อังกฤษเตรียมแบนพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเริ่ม ต.ค.นี้ แก้ขยะล้นโลก

Advertisement ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า รัฐบาลอังกฤษประกาศสั่งห้ามใช้ช้อนส้อม จาน และสิ่งของพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป และหันมาใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพแทน เนื่องจากรัฐบาลพยายามที่จะจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและทั่วโลก โดยให้คำมั่นว่าจะกำจัดขยะพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งได้ทั้งหมดภายในปี 2585 Advertisement นอกจากนี้ การห้ามยังรวมถึงถาดแบบใช้ครั้งเดียว ไม้ลูกโป่ง ถ้วยโพลีสไตรีนและภาชนะบรรจุอาหารบางประเภท รวมถึงผู้คนจะไม่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้จากร้านอาหาร ร้านค้าปลีก หรือผู้จำหน่ายอาหารได้ รัฐบาลอังกฤษ ระบุว่า ในแต่ละปีอังกฤษมีการใช้จานแบบใช้ครั้งเดียวจำนวนมากถึง 1,100 ล้านใบและช้อนส้อมประมาณ 4,250 ล้านชิ้น ซึ่งเท่ากับจาน 20 ใบและช้อนส้อม 75 ชิ้นต่อคน ขณะเดียวกันมีเพียงร้อยละ 10 ของขยะพลาสติกเท่านั้นถูกนำไปรีไซเคิล อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปประกาศห้ามใช้จานพลาสติก ช้อนส้อม หลอดแบบใช้ครั้งเดียว แท่งลูกโป่ง และคอตตอนบัตเมื่อฤดูร้อนที่แล้ว ขณะเดียวกันอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลกประกาศห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในเดือนกรกฎาคมปีนี้ รวมถึงแคนาดาการผลิตและนำเข้าถุงพลาสติก ช้อนส้อม ภาชนะใส่อาหาร เครื่องกวน และหลอดพลาสติกจะกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายโดยจะเริ่มในปลายเดือน ม.ค. นี้ Advertisement ส่วนรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐออกข้อจำกัดใหม่เกี่ยวกับพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในเดือนมิถุนายน โดยกำหนดให้ภาชนะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งต้องรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ภายในปี 2575 ขณะที่ยูเอ็นเตือนโลกกำลังเผชิญกับปัญหามลภาวะพลาสติกครั้งใหญ่ จากรายงานเปิดเผยว่า ปริมาณขยะพลาสติกที่เข้าสู่ระบบนิเวศทางน้ำอาจเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าหรือมากถึง […]

พืชและสัตว์ใน “แอนตาร์กติกา” อาจสูญหายกว่าครึ่ง นักวิจัยเผย “เพนกวิน” เสี่ยงที่สุด

ซีเอ็นเอ็น รายงานจากการศึกษาของนักวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารพลอสไบโอโลจี (PLOS Biology) พบว่า พืชและสัตว์ในทวีปแอนตาร์กติการ้อยละ 65 กำลังประสบปัญหา โดยเฉพาะเพนกวิน หนึ่งในสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของทวีปที่มีแนวโน้มว่าจะสูญหายภายในศตวรรษนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น รวมถึงมลพิษที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจากจากเชื้อเพลิงฟอสซิล รายงานระบุว่า คณะนักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแถบอาร์กติกตอนเหนือซึ่งร้อนเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ของโลกถึง 4 เท่า ขณะที่น้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกากำลังลดลงอย่างรวดเร็ว คุกคามนกทะเลหลายชนิด รวมถึงเพนกวินจักรพรรดิและเพนกวินอาเดลี หากน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นเพนกวินจะพยายามดิ้นรนเพื่อให้วงจรการสืบพันธุ์สมบูรณ์ อีกสาเหตุหลักที่สร้างผลกระทบ คือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ที่พุ่งสูงขึ้นกว่าแปดเท่านับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ส่งผลให้เกิด ทำให้หิมะละลายมากขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์พบเขม่าหรือคาร์บอนดำที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของน้ำมัน ถ่านหิน ฟืนและเชื้อเพลิงอื่นๆ ซึ่งเป็นตัวการก่อความร้อนให้โลกมากที่สุดรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ และเป็นตัวเร่งให้หิมะหลอมละลายเร็วขึ้น การแก้ปัญหาภัยคุกคามทวีปแอนตาร์กติกา คือ ต้องลดขนาดและการจัดการกิจกรรมของมนุษย์ การขนส่ง และปรับโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เช่นเดียวกับการปกป้องสายพันธุ์พื้นเมือง ขณะเดียวกันต้องควบคุมสายพันธุ์และโรคต่างถิ่นที่เข้ามาในภูมิภาคด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้ความสำคัญกับนโยบายภายนอก เช่น การบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศระหว่างประเทศที่กว้างขึ้นภายใต้ข้อตกลงปารีสปี 2558 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกันอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น   ข่าวจาก : ข่าวสด

นิวซีแลนด์ เสนอจัดเก็บภาษี “เรอ-ปัสสาวะ” วัว แก้ปัญหาโลกร้อน

11 ต.ค. บีบีซี รายงานว่า นิวซีแลนด์ เสนอเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกที่ปศุสัตว์ผลิตจากการเรอและปัสสาวะของวัว เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นที่แรกในโลก โดยเกษตรกรจะต้องจ่ายเงินเพื่อปล่อยมลพิษทางการเกษตรในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งภายในปี 2568 นายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น ระบุว่า เงินที่ได้รับจากกการจัดเก็บภาษีจะกลับเข้าสู่อุตสาหกรรมเพื่อเป็นเงินทุนแก่เทคโนโลยีใหม่ การวิจัย และการจ่ายเงินจูงใจสำหรับเกษตรกร “เกษตรกรในนิวซีแลนด์ถูกกำหนดเป็นประเทศแรกในโลกที่ลดการปล่อยมลพิษทางการเกษตร โดยวางตำแหน่งตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเราเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้โลกมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารของเกษตรกร” นายกรัฐมนตรีหญิงกล่าวกับผู้สื่อข่าวขณะประกาศข้อเสนอดังกล่าวจากไร่แห่งหนึ่งในภูมิภาคไวราราปา รัฐบาลยังไม่ตัดสินใจกำหนดราคาที่รัฐบาลจะจัดเก็บ แต่เกษตรกรควรสามารถชดเชยค่าใช้จ่ายภาษีการจัดเก็บด้วยการตั้งราคามากขึ้นสำหรับผลิตผลที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรบางคนประณามแผนดังกล่าวที่อาจทำให้เกษตรกรหลายคนต้องขายไร่ทิ้ง ด้านนายแอนดรูว์ ฮ็อกการ์ด ประธานสหพันธ์เกษตรกรแห่งชาติ ระบุว่า แผนดังกล่าวจะควักเนื้อนิวซีแลนด์ที่เป็นเมืองเล็ก ทำให้ไร่ต่างๆ เหลือแต่ต้นไม้ และเสริมว่า สหพันธ์เกษตรกรแห่งชาติไม่ประทับใจอย่างยิ่งกับปฏิสัมพันธ์ของรัฐบาลกับเกษตรกรขณะตรวจสอบข้อเสนอทางเลือกอื่นๆ “เกษตรกรจะขายที่ดินของพวกเขาอย่างรวดเร็วจนคุณไม่ได้ยินแม้แต่เสียงสุนัขเห่าไล่หลังรถ (รถกระบะ) ขณะขับออกไป” นายฮ็อกการ์ดเสริม นอกจากนี้ บางคนแย้งว่า แผนดังกล่าวสามารถเพิ่มการลดการปล่อยก๊าซได้จริง หากต้องย้ายการผลิตอาหารไปประเทศที่มีวิธีการทำไร่ที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า ทั้งนี้ เมื่อปี 2562 ก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศโลกถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 2.5 เท่า   ข่าวจาก : ข่าวสด

error: