ราชกิจจาฯ แพร่ข้อกำหนด “สวมแมสก์ตามความสมัครใจ”

Advertisement ราชกิจจาฯ เผยแพร่ข้อกำหนด “สวมแมสก์ตามความสมัครใจ” หลังโควิด-19 คลี่คลาย ส่วนผู้ติดเชื้อ-เสี่ยงสูง หากอยู่กับคนอื่น ให้สวมไว้ก่อน Advertisement เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 46 ตามที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ปัจจุบันได้คลี่คลาย และมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น จากการดําเนินมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ส่งผลให้จํานวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวลดลงเป็นลําดับ จนสามารถผ่อนปรนบรรดามาตรการและข้อจํากัดต่างๆ ให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถดํารงชีวิตและดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ใกล้เคียงกับปกติ รวมถึงการผ่อนคลายข้อจํากัดเรื่องการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศจากเดิมที่เคยกําหนดเป็นมาตรการสกัดกั้นเชื้อโรคอย่างเร่งด่วน โดยปรับให้สอดคล้องกับนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล เพื่อรับผู้เดินทางจากทั่วโลก การดําเนินการตามแผนและมาตรการจัดการด้านสาธารณสุขทั้งหลายนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่ระยะ Post-Pandemic ที่จะประกาศให้เป็นโรคติดต่อทั่วไป ในการนี้ รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุขจึงเห็นสมควรพิจารณาปรับลดระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร ผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจควบคู่กับการคงดำเนินมาตรการที่จำเป็นสำหรับป้องกันและควบคุมโรค รวมทั้งเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังโรคต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อควบคุมการระบาดของโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด Advertisement โดยในข้อ 3 ของข้อกำหนดดังกล่าวได้ระบุถึง การผ่อนคลายข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนสามารถดําเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติยิ่งขึ้น จึงสมควรผ่อนคลายข้อจํากัดในเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า โดยยกเลิกความในข้อ 1 แห่งข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 […]

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ระเบียบให้ ป.ป.ช.-พนง.ไต่สวน พกพาวุธปืน

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ระเบียบให้ คณะกรรมการป.ป.ช.-พนง.ไต่สวน พกพาวุธปืน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่า ด้วยการมี การใช้ และการพกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และอุปกรณ์เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2565 มีรายละเอียด อาทิ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยการมี การใช้ และการพกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และอุปกรณ์เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อใช้คุ้มครองความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และมาตรการควบคุม การมี การใช้ และการพกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และอุปกรณ์เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ข้อ 9 ในการมี การใช้ และการพกพา ให้ผู้อนุญาตพิจารณาอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตมี ใช้ พกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน อุปกรณ์เกี่ยวข้องและมีติดตัวได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ให้อนุญาตเฉพาะบุคคล ดังนี้ (ก) บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการไต่สวน (ข) […]

ราชกิจจาฯ ประกาศเกณฑ์ค่ารักษา ค่าตรวจโควิด สิทธิประกันสังคม

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19)) สำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษา แบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาการแยกกักในชุมชน วันนี้ (14 มิ.ย.65) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) สำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษา แบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาการแยกกักในชุมชน (Community Isolation) โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์สำหรับการดูแลรักษา ในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษา การแยกกักในชุมชน (Community Isolation) กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด […]

ราชกิจจาฯ เผยระเบียบช่วยเหลือนร.โรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล

ราชกิจจาฯ เผยระเบียบมาตรการช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล วันที่ 13 มิถุนายน ราชกิจจานุเบกษา ได้เผย ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2564 เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูเพิ่มขึ้น 450 บาทต่อคนต่อปี โดยปรับอัตราจาก 8,582.50 บาทต่อคนต่อปี เป็น 9,032.50 บาทต่อคนต่อปี เท่ากับการอุดหนุนนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อประกันรายได้ครูโรงเรียนเอกชนให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่ทางราชการกำหนด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2556 ประกอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตามมาตรา 13 (6) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ในการประชุมครั้งที่ […]

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 16อาชีพ สูงสุดรับ650บาท/วัน

ราชกิจจาฯ ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 16 อาชีพ กลุ่มอาชีพช่างก่อสร้าง 5 สาขา กลุ่มอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ 4 สาขา กลุ่มอาชีพภาคบริการ 7 สาขา สูงสุดรับ 650 บาท/วัน เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.65 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11) เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.65 ระบุว่า ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริง เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 16 สาขา โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ ดังนี้ กลุ่มอาชีพช่างก่อสร้าง 5 สาขา 1.ช่างติดตั้งยิปซั่ม 450-595 บาท/วัน 2.ช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ 645 […]

กรมขนส่งฯ ประกาศแท็กซี่ กทม. วิ่งนอกเขต 7จังหวัด ไม่ต้องกดมิเตอร์

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2565 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดท้องที่ที่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้วิธีตกลงราคานอกจากการใช้มาตรค่าโดยสาร พ.ศ. 2565 โดยที่สภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบันรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครที่รับจ้างส่งผู้โดยสารไปยังจังหวัดต่าง ๆ ประชาชนผู้ใช้บริการและผู้รับจ้างนิยมใช้ วิธีการตกลงราคาหรือเช่าเหมาแทนการคิดค่าโดยสารจากมาตรค่าโดยสาร ซึ่งการดำเนินการด้วยวิธีการ ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน สมควรปรับวิธีการเรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้มีความยืดหยุ่นและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เกิดความคล่องตัวในการรับจ้างที่มีระยะทางไกลและเป็นไปตามความตกลงของผู้ใช้บริการและผู้ขับรถยนต์รับจ้าง อาศัยอำนาจตามความในข้อ 13 วรรคสองแห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน พ.ศ. 2560 ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กำหนดท้องที่การรับจ้างของรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ทำการรับจ้างนอกเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม รวมถึงกรณีการรับจ้าง ในเขตจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งต่อเนื่องไปสิ้นสุดการรับจ้างนอกเขตจังหวัดดังกล่าว สามารถใช้วิธีตกลงราคา เรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารนอกจากการใช้มาตรค่าโดยสารได้ด้วย ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. […]

ราชกิจจาฯ ประกาศ “ชัชชาติ” แบ่งงาน 4 รองผู้ว่าฯ กทม.

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคําสั่งกรุงเทพมหานคร มอบหมาย มอบอำนาจรองผู้ว่าฯ กทม. สั่งและปฏิบัติราชการแทน วันที่ 10 มิถุนายน 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คําสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 1269/2565 เรื่อง มอบหมายและมอบอํานาจให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามโดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 55 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงมีคําสั่งต่อไปนี้ มอบหมาย และมอบอํานาจในการสัง การอนุญาต การอนุมัติหรือการปฏิบัติราชการ ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติ หรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคําสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคําสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น มิได้บัญญัติเรื่องการมอบอํานาจไว้เป็น อย่างอื่น ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอํานาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการแทน ดังนี้ […]

“ราชกิจจานุเบกษา” ประกาศขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโควิดอีก 2 เดือน

“ราชกิจจานุเบกษา” ขยายระยะเวลา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คุม “โควิด” ทั่วราชอาณาจักรต่ออีก 2 เดือน ถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 65 (27 พ.ค. 2565) “ราชกิจจานุเบกษา” ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุม โควิด โดยออกประกาศเรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร(คราวที่ 18) ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และได้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคราวที่ 17 ออกไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2565 นั้น ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ โควิด มีการฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรคในหมู่ประชาชนทุกช่วงวัย ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวลดลงเป็นลำดับ จนสามารถผ่อนปรนให้ประชาชนและผู้ประกอบการ สามารถดำรงชีวิต และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ใกล้เคียงกับปกติมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเปิดการเรียนการสอนในสถานศึกษาทั่วประเทศ แต่เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคดังกล่าวทั่วโลก ยังคงรุนแรง มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น และระบาดแพร่หลายเป็นระยะ และต้องใช้เวลาในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่ อีกทั้ง องค์การอนามัยโลก ยังคงระดับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา […]

ราชกิจจาฯ กำหนดยกเว้นภาษีโครงการรัฐ รวม คนละครึ่ง-เราชนะ

ราชกิจจานุเบกษา เผยกฎกระทรวง กำหนดให้เงินสนับสนุนโครงการรัฐจำนวน 16 รายการ เช่น คนละครึ่ง เราชนะ ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง ฉบับที่ 382 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยกำหนดให้เงินได้ที่ได้รับเป็นเงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดจากภาครัฐ รวม 16 รายการ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ค่าสปาหรือนวดเพื่อสุขภาพ ค่ารถเช่าหรือเรือเช่าเพื่อการท่องเที่ยว หรือค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ตามโครงการเราเที่ยวด้วยกัน 2. ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์จากผู้ประกอบการนำเที่ยวตามโครงการกำลังใจ 3. ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าเดินทางและค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์จากผู้ประกอบการนำเที่ยวตามโครงการทัวร์เที่ยวไทย 4. ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นตามโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 และค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ตามโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 5. ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเป็นค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง […]

ราชกิจจาฯ ประกาศหลักเกณฑ์ ผ่อนจ่ายเคลมประกันโควิด สูงสุด 8 งวด

ราชกิจจาฯ ประกาศหลักเกณฑ์ ผ่อนจ่ายเคลมประกันโควิด สูงสุด 8 งวด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการผ่อนชำระค่าสินไหมทดแทน COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ.2565 มีใจความสรุปว่า เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยังคงความรุนแรงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยตามกรมธรรม์ ประกันภัยโควิด (แบบเจอ จ่าย จบ หรือไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม) ได้รับผลกระทบจนได้รับ ความเสียหายอย่างรุนแรง ทั้งปริมาณการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อบรรเทาปัญหาในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนที่สูงขึ้นในคราวเดียวกัน อันอาจส่งผลต่อฐานะการเงินและสภาพคล่องของบริษัทประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิดแบบเจอ จ่าย จบ จนเป็นเหตุให้กระทบต่อการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่นแก่ ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน จึงเห็นควรให้บริษัทประกันภัย สามารถขอผ่อนชำระค่าสินไหมทดแทน COVID-19 โดยการทำความตกลงตามความสมัครใจของ ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือบุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้องหรือได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ประกันภัย COVID-19 ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ […]

1 8 9 10 43
error: