กกต.แจงใช้บัตรเลือกตั้งเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่สับสนแน่นอน

Advertisement 1 เม.ย. นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข (เบอร์ ) เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น โดยรูปแบบบัตรเลือกตั้ง นับแต่มีการเลือกตั้งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ บัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ Advertisement 1.บัตรที่มีเฉพาะหมายเลข(เบอร์)ผู้สมัคร หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบัตรโหล จะไม่มีรายชื่อผู้สมัครแต่อย่างใด ทุกการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยใช้บัตรเลือกตั้งแบบนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่มีเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือมีการเลือกตั้งแบบบัญชีราบชื่อ หลังปี 2540 ก็ตาม หมายความว่า ไม่เคยมีชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งแต่อย่างใด 2.บัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อ คือ บัตรที่มีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง […]

รัฐสภาเห็นชอบให้มีส.ส.เขต400คน ปาตี้ลิสต์100คน บัตรเลือกตั้ง2ใบ

รัฐสภา เห็นชอบให้มีส.ส.เขต 400 คน ปาตี้ลิสต์ 100 คน บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จากนั้นนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานกมธ.ฯชี้แจงว่า ยืนยันว่ากมธ.ฯ ได้ดำเนินการตามรัฐธรมนูญและข้อบังคับทุกประการ เราหวังว่าถ้ารัฐธรรมนญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบ ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะถอดสลักทางการเมืองและเป็นไปตามเป้าหมาย และคิดว่าระบบการเลือกตั้งที่เสนอเป็นระบบที่ดีไม่สลับซับซ้อน ไม่นำไปสู่ ส.ส.ปัดเศษ​ บัตรเขย่ง จนนำไปสู่รัฐบาลที่ไม่เข้มแข็ง เราจะทำอย่างไรให้ระบบการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียวมาเป็นบัตรสองใบเพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งแบบบัตร2ใบเป็นการตอบโจทย์ที่ชัดเจน ที่ส่งเสริมเสรีภาพในการเลือกผู้แทนฯ ของประชาชน ที่เลือกได้ทั้งคนและพรรคและการเลือก คน 400 เขตไม่ได้สะท้อนว่าสนองตอบต่อผลประโยชน์หรือความเป็นอยู่ของประชาชน แต่ขณะนี้สังคมในชนบทเปลี่ยนแปลงไปมาก ประชาชนสามารถเลือกผู้แทนฯมามีบทบาททำงานในระดับชาติได้สูงขึ้น ขณะเดียวกันก็เปิดกว้าง สามารถเลือกชนเผ่า กลุ่มหลากหลายทางเพศ หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เข้ามาเป็นระบบบัญชีรายชื่อได้ ถ้าการเมืองตอบโจทย์เช่นนี้ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไปถอดสลักทางการเมืองว่าสมาชิกรัฐสภายอมรับความคิดเห็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป ด้านนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะกมธ.เสียงข้างมาก ชี้แจงว่า สำหรับระบบเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อกับส.ส.แบบเขต เราคำนึงตลอดว่าแม้จะ 100 คนต่อ 400 คน หรือที่มาต่างกัน […]

error: