สมาคมโรงแรมวอนชะลอเก็บ “ค่าเหยียบแผ่นดิน” นทท.คนละ150-300บาท

Advertisement 18 ก.พ. 2566 – จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (Thailand Traveller Fee : TTF) หรือ ค่าเหยียบแผ่นดิน ซึ่งจะเริ่มเก็บในวันที่ 1 มิ.ย. โดยอัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียม ทางอากาศ 300 บาท / คน ทางทางบก-น้ำ 150 บาท / คน Advertisement นายสิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา กล่าวว่า การเก็บค่าเหยียบแผ่นดินจะกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะเดินทางเข้ามาผ่านด่านพรมแดนทางบก เนื่องจากกลุ่มหลักเป็นชาวมาเลเซีย ที่มักจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวบ่อยครั้งบางคนอาจจะทุกสัปดาห์ หรือบ่อยกว่านั้น Advertisement การเดินทางผ่านแดนทางบกที่จะจัดเก็บค่าเหยียบแผ่นดินคนละ 150 บาท แม้ว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก แต่ส่งผลกระทบทางจิตใจของนักท่องเที่ยว เนื่องจากการเดินทางเข้ามาแต่ละครั้งก็จะมีการใช้จ่าย หากเดินทางกันมาเป็นครอบครัว 4 คน ก็จะต้องจ่ายถึง 600 บาท นายสิทธิพงษ์ […]

รมว.ท่องเที่ยว ยืนยันเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน300 เป็นค่าประกันอุบัติเหตุ

พิพัฒน์ รมว.ท่องเที่ยวฯ ยืนยันเก็บ ค่าเหยียบแผ่นดิน นักท่องเที่ยวต่างชาติ 300 บาท เพื่อทำประกันชีวิต ตามที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้รับทราบการวางแผนเก็บเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยคนละ 300 บาท หรือเรียกกันว่าค่าเหยียบแผ่นดิน ในช่วงเดือน เมษายน 2565 นั้น จากกรณีดังกล่าว นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยจำเป็นต้องมีการเรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดินคนละ 300 บาท จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมนำเงินที่ได้จากการเรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดินคนละ 300 บาท ไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ และทำประกันให้กับนักท่องเที่ยว กรณีประสบอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต จะได้รับวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท หรือ ค่ารักษาพยาบาล ได้รับสูงสุด 5 แสนบาท เบื้องต้นวางแผนเก็บรวมกับค่าตั๋วเครื่องบินกรณีเดินทางทางอากาศ ส่วนการเดินทางทางบก อยู่ระหว่างการพิจารณาว   ข่าวจาก : brighttv

รมว.ท่องเที่ยวฯ ยัน เก็บแน่ “ค่าเหยียบแผ่นดิน” ต่างชาติเข้าไทย 300 บาท

รมว.ท่องเที่ยวฯ ยัน เก็บแน่ ‘ค่าเหยียบแผ่นดิน’ ต่างชาติเข้าไทย 300 บาท ชี้เพื่อนำเงินมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และดูแลสวัสดิการนักท่องเที่ยว 13 ก.พ. 2565 – นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ได้ยืนยันที่จะเริ่มเก็บจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวประเทศไทยจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ค่าเหยียบแผ่นดิน” ในอัตรา 300 บาทต่อคน ภายในปีนี้แน่นอน แต่เลื่อนจากกำหนดเดิมเริ่มต้นจัดเก็บในเดือน เม.ย. ออกไปอีก 2 เดือน หรือประมาณเดือน มิ.ย. 2565 เนื่องจากมีขั้นตอน ต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และต้องมาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลหลังจาก 90 วัน รวมถึงทำรายละเอียดให้เสร็จก่อนทางสายการบินต่าง ๆ ถึงจะมาสมัครทำข้อตกลงเข้าร่วม ว่าจะเป็นผู้แทนในการจัดเก็บให้ได้อย่างไร ส่วนการจัดเก็บผู้เดินทางเข้าทางบก-ทางน้ำ ยังอยู่ระหว่างหารือวิธีดำเนินการ โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เพื่อนำเงินมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและดูแลสวัสดิการนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บ 300 […]

‘พิพัฒน์’ ยัน ‘ค่าเหยียบแผ่นดิน’ ไม่เก็บ ‘คนไทย’ คาดสร้างรายได้ 1.5 พันล้าน

‘พิพัฒน์’ ยัน ‘ค่าเหยียบแผ่นดิน’ ไม่เก็บ ‘คนไทย’ ย้ำสอบถามความเห็นเชิงลึก 300 บาท/ราย เหมาะสมแล้ว คาดสร้างรายได้ 1.5 พันล้านบาท วันที่ 14 ม.ค.65 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า สำหรับค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยว หรือ ค่าเหยียบแผ่นดิน จะเป็นการจัดเก็บเฉพาะจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ศึกษาวิเคราะห์อย่างรอบด้าน ทั้งด้านการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและผลกระทบ การวิเคราะห์เชิงเศรษฐมิติ คาดมีผลสามารถเริ่มจัดเก็บได้วันที่ 1 เม.ย. 2565 ขณะผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติ และจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย และนำเสนอคณะรัฐมนตรี( ครม.) ต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินโครงการนี้มีการสอบถามความคิดเห็นเชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พบว่าอัตราการจัดเก็บที่เหมาะสมเป็นรายละ 300 บาท ต่อครั้งสำหรับการเดินทางเข้าประเทศไทย ซึ่งได้กำหนดไว้ว่าเงินจำนวน 300 บาท จะนำเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยประมาณ 50% ซื้อประกันภัยสำหรับนักท่องเที่ยว 20% มีระยะเวลาความคุ้มครอง 45 วัน ส่วนเงินที่เหลือประมาณ 20-30% […]

error: