รอง ผบ.ตร.เล็งเปลี่ยนเสื้อสะท้อนแสงสายตรวจทั่วประเทศ ให้มองเห็นชัด สีเป็นมิตร

Advertisement 1 มกราคม พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) รับผิดชอบงานป้องกันและปราบปราม เปิดเผยว่าจากการสำรวจเรื่องเครื่องแบบตำรวจสายตรวจของสถานีตำรวจและหน่วยงานตำรวจที่เกี่ยวข้องพบว่าปัจจุบันเสื้อสะท้อนแสงที่ตำรวจสวมใส่ทับเครื่องแบบตำรวจอยู่ของแต่ละสถานีนั้นไม่เหมือนกัน บางแห่งใช้แทบสีเทา บางแห่งสีแดง และบางแห่งใช้สีเหลือง หรือแม้แต่ตำรวจที่สังกัดสถานีเดียวกันก็ยังใช้สีเสื้อสะท้อนแสงของตำรวจสายตรวจแตกต่างกันไป ซึ่งอาจจะดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและอาจจะทำให้ชาวบ้านสับสนในขณะออกตรวจพื้นที่ Advertisement พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กล่าวว่าจากกรณีดังกล่าวทำให้มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนให้เสื้อสะท้อนแสงของตำรวจสายตรวจเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันเหมือนกันหมดทั่วประเทศภายในปี 2566 จึงให้ทีมงานวิเคราะห์ปัญหาและสภาพความเป็นไปได้ โดยอ้างอิงจากผลวิจัยทั้งในและต่างประเทศ จนได้ข้อสรุปว่าเสื้อสะท้อนแสงที่สวมทับเครื่องแบบตำรวจขณะออกตรวจนั้นควรใช้แถบสีเขียวอมเหลืองคาดทับบนแจ็ตเก็ตสั้นแขนกุดสีดำ ซึ่งจะใช้โมเดลของตำรวจสายตรวจประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เนื่องจากผลการวิจัยพบว่าสีเขียวอมเหลืองสะท้อนแสงสามารถมองเห็นได้ไกลถึง 500 เมตรในทัศนวิสัยปกติ และมองเห็นได้ 300 เมตรขณะฝนตกหรือมีหมอก ขณะเดียวกันสีดังกล่าวยังเป็นสีที่เป็นมิตรต่อประชาชน เมื่อชาวบ้านมองแล้วจะทำให้ตำรวจไม่รู้สึกเป็นศัตรูหรือฝั่งตรงข้าม Advertisement รองผบ.ตร. กล่าวอีกว่าขณะนี้กำลังสำรวจจำนวนตำรวจที่ต้องสวมใส่เพื่อจัดทำภายในปีงบประมาณนี้ โดยจะใช้ผ้าที่เหมาะกับสภาพอากาศของเมืองไทยซึ่งมีอากาศร้อน อย่างไรก็ตามจะคำนึงถึงงบประมาณเป็นหลักโดยจะทยอยจัดทำและจัดทำต้นแบบก่อนที่จะแจกจ่ายไปยังสถานีตำรวจทั้งประเทศ และอยู่ระหว่างพิจารณาว่าอาจจะต้องมีพื้นที่เป้าหมายเป็นสถานีตำรวจเพื่อทดลองสวมใส่ และะออกตรวจตราทำงานจริงจากนั้นจะผลิตออกแจกจ่ายต่อไป พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กล่าวว่า พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยังสั่งการให้ ตนสำรวจความเป็นไปได้ที่จะให้ตำรวจสายตรวจมีปืนไฟฟ้าไว้ในความครอบครอง ซึ่งอาจจะไม่ได้มีทุกคน แต่มีเฉพาะตำรวจที่กำลังออกปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะของปืนที่เป็นส่วนกลางประจำสถานีตำรวจ เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งตัวตำรวจเองและชาวบ้านหรือเหยื่อในขณะเข้าจับกุมหรือสกัดจับคนร้าย เช่น กรณีคนร้ายเสพยาเสพติดจนคลุ้มคลั่งและอาละวาด ซึ่งพบได้บ่อยทั้งในชุมชนเมืองหรือในชนบท เป็นต้น ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาประเภทและการใช้งานให้เหมาะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองไทยมากที่สุด โดยคาดว่าจะแจกจ่ายให้ประจำสถานีตำรวจทั่วประเทศสถานีละ 2 […]

error: