เศรษฐกิจแย่ “ที่ดิน” ทำเลทองขายไม่ออก “แลนด์ลอร์ด”เร่งปิดดีลหนีภาษีแพง

Advertisement 26 ธันวาคม แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่าถึงแม้ราคาประเมินใหม่จะเริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2566 ทั่วประเทศจะปรับขึ้น 8.93% โดยกรุงเทพฯปรับขึ้น 2.69% และต่างจังหวัดปรับขึ้น 8.81% จะไม่ส่งผลต่อการตั้งราคาขายที่ดินเปล่า เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว หากตั้งราคาขายสูงจะทำให้ขายได้ลำบาก Advertisement ทั้งนี้จากที่คุยกับเจ้าของที่ดินรายหนึ่ง ซึ่งมีที่ดิน 1 แปลงย่านพระราม 9 เนื้อที่ 43 ไร่ อยู่ในแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม เมื่อก่อนตั้งราคาขาย 650,000 -700,000 บาทต่อตารางวา(ตร.ว.) รวม 43 ไร่ อยู่ที่กว่า 11,000 ล้านบาท ล่าสุดลดราคาเหลือ 10,000 ล้านบาทหรือ 600,000 บาทต่อตร.ว. โดยเจ้าของที่ดินรับภาระค่าใช้จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมถึงค่าโอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วย แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากนี้เจ้าของที่ดินรายดังกล่าวยังมีที่ดินอีก 2 แปลงใหญ่ที่พัทยา 1,400 ไร่ ใกล้สถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งราคาขาย 7,000 ล้านบาทหรือไร่ละ […]

“คลัง” เบรก “ชัชชาติ” รีดภาษีที่ดิน15เท่า ปม“แลนด์ลอร์ด”ปลูกกล้วย

26 กันยายน ที่ผ่านมา คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ได้พิจารณากรณีกรุงเทพมหานคร(กทม.) จะปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทที่ดินเกษตรกรรมแยกย่อยตามโซนผังเมืองรวม ได้แก่ โซนสีแดงที่ดินประเภทพาณิชยกรรม โซนสีน้ำตาลที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก โซนสีม่วงที่ดินประเภทอุตสาหกรรม และโซนสีเม็ดมะปรางที่ดินประเภทคลังสินค้า ในกรณีเจ้าของนำที่ดินมาปลูกกล้วย มะม่วง มะนาว เพื่อให้เข้าเกณฑ์เกษตรกรรมตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะปรับอัตราเพิ่มจากปัจจุบันเก็บในอัตรา 0.01-0.1% เป็นเก็บเต็มเพดาน 0.15% หรือจากล้านละ 100 บาท เป็นล้านละ 1,500 บาท ในเบื้องต้นน่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากคณะกรรมการฯ มองว่าเป็นการเก็บภาษีประเภทใหม่ อาจจะขัดกับ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน ซึ่งกำหนดให้เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใน 4 ประเภท ได้แก่ ที่ดินเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ และที่ดินรกร้างว่างเปล่า อีกทั้งจะทำให้เกิดความลักลั่นของแต่ละพื้นที่ได้ อย่างไรก็ตามหาก กทม. ต้องการจะเดินหน้าต่อ ก็สามารถส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา เพื่อให้ตีความว่าสามารถทำได้หรือไม่ หรือกทม.จะปรับอัตราจัดเก็บเพิ่มแบบเป็นขั้นบันไดก็ได้ เพราะกฎหมายสามารถให้ท้องถิ่นทำได้อยู่แล้ว เช่น ปัจจุบันเก็บในอัตรา 0.01-0.1% อาจจะปรับเป็น 0.02-0.15% […]

error: