อนุทินสั่งยกระดับเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง เชื่อมาตรการโควิด ช่วยรับมือได้

Advertisement เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 ก.ค. 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข เป็นประธานประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมแนวทางรองรับโรคฝีดาษวานร หลังจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉิน ด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยเป็นการประชุมดำเนินการแบบคู่ขนานแบบออนไซต์และออนไลน์ Advertisement นายอนุทิน กล่าวว่า การเรียกประชุมด่วน สืบเนื่องจากองค์การอนามัยโลก ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉิน ด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา และก่อนหน้าที่องค์การอนามัยโลกจะประกาศ ประเทศไทยก็พบผู้ป่วยยืนยันรายแรก เป็นชาวไนจีเรีย ที่เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 และอยู่ในประเทศไทยแบบผิดกฎหมาย ซึ่งได้ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่ม สถานการณ์ยังปลอดภัย จึงมอบหมายให้ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศทั่วประเทศ ประสานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ให้ระมัดระวังผู้เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ แต่ยังไม่จำเป็นต้องประกาศห้ามผู้เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงแต่อย่างใด โดยวันที่ 25 […]

ราชกิจจาฯ ประกาศให้ โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2565 ประกาศดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคฝีดาษวานร หรือ โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังการป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป) ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (56) ของข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ.2562 “(56) […]

หมอผิวหนัง เผยข้อแตกต่างอาการ “ฝีดาษลิง” กับโรคอื่นๆ แนะ รีบพบแพทย์

หมอผิวหนัง เผยข้อแตกต่างอาการ ฝีดาษลิง กับโรคที่ขึ้นผื่นตุ่มอื่น ชี้ งูสวัด มักขึ้นตามแนวเส้นประสาท เริมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะที่ ทำให้แยกได้ วันที่ 9 มิ.ย.2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า อาการของโรคฝีดาษลิง พบว่า มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต นำมาก่อนตามด้วยอาการแสดงทางผิวหนัง ได้แก่ แผลในปากตามด้วย ผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ ที่อาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง และต่อมากลายเป็นตุ่มหนองแล้วจึงจะตกสะเก็ด โดยที่รอยโรคมีการเปลี่ยนแปลงพร้อม ๆ กันจำนวนรอยโรค อาจมีได้ตั้งแต่ 2-3 ตุ่ม จนถึงมากกว่า 100 ตุ่ม ด้าน พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผอ.สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า ความแตกต่างของโรคฝีดาษลิง และโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอื่น ๆ ที่พบรอยโรคเป็นตุ่มน้ำ คือ […]

ไทยยังไม่พบผู้ป่วยฝีดาษลิง แต่เข้าข่ายเฝ้าระวังแล้ว3ราย

กรมควบคุมโรค เฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงเข้ม หลังพบผู้ป่วยเข้าข่ายต้องสงสัยต้องเฝ้าระวัง แต่ตรวจเชื้อเบื้องต้นยังไม่ใช่ ฝีดาษลิง เตรียมแถลงชัด เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โรคฝีดาษลิง(Monkeypox) ในประเทศไทย ว่า ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในไทย มีเพียงผู้เข้าข่ายสงสัยแต่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยืนยันว่าไม่ใช่โรคฝีดาษลิง โดยเป็นการติดเชื้อเริม ขณะนี้อยู่ระหว่างพักรักษาอาการผื่นที่สถาบันบำราศนราดูร คาดว่าจะกลับบ้านได้ใน 1-2 วัน “ตอนนี้มีเข้าข่ายสงสัย 3 รายนี้ แต่ผลออกมาว่าไม่ใช่ ซึ่งพรุ่งนี้ทางกองระบาดวิทยาจะแถลงข้อมูลอีกครั้ง” นพ.โอภาสกล่าว นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศมีการคัดกรองและให้ความรู้กับผู้เดินทาง เนื่องจากโรคนี้จะเห็นอาการชัดคือตอนมีผื่น ตุ่ม เมื่อพบก็ต้องสอบสวนโรค อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า การติดเชื้อไม่ง่ายเหมือนโรคโควิด-19 เพราะต้องสัมผัสใกล้ชิดจริงๆ คาดว่าจะไม่ก่อปัญหาแต่เราจะไม่ประมาท เพราะเราเปิดประเทศแล้ว มีคนเข้าคนออกมา ฉะนั้นผู้ที่สงสัยก็ให้รีบพบแพทย์ทันที   ข่าวจาก : ข่าวสด

“ฝีดาษลิง” ระบาดแล้ว 11ประเทศ ชี้วัคซีนไข้ทรพิษ ป้องกันได้

รู้จัก ‘ฝีดาษลิง’ หลังระบาดแล้ว 11 ประเทศ ชี้วัคซีนไข้ทรพิษป้องกันได้ เป็นที่จับตาของคนทั่วโลก สำหรับโรค ฝีดาษลิง หลังจากพบเจอผู้ป่วยที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ก่อนพบผู้ติดเชื้อในสหรัฐ แคนาดา และประเทศอื่นๆ ของยุโรป กระทั่งมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 ราย ในยุโรป ล่าสุด องค์การอนามัยโลกได้จัดประชุมฉุกเฉิน เพื่อหารือเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส “ฝีดาษลิง” สำหรับโรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ฝีดาษลิง เกิดจากไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus) เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง […]

แคนาดา-ยุโรปผวา ส่อติดเชื้อ “ฝีดาษลิง” หลายสิบคน-สหรัฐพบป่วยรายแรก

แคนาดา-ยุโรปผวา! – เอเอฟพี รายงานวันที่ 19 พ.ค. ถึงกระแสหวาดวิตกในแคนาดา หลังหน่วยงานสาธารณสุขแถลงว่าจะเร่งตรวจสอบผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ “ฝีดาษลิง” หลายสิบคน ขณะที่สเปนและโปรตุเกสระบุพบผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งและมีผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าอาจได้รับเชื้อมากกว่า 40 คน ส่วนอังกฤษซึ่งรายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา ระบุมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 2 คน รวมยอดสะสมอยู่ที่ 9 คน และสหรัฐอเมริกาเพิ่งแถลงเจอผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงเป็นคนแรกเมื่อวันพุธที่ 18 พ.ค.ตามเวลาท้องถิ่น เป็นชายที่อาศัยอยู่ในรัฐแมสซาชูเซตส์ และตรวจพบเชื้อหลังเดินทางกลับจากแคนาดา องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงก่อนหน้านี้ว่ากำลังประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของอังกฤษและยุโรปเกี่ยวกับการระบาดของโรคฝีดาษลิง แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะฟื้นตัวและหายในไม่กี่สัปดาห์ แต่โรคฝีดาษลิงระบาดในแอฟริกา และพบได้ยากในยุโรป รวมถึงอเมริกาเหนือ “เราจำเป็นต้องเข้าใจถึงขอบเขตของโรคฝีดาษลิงในประเทศที่มีการระบาด เพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้คนในประเทศนั้นๆ ตลอดจนความเสี่ยงของการระบาดนอกประเทศ” เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกระบุ ทั้งนี้ โรคฝีดาษลิงหรือไข้ทรพิษลิง เกิดจากเชื้อไวรัสที่พบในสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ มีโอกาสติดต่อสู่คนแต่น้อยมาก ผ่านการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่เป็นโรค ลักษณะอาการคล้ายไข้ทรพิษแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า และผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้มีโอกาสเสียชีวิตระหว่างร้อยละ 1-10   ข่าวจาก : ข่าวสด

error: