แพทย์โรคหัวใจเตือน “พล.อ.ประวิตร” หงอยหลับกลางวัน หวั่น “โรคหยุดหายใจ”

Advertisement 5 ก.ค. 66 นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ “หมอหม่อง” อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกมาเคลื่อนไหวโพสต์ภาพ “พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ขณะที่กำลังก้มหน้าคล้ายอาการคนหลับหรือพักสายตา กลางที่ประชุมสภา ที่มี ส.ส. กว่า 400 ชีวิต กำลังวุ่นวายกับการประชุมเลือกประธานสภาและรองประธานสภา เพื่อแต่งตั้งคนดีเข้าสภาและพร้อมที่จะเดินหน้าประเทศชาติอยู่ Advertisement Advertisement โดยเขียนข้อความระบุว่า “ในฐานะแพทย์มองอาการแบบนี้แล้วก็เป็นห่วงการหงอยหลับกลางวัน Daytime somnolence เป็นอาการหนึ่ง ของ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือ ทางเดินหายใจอุดกั้นตอนกลางคืน หรือ โรคกรน Obstructive sleep apnea (OSA)” “การหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ตอนกลางคืน ทำให้ไม่สามารถหลับลึก ร่างกาย สมอง ไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ ความดันโลหิตสูงตอนกลางคืน nocturnal hypertension ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น สมองไม่แจ่มใส” “ใครมีอาการแบบนี้ […]

แพทย์เผย กินไข่เยอะไม่ใช่เรื่องดี เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ

นพ. หลิว จงผิง แพทย์โรคหัวใจ เผยว่า ทางการแพทย์มีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับบริโภคไข่ เชื่อกันว่าไข่มีคอเลสเตอรอลจำนวนมากซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่ขีดจำกัดสูงสุดของปริมาณคอเลสเตอรอลและจำนวนไข่แนะนำว่า ควรทานปริมาณคอเลสเตอรอลในแต่ละวันไม่ควรเกิน 300 มก. และกินไข่ขาวให้มากขึ้นและไข่แดงให้น้อยลง นพ. หลิว จงผิง กล่าวว่า คำแนะนำด้านโภชนาการของสหรัฐอเมริกาที่เผยแพร่ใหม่ในปี 2020 ย้ำว่า “ให้พยายามลดปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารประจำวัน” ยิ่งลดมากยิ่งดี การเปลี่ยนแปลงนี้มาจากการที่เมแทบอลิซึมและการนำโคเลสเตอรอลไปใช้ในร่างกายมีความซับซ้อนมาก จากการศึกษา พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างคอเลสเตอรอลในกระเพาะอาหารกับความเข้มข้นของโคเลสเตอรอลในเลือดนั้น ไม่เพียงพอ นักวิชาการเชื่อว่า การอาศัยเพียงคอเลสเตอรอลในอาหารเพื่อลดความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในเลือดไม่สมเหตุสมผลเพียงพอ อย่างไรก็ตาม รายงานการวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าการบริโภค “คอเลสเตอรอลมากกว่า 300 มก.” หรือ “ไข่มากกว่าครึ่งฟอง” ทุกวันอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและโรคหัวใจและหลอดเลือด นพ. หลิว จงผิง กล่าวถึงสิ่งที่เผยแพร่ใน Cardiology ในปี 2022 การวิเคราะห์จากวารสาร Circulation แสดงให้เห็นว่าการรับประทานไข่เพิ่ม 50 กรัมต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 6% นพ. หลิว จงผิง อธิบายว่าเหตุผลก็คือ แม้ว่าปริมาณคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปไม่อาจเป็นการสะท้อนให้เห็นในความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในเลือดของร่างกายมนุษย์ แต่การบริโภคคอเลสเตอรอลมากเกินไปจะทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายและทำลายเซลล์บุผนังหลอดเลือด การวิจัยทางการแพทย์ยังได้พิสูจน์ว่า […]

งานวิจัยเผยผู้สูงอายุ เดินวันละ9,000ก้าว ลดเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด 49%

13 ม.ค. 2566 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า มีผลการวิจัยจากวารสาร The Lancet โดย Assistant Professor Amanda Paluch และคณะ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนก้าวเดินในแต่ละวันกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยวิเคราะห์ข้อมูลจาก 8 การวิจัยขนาดใหญ่ใน 40 ประเทศทั่วโลก โดยติดตามจำนวนก้าวเดินของผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 20,152 คน เริ่มตั้งแต่ยังไม่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นระยะเวลาเฉลี่ย 6 ปี โดยเปรียบเทียบผู้ที่มีการก้าวเดินจำนวน 2,000 ก้าวต่อวัน กับผู้ที่เดิน 4,000 ก้าว 6,000 ก้าว และ 9,000 ก้าวต่อวัน พบว่า จำนวนก้าวต่อวันสามารถช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้ร้อยละ 20, 38 และ 49 ตามลำดับ (Hazard […]

4 โรคหัวใจ มหันตภัยเงียบที่คุณควรระวัง !

4 โรคหัวใจ มหันตภัยเงียบที่คุณควรระวัง !   ถ้าหากพูดถึงอวัยวะของคนเราที่มีขนาดเทียบเคียงกับกำปั้น แน่นอนเราต้องนึกถึง “หัวใจ” และเป็นที่ทราบกันดีว่า เจ้าอวัยวะนี้อยู่ในบริเวณส่วนกลางของหน้าอกเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยมีการหดและคลายตัวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า ถ้าหากวันใดวันหนึ่งการทำงานของหัวใจเกิดข้อผิดพลาดอย่างกระทันหัน หัวใจหยุดทำงานชั่วขณะ หรือเกิดการอุดตันในหลอดเลือด นี่คือเครื่องบ่งบอกท่านว่าเรากำลังตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายจากภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือน และด้วยอาการเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจตามมาจำนวนมาก ทางทีมงาน Hospital Healthcare จึงนำสาระดีมีประโยชน์มาบอกเล่าต่อ เพื่อให้รู้ทันโรคยอดฮิตของกลุ่มโรคหัวใจมากขึ้น หลอดเลือดหัวใจตีบ โดยปกติแล้วผนังภายในหลอดเลือดหัวใจมีลักษณะเรียบเมื่อคนเรามีอายุที่มากขึ้น เนื้อเยื่อไขมันจะเริ่มเกาะและจับตัวกับพังผืดกันเป็นแผ่นนูน ทำให้ช่วงรูตรงกลางของหลอดเลือดมีขนาดลดน้อยลง ส่งผลให้โลหิตไม่สามารถไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างเพียงพอ จึงเป็นที่มาของเกิดอาการแน่น เจ็บหน้าอก จุกแน่นลิ้นปี่ เหนื่อย เหงื่อออก หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะเวลาที่มีการออกกำลัง และถ้าปล่อยให้เส้นเลือดหัวใจตีบตลอดเวลานานเกินไปโดยที่ไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลัน แม้จะมีอาการเตือนเพียงแค่ระยะสั้น แต่ก็สามารถทำให้เสียชีวิตทันทีทันใดได้ ดังนั้นผู้ป่วยด้วยโรคนี้จึงต้องได้รับการรักษาด้วยการทำบอลลูนและใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดในตำแหน่งที่ตีบ หรือรักษาผ่าตัดโดยการนำเส้นเลือดที่บริเวณขาด้านในมาต่อใช้เข้ากับเส้นเลือดแดงใหญ่ เพื่อให้สามารถนำเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนในนั้นได้ อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมที่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เหมาะสม อาทิ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ กินอาหารที่มีไขมันสูง อยู่ในภาวะตึงเครียด ขาดการออกกำลังกาย นอนหลับไม่เพียงพอ […]

error: