รองอธิบดีกรมการแพทย์เผย ปวดหัวไมเกรนมี2แบบ อาหารบางชนิดกระตุ้นปวดได้

Advertisement 26 ก.ค.66 นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงโรคไมเกรนว่า เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้ในเด็กวัยเรียน วัยหนุ่มสาว แต่ผู้สูงอายุมักไม่เป็นโรคนี้ พบมากโดยเฉพาะคนวัยทำงาน ที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันและความกดดันอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ต้องเผชิญกับความเครียดสะสม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จะพบผู้ป่วยอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25-30 ปี มากที่สุด มักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย Advertisement โดยลักษณะของไมเกรนแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.ไมเกรนชนิดไม่มีอาการนำ จะปวดศีรษะครึ่งซีกเป็นพักๆ เวลาหายปวดจะหายสนิท ซึ่งการปวดแต่ละครั้งจะนาน 4 ชั่วโมงหรือนานเป็นวันๆ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ เช่น คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อแตก 2.ไมเกรนชนิดมีอาการนำ จะพบได้น้อยกว่า มักมีอาการนำมาก่อนแล้วจึงมีอาการปวดศีรษะตามมา เช่น ตาฝ้า เห็นแสงระยิบระยับ บางคนอาจเห็นเป็นภาพมืดตรงกลางทำให้มองไม่เห็นชั่วครู่ อาจมีอาการแขนขาชาอ่อนแรงหรือพูดไม่ได้ชั่วครู่ ไมเกรนถือเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของใครหลายคน และเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน การมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องจะช่วยให้ห่างไกลจากโรคไมเกรนได้ Advertisement ด้าน นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผอ.สถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า สาเหตุของโรคปวดศีรษะไมเกรนเกิดจากภายในร่างกายและจากพันธุกรรม ซึ่งไม่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ ส่วนสาเหตุที่มาจากภายนอกร่างกายเป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดอาการ เช่น […]

error: