นักกฎหมายชี้ “เคร้อยล้าน” คนดูแลเสี่ยงผิดอาญา-ผู้เสียหายฟ้องแพ่งได้

Advertisement จากกรณีของนายคเณศพิศณุเทพ จักรภพมหาเดชา หรือที่รู้จักในฉายา “เค ร้อยล้าน” บุกป่วนงานสัปดาห์หนังสือใกล้บูธ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” พร้อมตะโกนมีระเบิด จนคนมาร่วมงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แตกตื่นวิ่งหนีชุลมุน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เค ร้อยล้าน มีพฤติกรรมก่อความวุ่นวายในที่สาธารณะ Advertisement นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอสว่า สำหรับประชาชนทั่วไป หากพบเห็นคนจิตไม่ปกติ หรือคาดว่าจะมีอันตรายต่อผู้อื่น สามารถแจ้งตำรวจหรือเจ้าหน้าที่กรมสุขภาพจิต หรือฝ่ายปกครองได้ทันที เพื่อให้นำตัวบุคคลดังกล่าวไปบำบัดรักษา ให้เกิดความปลอดภัยในสังคม ประชาชนมีสิทธิแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อนำตัวคนจิตไม่ปกติ หรือคาดว่าจะมีอันตรายต่อผู้อื่นไปบำบัด ทำนองเดียวกับกฎหมายยาเสพติด Advertisement ด้านครอบครัวหรือบุคคลที่ดูแลคนจิตไม่ปกตินั้น มีกฎหมายควบคุมอยู่ด้วยเช่นกัน ตามมาตรา 373 ป.วิอาญา “ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตนั้นออกเที่ยว ไปโดยลำพัง” ทั้งนี้ หากครอบครัวรับรองว่าจะนำคนจิตไม่ปกติไปดูแล แต่ปล่อยให้ไปทำอันตรายหรือก่อเหตุสร้างความวุ่นวาย ผู้ได้รับความเสียหายมีสิทธิในการดำเนินคดี โดยอาจฟ้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายได้ และความผิดทางอาญา ตามมาตรา 373 นายโกศลวัฒน์ ย้ำว่า สิ่งสำคัญคือ เมื่อพบผู้มีจิตผิดปกติ ไม่ควรเพิกเฉย ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายทันที หากเจ้าตัวหรือครอบครัวไม่ยินยอมเข้าสู่การบำบัดรักษา ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้เข้ารับการบำบัด […]

จิตแพทย์แจงปม “เค ร้อยล้าน” ถ้าป่วยจิตก่อเหตุรุนแรง รอดคดีมั้ย แนะแนวทางเช็ก

จากกรณีนายคเณศ พิศณุเทพ หรือ เค ร้อยล้าน จักรภพมหาเดชา บุกล็อกคอ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ซึ่งเดิมนายคเณศ มีประวัติเป็นผู้ป่วยอารมณ์แปรปรวน จนสร้างความกังวลให้กับผู้ที่อยู่ภายในงาน และเกิดข้อคำถามจากสังคมว่าบุคคลที่มีอาการทางจิตนั้นจะได้รับการดำเนินการต่อไปอย่างไร เมื่อวันที่ 24 ต.ค. นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ก.ย. มีผู้ป่วยจิตเวชก่อความรุนแรง 3,815 ราย จำนวนนี้ก่อเหตุรุนแรงซ้ำ 510 ราย ทั้งหมดเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา แต่สิ่งสำคัญคือการช่วยกันเป็นหูเป็นตาสังเกต พฤติกรรมบุคคลที่จะนำมาซึ่งความรุนแรง ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต กำหนดให้บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตที่มีภาวะอันตราย หรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ใดพบบุคคลมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีลักษณะดังกล่าวให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจโดยไม่ชักช้า และให้นำผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตส่งสถานพยาบาล เพื่อให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยอาการ “ขอวอนสังคมให้ความสนใจเรื่องปัญหาด้านสุขภาพจิต ตระหนักแต่ไม่ตระหนกจนเกินไป หากพบบุคคลแสดงอาการผิดปกติหรือมีอาการกำเริบ มีแนวโน้มความรุนแรงมากและเป็นอันตรายโทรแจ้งเหตุสายด่วนตำรวจ 191 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323” นพ.จุมภฏกล่าว […]

error: