เปิดฝาใช้แก้วตักกระติกน้ำร้อนเก่า เจอไฟดูดน้ำร้อนลวกซ้ำ อาการสาหัส

Advertisement 12 ก.พ.2566 มีผู้ใช้เฟชบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพและข้อความเตือนภัยในการใช้กระติกน้ำร้อนที่เกือบทำให้เสียชีวิต โดยระบุว่า “ก็เกือบจะสิ้นชื่อ ไฟดูด น้ำร้อนลวกซ้ำตั้งแต่หัวเกือบถึง เพราะความประมาทแท้” จากนั้นก็มีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก Advertisement ต่อมาผู้สื่อข่าว พร้อมหน่วยกู้ภัย จึงได้ลงพื้นที่ไปสอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็พบนายคำนวณ อายุ 57 ปี ผู้ประสบเหตุที่โพส์ตเตือนภัย ก็โชว์ให้ดูรอยที่ถูกน้ำร้อนลวกตามร่างกายจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยช่วงเวลาประมาณ 8 โมงเช้า ก็จะชงกาแฟดื่มตามปกติ แต่กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าที่ใช้อยู่ประจำ มันกดน้ำไม่ออกอาจเพราะใช้งานมานานแล้ว Advertisement ตนจึงใช้วิธีเปิดฝาด้านบนกระติกน้ำร้อนแล้วใช้แก้วพลาสติกตักน้ำร้อนในกระติก เพื่อจะเอาไปชงกาแฟ แต่ขณะจะเอาแก้วที่ตักน้ำในกระติกน้ำร้อนแล้ว ออกมามือเกิดพลาดไปโดนขอบสแตนเลสของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า จึงทำให้ไฟดูดจึงรีบกระชากมือออก ทำให้น้ำร้อนที่อยู่ในแก้วสาดมาโดนศีรษะ ใบหน้า และไหลอาบหน้าท้อง ตอนนั้นตกใจมากทำอะไรไม่ถูกทั้งแสบร้อนบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก พอตั้งสติได้ก็รีบถอดปลั๊กออกกระตกน้ำร้อนออก ส่วนสาเหตุคาดว่าน่าจะเป็นเพราะพื้นบริเวณที่ตนเองยืนเปียก แล้วพอมือพลาดไฟโดนสแตนเลสด้านในของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า จึงทำให้ไฟดูดแต่ยังเคราะห์ดีที่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต “อยากฝากให้เป็นอุทาหรณ์ เตือนภัยสำหรับคนที่ใช้กระติกน้ำร้อนแบบ ควรใช้ความระมัดระวัง เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนกรณีที่เกิดกับผมเองยอมรับว่าเกิดจากความประมาทหลังจากนี้ก็จะระมัดระวังมากขึ้น” นายคำนวณ กล่าว   ข่าวจาก […]

เพจดังเตือน ห้ามลุยช่วยคนไฟดูดจมน้ำ ยกเคสน้องบาสโชคดี ดูชัด ๆ ตรงไหน

(18 กันยายน 2565) เพจเฟซบุ๊ก Darth Prin ได้มีการโพสต์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ยืนยันว่าการช่วยเหลือคนถูกไฟดูดที่น้องบาสทำนั้น เป็นเรื่องที่ไม่สมควร ไม่แนะนำให้ทำแบบนั้น เพราะการลงไปช่วยคนที่ถูกไฟดูดในน้ำควรต้องเป็นคนที่เชี่ยวชาญจริง ๆ ไม่เช่นนั้นคนที่ลงไปช่วยอาจจะกลายเป็นผู้ประสบภัยเพิ่มแทน แต่กรณีของน้องบาสนั้นถือว่าเป็นความโชคดีที่ไม่ได้รับอันตรายมาก โดยระบุว่า ขออธิบายในแบบวงจรไฟฟ้าให้ดูว่าน้องบาสโชคดีขนาดไหน จากการลงไปช่วยคนโดนไฟดูดจมน้ำ ซึ่งอธิบายประกอบภาพคือ R1 ให้เป็นความต้านทานไฟฟ้าของกระแสที่ผ่านน้ำไปในทิศทางอื่น ความต้านทานจากน้ำถึงตัวคนคือ R2 และความต้านทานไฟฟ้าผ่านตัวคนคือ R3 คนนอนราบ จะเป็นสะพานไฟฟ้าชั้นดี กระแสไฟวิ่งผ่านตัวคนดีกว่าน้ำ นั่นคือ เคส Electric Shock Drowning ESD (คนถูกไฟช็อตจมน้ำ) ยังไม่ล้มคือพอประคองตัว ถ้าล้มก็คือเกม ถ้าซวยยังไง ก็พยายามล้มขวางทิศทางกระแส อย่าล้มเข้าหาแหล่งไฟ การก้าวเท้ายาวสั้น มีผลต่อปริมาณกระแสไฟเช่นกัน เพราะเราคือสะพานไฟ คือทางด่วนของไฟฟ้า ยิ่งก้าวยาว ก็เป็นช่องทางให้ไฟฟ้าเดินทางผ่านได้มากขึ้น จังหวะการแตะตัวเพื่อช่วย วัตถุที่เข้าไปแตะตัวผู้ประสบภัยคือสะพานไฟ แตะปุ๊บเรากระตุกปั๊บ ถ้าเราล้มลงไป จากที่เหมือนจะทนไฟดูดได้ เราจะเป็นเหยื่อคนที่สอง ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ลุยน้ำเข้าไปช่วยคนโดนไฟดูดในน้ำ นอกจากคุณจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ คนทั่วไปควรถือหลักการ […]

มท.สั่งทุกจังหวัดตรวจสอบจุดเสี่ยงไฟฟ้ารั่วจากเสาไฟ ตัดไฟทันทีหากอันตราย

18 ก.ย.65 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดฝนตกหนัก ทำให้มีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ จึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากอุบัติภัยในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติภัยจากไฟฟ้าทั้งไฟฟ้าช็อตและไฟฟ้าดูด ที่อาจทำให้ได้รับอันตรายแก่ชีวิตได้ ดังกรณีเหตุการณ์ไฟฟ้าดูดเนื่องจากฝนตกน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในจ.อุดรธานี จึงสั่งการให้จังหวัด กทม.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง เร่งตรวจสอบจุดเสี่ยงอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว รวมทั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่ติดตั้งบนเสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เสาไฟฟ้า โดยเฉพาะในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง และให้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือด้านระบบไฟฟ้าแก่ประชาชนในพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง หากตรวจสอบพบมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล หรือประเมินว่าจะเกิดอันตรายต่อประชาชน ให้รีบตัดกระแสไฟฟ้าทันที พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ทั้งนี้ ให้อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชน สร้างการรับรู้ในการระมัดระวังตนเองจากไฟฟ้าที่มักความเสี่ยงเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงที่มีฝนตกและมีน้ำท่วมขัง พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ขอให้ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และย้ายขึ้นที่สูงให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึง หากมีน้ำท่วมบ้านให้สับคัตเอาท์เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า โดยสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้า มาดำเนินการปลดสวิตช์ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว และเพื่อความปลอดภัยไม่ควรใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือยืนแช่น้ำ รวมถึงไม่ควรลุยน้ำเข้าใกล้แนวสายไฟ เสาไฟฟ้า หรือสัมผัสวัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว อาจจะทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ ประชาชนที่พบเห็นเหตุการณ์ไฟฟ้ารั่ว สามารถแจ้งเหตุได้สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 […]

error: