนวน 471,400 หุ้นคิดเป็น 15.002% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ โครงสร้างผู้ถือหุ้น บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น ( BCP ) 10 อันดับแรก ข้อมูล […]

ประกันสังคม แจงวิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพผู้ประกันตนมาตรา 33

ประกันสังคม ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแล ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา เป็นต้น สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 กรณีชราภาพ ประกันสังคมจะจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของผู้ประกันตน โดยนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินบำนาญชราภาพให้ผู้ประกันตนเป็นรายเดือนตลอดชีวิต โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ พิพัฒน์ กางแผนฉุกเฉิน กู้วิกฤตกองทุนประกันสังคมล้มละลาย 30 ปีข้างหน้า ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพ (จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต) ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หากจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้รับเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน ตัวอย่างการคำนวณ หากผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว […]

‘พิพัฒน์’ ห่วงประกันสังคมถังแตก จ่อขยายเพดานเงินสมทบ ยืดอายุเกษียณ

4 มีนาคม ที่กระทรวงแรงงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ถึงการบริหารกองทุนประกันสังคม ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะผู้บริหารชุดต่างๆ ของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ว่า ตามที่มีข้อกังวลเรื่องกองทุนประกันสังคมว่ากองทุนจะเข้าสู่ภาวะล้มละลายในอีก 30-34 ปีข้างหน้า นั้น ตนเชื่อว่าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือทำสิ่งใหม่ แนวโน้มของกองทุนก็จะเป็นไปตามสูตรการคำนวณดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องเร่งแก้ไขในส่วนนี้ “วันนี้ ที่มีการประชุมคณะกรรมการของ สปส. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงแรงงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สปส. โดยมีคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) เข้าร่วมประชุมด้วย จึงมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรจะมีการยืดอายุกองทุน จึงจำต้องมีการขยายเพดานการจัดเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเพิ่มขึ้น จากเดิมเพดานอยู่ที่ 15,000 บาท ก็จะขยายไปถึง 20,000 บาท รวมถึงการขยายอายุการเกษียณ ที่เดิมอยู่ที่ 55 ปี ก็อาจเพิ่มเป็น 60 ปี โดยเฉพาะดอกผลของกองทุนที่มีการใช้ตามกฎหมาย คือ ร้อยละ 60 เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เสี่ยง เช่น การฝากธนาคารของรัฐ การซื้อพันธบัตรของรัฐบาล ที่เหลืออีกร้อยละ 40 เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสเสี่ยงบ้าง […]

ผู้ประกันตน ม.33 39 40 ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมสรรพกรเปิดให้ผู้มีรายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทางเอกสาร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 มีนาคม 2567 และทางออนไลน์ สามารถยื่นได้ถึง 9 เมษายน 2567 นั้น ซึ่งผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน สามารถนำเงินสมทบมาคำนวณลดหย่อนภาษีได้ รายละเอียดมีดังนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 5,184 บาท ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 3,600 บาท โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ […]

“เงินสงเคราะห์บุตร” ประกันสังคม เบิกย้อนหลังได้หรือไม่

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตอบคำถาม กรณี คุณพ่อคุณแม่มือใหม่สงสัย “เงินสงเคราะห์บุตร” ขอรับย้อนหลังได้ไหมนั้น คำตอบคือ “ได้ ผู้ประกันตน สามารถยื่นเรื่อง ขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่) ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ และได้รับถึงเมื่อบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์เท่านั้น”   ข่าวจาก : amarintv

โฆษกประกันสังคมเผย สิทธิทำฟันไม่ด้อย ชี้จำกัดวงเงิน เพราะรอคิวนาน

โฆษก สปส.ยันทำฟันประกันสังคมไม่ด้อยกว่าสิทธิกองทุนสุขภาพอื่น หลังกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ระบุว่า ผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมใช้สิทธิเบิกค่ารักษาทันตกรรมที่จำเป็นได้น้อยกว่าประชาชนทั่วไปในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท)   6 ก.พ.67 นางนิยดา เสนีย์มโนมัย โฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ชี้แจงว่า ปัจจุบันสิทธิทันตกรรมของสำนักงานประกันสังคมเป็นสิทธิเดียวในสามกองทุนสุขภาพที่สามารถเข้ารับบริการได้ในสถานพยาบาล หรือคลินิกเอกชน ที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ สามารถรับบริการได้ทันที ไม่ต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า ไม่ต้องสำรองจ่าย ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้มีการปรับค่าบริการกรณีทันตกรรมจากเดิม 600 บาท เป็น 900 บาท โดยสำรวจราคาจากสถานพยาบาลที่ให้บริการทันตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน และอัตราการใช้บริการเฉลี่ยต่อปีของผู้ประกันตน   นางนิยดากล่าวว่า อีกทั้งสำนักงานประกันสังคมยังให้สิทธิผู้ประกันตนที่ต้องเข้ารับบริการด้านสุขภาพช่องปากที่จำเป็น หรือประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับช่องปาก ซึ่งถือเป็นการรักษาพยาบาลอย่างหนึ่ง ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลตามสิทธิโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และสำนักงานประกันสังคมได้มุ่งมั่นพัฒนาปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง   โฆษก สปส.กล่าวต่อว่า ในปี 2549 สำนักงานประกันสังคมเคยปรับระบบให้ผู้ประกันตนสามารถใช้บริการทันตกรรม ในสถานพยาบาลตามสิทธิ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนเกิน แต่ผลลัพธ์คือผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงสิทธิ รอคิวนาน โดยเสียงส่วนใหญ่ของผู้ประกันตนเรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคมกลับมาจัดบริการในลักษณะกำหนดวงเงิน แต่ไปรับบริการที่ไหนก็ได้   […]

กสม.ชี้ ประกันสังคม ให้เบิกทำฟัน 900 บาท ละเมิดสิทธิมนุษยชน

2 กุมภาพันธ์ นางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียน เมื่อเดือนมกราคม 2566 จากผู้ร้องรายหนึ่ง ระบุว่า ผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมใช้สิทธิเบิกค่ารักษาทันตกรรมที่จำเป็น ได้น้อยกว่าประชาชนทั่วไปในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) และระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ไม่ครอบคลุมชนิดของบริการและค่าใช้จ่ายที่จำเป็น แตกต่างจากผู้มีสิทธิในอีกสองระบบที่สามารถเบิกได้ตามความจำเป็น ทั้งที่ผู้ประกันตนเป็นกลุ่มเดียวที่กฎหมายกำหนดให้ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน ในปี 2559 คณะกรรมการประกันสังคม (ผู้ถูกร้อง) ได้ออกประกาศกำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าบริการทันตกรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด จำกัดในวงเงินเพียง 900 บาท ต่อคนต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อการรักษาทันตกรรมที่จำเป็น ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมและเพิ่มความรุนแรงของโรคทันตกรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งที่พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนที่จะต้องได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมกัน และเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน จึงขอให้ตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การที่คณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของผู้ถูกร้องได้ประกาศกำหนดให้ผู้ประกันตนเบิกค่าบริการทันตกรรมรวมกันทุกรายการได้ไม่เกิน 900 บาทต่อคนต่อปี ในขณะที่สถานพยาบาลเอกชนและคลินิกทันตกรรมส่วนใหญ่กำหนดอัตราค่าบริการทันตกรรมขั้นพื้นฐานเกินกว่า 900 บาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประกันตนไม่สามารถเบิกได้ ส่งผลให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการทันตกรรมได้เพียง 1 […]

“ประกันสังคม” สรุปการขอรับประโยชน์ทดแทนผ่านออนไลน์ 6 ขั้นตอน

สำนักงานประกันสังคม อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ด้วยบริการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนอิเล็กทรอนิกส์ e-Self Service เพื่อให้ผู้ประกันตนยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนผ่านทางเว็บไซต์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนได้ด้วยตนเองในกรณีต่าง ๆ อาทิ กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และกรณีว่างงาน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Self Service ง่าย ๆ ใน 6 ขั้นตอน ประโยชน์ทดแทนที่ยื่นได้ 1.ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย 2.คลอดบุตร 3.ทุพพลภาพ 4.เสียชีวิต 5.สงเคราะห์บุตร 6.ชราภาพ 7.ว่างงาน ขั้นการขอรับประโยชน์ทดแทนแบบออนไลน์ ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน ขั้นตอนที่ 2 สมัครสมาชิก หรือ ใส่รหัสเพื่อเข้าสู่ระบบกรณีเคยสมัครสมาชิกแล้ว ขั้นตอนที่ 3 เลือกเมนู บริการด้วยตนเองผ่าน “ระบบ e-Self Service” ขั้นตอนที่ 4 เลือกเมนู […]

เปิดหน้าที่ “บอร์ดประกันสังคม” หลังได้ชุดใหม่จากการเลือกตั้ง

เปิดหน้าที่ “บอร์ดประกันสังคม” หรือคณะกรรมการประกันสังคม หลังได้ชุดใหม่จากการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศ เปิดหน้าที่ “บอร์ดประกันสังคม” 1. เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี เกี่ยวกับโยบายและมาตรการในการประกันสังคม 2. พิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการตรา พ.ร.ก.การออกกฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ 3. วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุน 4. วางระเบียบโดยความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน 5. พิจารณางบดุลและรายการรับเงินของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงาน ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสังคม 6. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการอื่นหรือสำนักงาน 7. ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่กฎหมายหรือตามที่รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานมอบหมาย กองทุนประกันสังคม มีเงินสะสมอยู่ที่ 2.3 ล้านล้านบาท คือ กองทุนที่รัฐบาลไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้ในประเทศ ใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งนายจ้าง และลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฝ่ายละเท่า ๆ กัน โดยเงินสมทบที่ได้มาจะถูกนำไปจัดตั้งเป็นกองทุนและจ่ายเป็นผลประโยชน์ทดแทน หรือให้ความคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง ศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น […]

1 2 14
error: