กรมอนามัยเผย “ปลาร้า” โภชนาการมาก แต่โซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง

Advertisement ‘ปลาร้า’โภชนาการมาก แต่โซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง ไม่ควรกินเกิน 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน กรมอนามัยย้ำเลือกซื้อปลาร้า ที่มี อย. จากแหล่งที่เชื่อถือได้ กินต้องปรุงสุก ​ เมื่อวันที่ 13 พ.ค. นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงกรณีสำนักพระบิดามีการผลิตปลาร้าบอง น้ำปลาร้า ไม่ได้มาตรฐานและนำไปขาย ทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลต่ออาหารประเภทนี้ ว่า การเลือกซื้อปลาร้าต้องต้มสุก สะอาด มีแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ กรณีซื้อแบบบรรจุขวดควรดูเลขสารบบอาหาร หรือดลข อย. หากซื้อแบบไม่บรรจุขวด ควรดูว่ามีสิ่งเจือปน สีและกลิ่นผิดแปลกจากที่เคยกินหรือไม่ โดยเลือกซื้อจากสถานที่จำหน่ายที่น่าเชื่อถือและคุ้นเคย และก่อนบริโภคทุกครั้งควรนำไปทำให้สุก ปรุงด้วยความร้อนอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที เพื่อลดความเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ สำหรับผู้ประกอบการควรคำนึงถึงความสะอาดและปลอดภัย เลือกวัตถุดิบหรือปลาที่มีคุณภาพ มีระยะเวลาในการหมักที่เหมาะสม หากเป็นปลาส้มให้หมักนานมากกว่า 3 วัน ส่วนปลาร้าให้หมักนานมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป กระบวนการผลิตต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่สะอาด มีมาตรฐาน และมาตรการป้องกันการปนเปื้อน น้ำที่ใช้ในการผลิตต้องมีคุณภาพน้ำดื่มตามมาตรฐานของกรมอนามัย […]

ราชกิจจาฯประกาศกำหนด‘มาตรฐานปลาร้า’ กลิ่นต้องหอม-ไม่เหม็นอับ-ไร้พยาธิ

  เมื่อวันที่ 17 เมษายน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดมาตรฐานสินค้า : ปลาร้าตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 โดยระบุว่าด้วยคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นสมควรกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องปลาร้าเป็นมาตรฐานทั่วไปตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร 2551 เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 15 และมาตรา 16 แห่งพ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 ประกอบมติคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ในการประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2561 รมว.เกษตรและสหกรณ์จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ปลาร้า มกษ. 7023-2561 ไว้เป็นมาตรฐานทั่วไป สำหรับเนื้อหาในประกาศเกี่ยวกับปลาร้าระบุตั้งแต่คำอธิบาย กระบวนการผลิต ส่วนประกอบและเกณฑ์คุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะทางกายภาพที่ต้องคลุกเคล้ากันพอดี ไม่แห้งหรือเละเกินไป เนื้อปลานุ่ม หนังไม่ฉีกขาด มีสีตามลักษณะเฉพาะของเนื้อปลา กลิ่นหอมตามลักษณะเฉพาะของปลาร้า ไม่มีกลิ่นคาว เหม็นอับ เหม็นเปรี้ยว เมื่อวันที่ 17 เมษายน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดมาตรฐานสินค้า […]

error: