ราชบัณฑิต ยอมรับสะกดคำว่า’แซว’ ผิดมา 7 ปี ชี้คำที่ถูกต้องคือ ‘แซว’ ยกเลิกสะกดว่า’แซ็ว’

Advertisement   Advertisement ราชบัณฑิต ยอมรับเขียนคำว่า “แซว” ผิด ระบุ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เก็บคำว่า “แซว” ที่เป็นภาษาปากมีความหมายว่า “กระเซ้า” ไว้ และพิมพ์คำผิดเป็น “แซ็ว” วันนี้ (19 มี.ค.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก ราชบัณฑิตยสภา ได้โพสต์ข้อความว่า เกี่ยวกับการเขียนคำว่า “แซว”, “คะ”, “ค่ะ”, “นะคะ” โดยระบุว่า การพูดจาภาษาไทยนอกจากการใช้เลือกใช้ถ้อยคำวาจาที่สุภาพสื่อความเข้าใจระหว่างกันได้ชัดเจนแล้ว ควรมีหางเสียงที่จะทำให้ถ้อยวาจาที่กล่าวออกไปดูนุ่มนวล น่าฟัง ทั้งหางเสียงหรือกระแสเสียงลงท้ายยังแสดงหรือสะท้อนนิสัย อารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูดด้วย หากพูดจาไม่มีหางเสียงอาจทำให้ถ้อยวาจาที่กล่าวออกไปนั้นฟังดูห้วน กระด้าง และอาจระคายหูผู้ฟัง การพูดจาที่สุภาพนอกจากจะขึ้นอยู่กับการเลือกสรรถ้อยคำที่ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะแล้ว ควรใช้คำลงท้ายที่แสดงความสุภาพควบคู่ไปด้วยทั้งชายและหญิง เช่น ผู้ชายใช้คำลงท้ายที่แสดงความสุภาพ ว่า ครับ, นะครับ ผู้หญิงใช้ คะ, ค่ะ, นะคะ ปัจจุบันการเขียนคำลงท้ายแสดงความสุภาพที่ผู้ชายใช้ไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ค่อนข้างจะสับสน เช่น […]

error: