หมอ เตือนเลือดกรุ๊ปนี้ ห้ามสักคิ้วเด็ดขาด จากสวยอาจกลายเป็นสยอง

Advertisement Tiktok “doctor_chow” ของหมอเชาว์ ได้เผยว่า “กรุ๊ปเลือดที่เป็นแผลเป็นง่าย” นั่นคือ กรุ๊ปเลือดเอ มีงานวิจัยเคยศึกษาสาเหตุของการเกิดแผลคีลอยด์ และกรุ๊ปเลือดเอก็มีโอกาสจะเป็นแผลเป็นมากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่นๆ สาเหตุเพราะคนเลือดกรุ๊ปเอมี สารแอนติเจนเอมากกว่าคนอื่น และสารแอนติเจนเอนี้ส่งผลให้เกิดแผลเป็นได้ง่าย Advertisement ทั้งนี้โอาสการเป็นแผลคีลอยด์ ก็สามารถส่งต่อจากทางพันธุกรรมได้ด้วย หากมีญาติหรือคนในครอบครัว โดนของมีคมบาดละเป็นแผลนูน เราก็สิทธิได้รับพันธุกรรมแผลคีลอยด์มาด้วย Advertisement แผลคีลอยด์มักจะเกิดในผู้ป่วยที่มีผิวสีเข้ม เช่น คนแอฟริกา และคนเอเชีย มีประวัติทางพันธุกรรม มีคนในครอบครัวเป็นแผลคีลอยด์ได้ง่าย หรือบางคนเกิดแผลคีลอยด์ตั้งแต่วัยเด็ก จะมีแนวโน้มการเกิดแผลคีลอยด์ง่ายในอนาคต จากสาเหตุเล่านี้คนมีโอกาศเป็นแผลคีลอยด์ จึงควรเลี่ยงการเป็นแผลแนวตรงเพราะแผลจะหายได้ง่าย และส่งผลให้เป็นแผลนูน ผู้ที่มีความเสี่ยงเลยไม่ควรไปสักคิ้ว หรือสักบริเวณหน้าเพราะเสี่ยงที่จะเป็นแผลนูน อาจทำให้หมดสวยได้   ข่าวจาก : workpointnews

สภากาชาด แจงคิดค่าบริการถุงละ 2.1 พันบาท ยันไม่ได้ขายโลหิตบริจาค

3 ธ.ค.2566 เพจ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคที่นำไปรักษาผู้ป่วยจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีค่าบริการที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในกระบวนการ จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ข้อความบิดเบือนจากความเป็นจริงในประเด็น เรื่อง สภากาชาดเปิดรับบริจาคเลือดฟรีแต่ รพ.รัฐ คิดค่าบริการถุงละ 2,100 บาท ทั้งนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยไม่ได้จำหน่ายโลหิตบริจาค แต่มีการคิดค่าบริการตามต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมโลหิตให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล เพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ต้องรับโลหิตในการรักษา โดยกำหนดค่าบริการโลหิตให้โรงพยาบาลเป็นอัตราเดียวกันทุกโรงพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชน มีการใช้อัตราค่าบริการจากกรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ โรงพยาบาลจะมีการคิดค่าใช้จ่ายตามต้นทุนในการจัดเตรียมโลหิตให้กับผู้ป่วยเพิ่มเติม ตามอัตราที่แต่ละโรงพยาบาลกำหนด -ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ให้บริการโลหิตและส่วนประกอบโลหิตแก่โรงพยาบาล เพื่อใช้รักษาผู้ป่วย โดยไม่ได้จำหน่ายหรือคิดค่าโลหิต ซึ่งได้รับจากการบริจาคโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนของผู้บริจาคโลหิตทั่วประเทศ เพื่อให้การซื้อขายโลหิตในประเทศหมดไป ตามหลักการขององค์การอนามัยโลกและหลักการกาชาดสากล ตามปณิธาน ที่สภากาชาดไทยเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ทั้งนี้ โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคที่นำไปรักษาผู้ป่วยจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีค่าบริการที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในกระบวนการ ดังนี้ 1. ค่าเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ในการรับบริจาคโลหิต เช่น ถุงบรรจุโลหิต หลอดเก็บตัวอย่างโลหิต น้ำยาตรวจค่าความเข้มข้นเลือด น้ำยาตรวจหมู่เลือด เป็นต้น 2. ค่าใช้จ่ายการผลิตส่วนประกอบโลหิต ในการปั่นแยกโลหิตให้เป็นส่วนประกอบโลหิตชนิดต่างๆ ได้แก่ […]

error: