‘อุเทนถวาย’ รวมพลใหญ่ ค้านย้ายสถาบัน

Advertisement ศิษย์เก่า นักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ ‘อุเทนถวาย’ หลายพันคน เดินเคลื่อนขบวนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก) เขตพื้นที่อุเทนถวาย ไปตามถนนพญาไท ใช้ 2 ช่องจราจรทางซ้าย มุ่งหน้า สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อยื่นหนังสือถึงอธิการบดี จุฬาฯ ขอแสดงเจตจำนงคัดค้านการย้ายเขตพื้นที่อุเทนถวาย Advertisement ในขบวนมีการใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัยประวัติความเป็นมาต่างๆ เกี่ยวกับจุฬาฯ อุเทนถวาย และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน) หลังยื่นหนังสือเสร็จสิ้น ขบวนดังกล่าวเดินทางต่อไป ที่กระทรวง อว. เรียกร้องให้ น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว. ออกมารับหนังสือด้วยตนเอง ขณะที่วันนี้ (27 ก.พ. 67) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ประกาศ Work From Home เพื่อลดการเผชิญหน้า ศาลปกครองสูงสุด ตัดสินให้อุเทนถวาย ย้ายออกจากพื้นที่จุฬาฯ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม […]

จุฬาฯ แจงดราม่า “อุโมงค์น้ำ” อีกรอบ รับให้โตโน่ใช้ฟรี มีเหตุผลกรณีพิเศษ

จากกรณี “โตโน่ ภาคิน” เข้าใช้บริการทดสอบสมรรถภาพร่างกายในอุโมงค์น้ำ ในคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทั่งเกิดเป็นดราม่าในโซเชียล วิพากษ์วิจารณ์ว่านิสิตยังแทบไม่ได้ใช้เพราะเครื่องราคาแพง ปกติไม่เปิดให้คนนอกใช้ ในกรณีนักร้องดังนี้มีการจ่ายค่าใช้บริการหรือไม่ ก่อนทางคณะจะออกมาชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า คนนอกเข้ามาใช้งาน “มีค่าใช้จ่าย” ทั้งยังเผยเอกสารขอความอนุเคราะห์จากโครงการ ซึ่งคณะได้เซ็นอนุมัติใช้พร้อมระบุว่าให้จ่ายตามระเบียบ ทว่าชาวเน็ตยังคงวิพากษ์ต่อว่า แล้วเหตุใด นักร้องดังจึงได้โพสต์ขอบคุณตอนหนึ่งว่า “..คุณหมอ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์ มีน้ำใจและน่ารักมากๆ ไม่คิดค่าใช้จ่ายการทดสอบสมรรถภาพผมสักบาท” ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม เฟซบุ๊กคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวอีกครั้ง หลังก่อนหน้านี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้โพสต์ชี้แจงไว้ ก่อนลบในเวลาต่อมา (อ่าน) สำหรับการชี้แจงครั้งนี้ ระบุว่า เรียนประชาคมชาววิทยาศาสตร์การกีฬา​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกท่าน ตามที่มีกระแสสื่อโซเชียลเกี่ยวกับอุโมงค์​น้ำ (Water Fume) ของคณะในตอนนี้ ขออนุญาต​ชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้ 1.อุโมงค์น้ำได้นำมาใช้กับนิสิตและการเรียนสอนหรือไม่ “ได้ใช้” อุโมงค์​น้ำมีการติดตั้งตั้งแต่ พ.ศ.2560 มีการใช้งานด้านการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา และนิสิตที่สนใจทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพทางการกีฬา ก็มีการใช้อุโมงค์น้ำมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังมีการใช้เพื่อการวิจัยและการบริการวิชาการ ได้แก่ใช้ในการฝึกซ้อมให้แก่นักกีฬา นักกีฬาทีมชาติ เป็นต้น ในระดับปริญญาตรี […]

14 อาจารย์นิติ จุฬาฯ ทำบันทึกถึงคณบดี อนุมัตินิสิตมีเสรีภาพในการแต่งกายเข้าเรียน

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า การเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพ หรือไม่อย่างไรนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับ เครื่องแบบนิสิต แต่อย่างใด นิสิตพึงมีเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ ในการที่จะเลือกแต่งกายเข้าเรียนได้ ดังนั้น คณาจารย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งสิ้น 14 คน รวมตนด้วย จึงร่วมกันทำบันทึกข้อความอนุญาตให้นิสิตระดับปริญญาตรีเลือกแต่งกายด้วยชุดเครื่องแบบปกติ หรือชุดสุภาพเข้าห้องเรียนในรายวิชาที่บรรยายได้ “ทั้งนี้ วิชาที่ผมรับผิดชอบบรรยายสำหรับชั้นปริญญาตรีนั้นคือ วิชากฎหมายปกครอง ตอนที่ 4 นิสิตที่ลงเรียนกับผมสามารถเลือกแต่งกายตามบันทึกนี้ได้เลยครับ” นายพรสันต์ระบุ ทั้งนี้นายพรสันต์ ยังได้แนบเอกสารบันทึกข้อความถึงคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยระบุว่า ตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการแต่งกายของ นิสิต พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (2) การแต่งกายของนิสิตระดับปริญญาในการเข้าเรียน ให้แต่งกายชุดเครื่องแบบปกติ เว้นแต่อาจารย์ผู้สอนกำหนดให้แต่งกายด้วยชุดสุภาพโดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านคณบดี คณาจารย์ผู้ลงนามในบันทึกนี้มีความเห็นร่วมกันว่า นิสิตควรมีเสรีภาพในการแต่งกายอันเป็นเสรีภาพที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ประกอบกับการไม่แต่งกายชุดเครื่องแบบปกติไม่ได้เป็นอุปสรรคกีดขวางหรือกระทบต่อประสิทธิภาพในการเรียนการสอนแต่อย่างใด […]

จุฬาฯ เปิดผลพัฒนาวัคซีน mRNA ไทย ทดลองในคน ภูมิสูง-กันเดลต้าได้

จุฬาฯ เปิดผลพัฒนาวัคซีน mRNA ไทย ผ่านการทดลองในคน 2 เฟส ได้ผลดี-ภูมิขึ้นสูง กันเดลต้าได้ คาดว่าจะผลิตล็อตรีลิสต์เร็วสุดช่วงต้น ธ.ค.นี้ วันที่ 29 ก.ย.2564 ที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ในการจัดเสวนา THAILAND COVID-19 VACCINE FORUM 2021 สถานการณ์ความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนไทยสู้โควิด-19 โดยทีมประเทศไทย โดย นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า การเสวนาครั้งนี้ เป็นการรวมตัวของทีมวิจัยประเทศไทยในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นการรวมตัวพร้อมหน้าพร้อมตาตั้งแต่เดือน ก.พ.2563 เป็นเวลา 1 ปีกับ 6 เดือนที่ผ่านมา หลังจากระดมสรรพกำลังร่วมกันทำงาน ซึ่งครั้งนี้มีความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีนโควิด โดยทีมวิจัยของประเทศไทย ด้าน นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า สำหรับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ขณะนี้ผ่านด่านกระตุ้นในหนู ซึ่งพบค่าที่สูงหลายหมื่นไตเตอร์ (titer) ยิ่งสูงยิ่งป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าเซลล์ […]

จุฬาฯ ประกาศรับอาสาสมัครฉีดวัคซีนโควิด ChulaCov19 ชนิด mRNA

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศรับอาสาสมัครทดลองวัคซีนโควิด 19 ChulaCov19 ชนิด mRNA เช็กคุณสมบัติเลย วันที่ 5 สิงหาคม 2564 ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกประกาศรับสมัครอาสาสมัคร เพื่อทดลองฉีดวัคซีนโควิด 19 ChulaCov19 ชนิด mRNA โดยระบุว่า ประกาศด่วนที่สุด !! เปิดรับสมัครอาสาสมัครสุขภาพดีสำหรับโครงการ ChulaCov19 vaccine ระยะที่ 1 *เพิ่มเติมสำหรับผู้สูงอายุ คุณสมบัติ – อายุ 56-75 ปี – ไม่มีโรคประจำตัว – ไม่เคยติดเชื้อโควิด 19 – ไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด 19 ระยะเวลารับสมัคร – วันที่ 3-10 สิงหาคม 2564 เริ่มทดลองฉีดวัคซีนเมื่อไร – ปลายเดือนสิงหาคม 2564 สมัครทางไหน – กรอกข้อมูลเพื่อคัดกรองเบื้องต้น […]

จุฬาฯ ทดลองวัคซีนโควิดรุ่นแรกของไทย เริ่มใช้ในมนุษย์วันนี้!

จุฬาฯ ทดลองวัคซีนโควิดรุ่นแรกของไทย เริ่มใช้ในมนุษย์วันนี้! เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน โรงพยาบาล (รพ.) จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทดสอบการฉีดวัคซีนให้กับอาสาสมัครผู้ผ่านการคัดกรองที่มีสุขภาพดีระยะที่ 1 และต่อเนื่องในระยะที่ 2 เพื่อดูการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน ChulaCov19 (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน) ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล ทีมนักวิจัย ที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการ รพ.จุฬาลงกรณ์ และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในประเทศไทย รพ.จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ แพทย์ พยาบาล บุคลากร เทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย มีมาตรฐาน นำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและรักษาประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ มีศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นสถาบันการวิจัยทางการแพทย์ที่ได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยทางการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมาร่วมกันพัฒนา […]

error: