อุตุฯ เตือน ภาคเหนือ-ภาคกลาง 44 องศา กทม.แค่ 41 งดกิจกรรมที่โล่ง

Advertisement 29 เมษายน 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย Advertisement สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 40-44 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง […]

ไทยเตรียมเข้าฤดูฝน เดือน พ.ค. คาดมาช้ากว่าปกติ 1-2 สัปดาห์

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2567 โดยมีรายละเอียดว่า ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งจะช้ากว่าปกติ1 – 2 สัปดาห์และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนตุลาคม 2567 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้จะใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติและใกล้เคียงกับปีที่แล้ว (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝนปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 1 ส่วนปริมาณฝนรวมทั้งปีน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 6) ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (ตั้งแต่วันเริ่มต้นถึงเดือนกรกฎาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ ส่วนในช่วงครึ่งหลังฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึงปลายเดือนตุลาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5 อนึ่ง ในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝน มีน้อย และส่งผลให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้ำเพื่อประโยชน์สูงสุด ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูง ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ลักษณะอากาศทั่วไป ช่วงประมาณปลายเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนมิถุนายน บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกชุกเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ กับจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง เว้นแต่ บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก […]

กรมอุตุฯ ประกาศ ฉบับ14 ไทยหนาวต่อเนื่อง อุณหภูมิต่ำสุด 4 องศา ใต้ยังฝนตกหนัก

ประกาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 14 เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย ฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย มีผลกระทบจนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2566 ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็น กำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทย และทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคง มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมี อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง รวมถึงให้ระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรง สำหรับมสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับ หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณเกาะสุมาตราและทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 […]

กอนช.เตือนทั่วประเทศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 5-10ก.ย.นี้

3 กันยายน นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า กอนช.ออกประกาศ ฉบับที่ 17/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดย กอนช.ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ทั้งนี้ กอนช.ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ในช่วงวันที่ 5-10 กันยายน 2566 ดังนี้ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ อำเภออมก๋อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก อำเภอท่าสองยาง อุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ จังหวัดแพร่ อำเภอร้องกวาง จังหวัดน่าน อำเภอปัว บ่อเกลือ เชียงกลาง […]

อุตุฯ เตือน 34จังหวัดเจอฝนแน่ กทม.-ปริมณฑลฝนร้อยละ60 ตั้งแต่บ่ายถึงค่ำ

23 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยเวลา 06.00 น. วันนี้ ถึงเวลา 06.00 น. วันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด […]

กรมอุตุฯ เตือนฝนตกหนักถึงหนักมาก 30ก.ค.-3ส.ค. วันนี้เริ่ม 28จังหวัด

30 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 2 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค.-3 ส.ค.2566) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ 30 กรกฎาคม 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี และ ราชบุรี ภาคตะวันออก: […]

อุตุฯ เตือนวันนี้ 45 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง 60-80 % กทม.โดนด้วย

18 ก.ค. 2566 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ภาคเหนือ : มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ […]

สภาพอากาศ10วันข้างหน้า ลมเริ่มแปรปรวน เตรียมเข้าสู่ฤดูร้อน

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 2-11 มี.ค.66 อัปเดตจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป มวลอากาศเย็นยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่เริ่มมีกำลังอ่อนลงทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มีอากาศเย็นตอนเช้า ยอดดอย ยอดภู ยังมีอากาศหนาว กลางวันอากาศร้อน(ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย) ระยะนี้ไม่มีฝน ทิศทางลมเริ่มแปรปรวนเป็นลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ พัดแทนที่ลมหนาว เป็นสัญญาณการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูร้อน ฤดูหนาวปีนี้กำลังจะสิ้นสุดลง ต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพ ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ระยะนี้อากาศแห้ง ระวังอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย ลมอ่อนลง การสะสมของฝุ่นก็เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนภาคใต้ตอนล่างจะยังมีฝนตกบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณ จ.สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส คลื่นลมยังแรง พี่น้องชาวเรือ ชาวประมง เดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากมีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือยังพัดปกคลุม

ยังไม่หมดหนาว! อุตุฯ เผยกลางเดือนก.พ. อีสานลดถึง 5 องศา

9 ก.พ.66 เพจ พยากรณ์อากาศประเทศไทย เผยถึงสภาพอากาศในช่วงนี้ โดยระบุว่า “อีสานเตรียมเย็นลงประมาณ 4-5 องศา” “เริ่มทยอยเย็นลง 15 ก.พ. โดยเริ่มชัดเจนบริเวณขวาบน” ! “16 ก.พ. การเย็นลงแผ่คลุมอีสาน” ! จากรูปบริเวณอีสานจะเห็น สีส้มกลายเป็น เหลืองและเขียววันที่ 15 ก.พ. และส่วนใหญ่กลายเป็นเขียววันที่ 16 ก.พ. รูปนี้แสดงพยากรณ์อุณหภูมิจริงวันที่ 10-16 ก.พ. เวลา 07.00 น. โดยแบ่งสีเป็น 8 ช่วง ดังนี้ พยากรณ์อุณหภูมิต่ำสุดโดยประมาณ 10-16 ก.พ. ดังนี้ กรุงเทพฯ 26.1, 25.9, 25.9, 25.8, 26.1, 26.1, 25.1 องศา อยุธยา 25.1, 24.9, 25.0, 24.9, 24.9, […]

อุตุฯ เตือน 6-11ก.พ.นี้ อุณหภูมิลดลง-ฝนตกถล่มทั่วไทย

5 กุมภาพันธ์ 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศในช่วงวันที่ 6-11 กุมภาพันธ์ 2566 ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก บริเวณภาคใต้มีฝนลดลง ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 6-11 กุมภาพันธ์ 2566 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2-6 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 13-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-15 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 6-11 กุมภาพันธ์ 2566 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด […]

1 2
error: