แบงก์ชาติ ต้องเป็นอิสระ นโยบายแจก เงินหมื่น ขอฟังกฤษฎีกาก่อน

Advertisement 7 พ.ค. 67 ที่ทำเนียบรัฐบาล นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกระแสวิจารณ์ถึงความเป็นกลางของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติว่า Advertisement ทุกหน่วยงานต้องมีอิสระในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระ หรือหน่วยงานใดก็ตาม เราก็ต้องทำตามสิ่งที่เป็นประโยชน์กับชาติบ้านเมือง และทำตามนโยบายของรัฐบาล ตราบใดที่นโยบายนั้นเป็นนโยบายที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ และประชาชน หลักการมีแค่นี้ Advertisement นาย อนุทิน กล่าวต่อว่า ในฐานะพรรคร่วม ย้ำว่านโยบายของรัฐบาลอย่าง เงิน ดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท นั้น เป็นนโยบายหรือไม่ อยู่ในสมุดปกขาวใช่หรือไม่ ก็ถือเป็นนโยบายรัฐบาล คือการที่จะทำนโยบายนี้ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ แน่นอนจะต้องถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ถ้าหลักสำคัญเรื่องนี้ถูกพิสูจน์ได้ เช่นได้รับคำยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งถือเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลหรือจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสิ่งเหล่านี้ก็ต้องถือว่าพรรคร่วม ก็ต้องสนับสนุน ทั้งนี้ตนไม่ใช่นักกฎหมาย เราก็ต้องให้คนที่มีความชำนาญด้านกฎหมาย เป็นผู้ชี้แจงต่อรัฐบาล และประชาชน ในกรณีนี้รัฐบาลทุกรัฐบาล เรามีสำนักงานกฤษฎีกา ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นที่ปรึกษากฎหมายแห่งรัฐ […]

“แบงก์ชาติ” ส่งหนังสือถึง ครม. แนะทบทวน “ดิจิทัล วอลเล็ต”

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต 5 แสนล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เริ่มดำเนินโครงการได้นั้นมีหลายหน่วยงานที่ส่งความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม. นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดลงเลขที่ ธปท.ฝกม. 285 /2567 เรื่อง โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต ธปท.มีความห่วงใยและตั้งข้อสังเกตในโครงการดังนี้ 1.ความจำเป็นในการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของรัฐบาลควรทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ในขอบเขตที่ครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น (targeted) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 15 ล้านคน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณ 150,000 ล้านบาท เนื่องจากคนกลุ่มรายได้น้อยมีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อบริโภคสูงกว่ากลุ่มรายได้อื่น และมักซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศมากกว่าสินค้านำเข้า นอกจากนี้ควรพิจารณาดำเนินโครงการแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลังด้วย ทั้งนี้ ความจำเป็นที่จะกระตุ้นการบริโภคในวงกว้างมีไม่มาก โดยในปี 2566 การบริโภคภาคเอกชนของไทยขยายตัวได้ที่ […]

error: