เผยสิทธิประโยชน์ กรณีนายจ้างรับลูกจ้างอายุ60ปีขึ้นไปเข้าทำงาน

Advertisement สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีการจ้างลูกจ้างอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ว่า จะมีสิทธิประโยชน์ใดบ้าง และนายจ้างจะต้องยื่นเอกสารอย่างไรนั้น มีข้อมูลดังนี้ Advertisement 1.) เข้างานอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป นายจ้างต้องยื่นขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้ลูกจ้าง โดยยื่นแบบ สปส.1-03 และนายจ้าง “ไม่ต้องหักเงินสมทบจากค่าจ้าง” เนื่องจากลูกจ้างไม่ได้รับความคุ้มครองจากกองทุน แต่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทน กรณีดังกล่าว นายจ้างต้องนับรวมค่าจ้างตอนรายงานค่าจ้าง ตามแบบ กท.20 ก ด้วย * หมายเหตุ นายจ้างควรระบุที่แบบ สปส.1-03 ว่า “ลูกจ้างอายุ เกิน 60 ปี” เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้บันทึกแจ้งเข้าในระบบกองทุนเงินทดแทน (WCF) Advertisement 2.) กรณีลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนต่อเนื่อง ทำงานมาตลอดแล้วอายุเกิน 60 ปี ซึ่งมีการจ้างงานต่อเนื่อง ส่งผลให้ความเป็นผู้ประกันตนต่อเนื่อง ดังนั้นนายจ้างมีหน้าที่หักเงินสมทบ และนำส่งเงินสมทบต่อไปจนกว่าจะออกจากงาน ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองทั้งสองกองทุนต่อไปจนกว่าจะออกจากงาน (เมื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา39 ได้ภายใน 6 […]

เช็กสิทธิ “ประกันสังคม” อัปเดตเงื่อนไข รับเงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ

10 ก.ย.2565 – เฟซบุ๊กเพจ “สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน” โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม และบำเหน็จบำนาญชราภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ✔️เช็กสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่ออายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ มีดังนี้ 🌟บำเหน็จชราภาพ 🌟 👉 จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม 👉 จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตนและส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคม เพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี 🌟 บำนาญชราภาพ 🌟 👉 จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็น รายเดือนตลอดชีวิต คิดเป็นอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง(ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 👉 […]

error: