“วิษณุ” ขอบคุณ “ภูมิธรรม” ที่ยังนึกถึงทาบทาม คกก.ประชามติ ปฏิเสธนิ่มๆ ไม่ขอนั่งอีก พ้นมาแล้ว

Advertisement 24 ก.ย. นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อยากทาบทามมาร่วมคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ ว่า ขอบพระคุณมากที่ยังนึกถึง แต่ท่านอาจจะไม่นึกถึงก็ได้ แต่มีสื่อฯ ไปถามนำท่านก่อน แต่ก็ขอบคุณที่นึกถึง ซึ่งงานที่ทำเป็นงานใหญ่ ใช้เวลาและยุ่งยาก ข้อสำคัญอยู่กับความเห็นที่แตกต่าง ที่อาจจะเกิดความขัดแย้ง Advertisement “ผมพ้นออกมาจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกลับไปเป็นบุคคลสาธารณะอีก เพราะการไปทำงานนี้ คือไปเป็นบุคคลสาธารณะอย่างยิ่ง ทุกวันนี้ก็สบายอกสบายใจอยู่แล้ว” นายวิษณุ กล่าว… เมื่อถามว่า หากมาขอคำแนะนำเป็นบางครั้งบางคราว นายวิษณุ กล่าวว่า ด้วยความยินดี ซึ่งที่ผ่านมาก็มีอยู่บ้างคือรัฐมนตรีหน้าเก่าๆ ที่เคยอยู่ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งคุ้นเคยกันอยู่ ท่านก็โทรมาถามแบบที่สื่อฯ สอบถามว่า สมัยนั้นสมัยนี้เป็นอย่างไร แต่ไม่ถามว่า ควรจะอย่างไร เพราะท่านตัดสินใจเองได้ และถามเรื่องในอดีต อาทิ มติ ครม.เก่าๆ ซึ่งก็มีคนโทรมาถามบ่อยๆ ทุกวัน นายวิษณุ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เรื่องนี้ตอบไม่ถูก แต่ให้เขาคิดกันเอง เพราะว่ายุ่งยากซับซ้อน ข้อสำคัญหากจะใช้วิธีไหนก็ตาม ก็ควรจะหลบหลีกการทำประชามติหลายครั้ง […]

กกต.แจงข้อกฎหมาย “6หลักเกณฑ์” เข้าชื่อเสนอ ครม.ออกเสียงทำ “ประชามติ”

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งออกเอกสารข่าวเผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำประชามติ เนื้อหาระบุว่า ด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 มาตรา 9 (5) กำหนดการออกเสียงประชามติกรณีประชาชนเข้าชื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบในการออกเสียงประชามติ กกต. จึงได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกรณีดังกล่าว ดังนี้ 1. ต้องมีจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 50,000 คน ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติ ไม่มีลักษณะต้องห้าม และไม่ถูกจำกัดสิทธิตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 2. จัดทำหนังสือกรณีประชาชนเข้าชื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ความเห็นชอบในการออกเสียงต้องมีเนื้อหาที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าประสงค์จะออกเสียงในเรื่องใดและเรื่องนั้นมิใช่เรื่องที่ต้องห้ามมิให้ออกเสียงตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 3. รายชื่อผู้มีสิทธิเข้าชื่อ ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขประจำตัวประชาชน ชื่อ ชื่อสกุล และลายมือชื่อของผู้มีสิทธิเข้าชื่อทุกคน พร้อมทั้งจัดทำรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าชื่อในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ใส่แผ่นบันทึกข้อมูล หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบพกพา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขประจำตัวประชาชน ชื่อ ชื่อสกุล ของผู้มีสิทธิเข้าชื่อทุกคน 4.ผู้แทนของผู้มีสิทธิเข้าชื่อยื่นเอกสารและข้อมูลด้วยตนเองต่อสำนักงานกกต.ส่วนกลาง หรือสำนักงานกกต. ประจำจังหวัด หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ E-mail : [email protected] 5. เมื่อสำนักงาน กกต. ได้รับเอกสารและข้อมูลแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดในหนังสือการเข้าชื่อเสนอต่อครม. เพื่อให้ความเห็นชอบในการออกเสียง ว่าถูกต้องตามแบบที่กำหนดหรือไม่ และตรวจสอบจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อว่าครบถ้วนหรือไม่ ให้แล้วเสร็จภายใน […]

error: