ทำความเข้าใจกม. “ครอบครองปรปักษ์” ดูแลที่ดินอย่างไร ไม่ให้กลายเป็นการครอบครองโดยปรปักษ์

Advertisement กรณีที่มีคดีเพื่อนบ้านบุกยึดบ้านร้างที่เจ้าของซื้อทิ้งไว้ โดยอ้างว่าใช้สิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ ซึ่งเป็นข่าวต่อนเองมาตั้งแต่ปลายปี 2566 ที่ล่าสุด แม้ศาลจะยังไม่ตัดสินคดีนี้ แต่ก็พบว่าเพื่อนบ้านกลับมายึดบ้านรอบที่ 2 Advertisement โดยบริเวณหน้าบ้านดังกล่าว ยังมีประกาศติดไว้ ระบุข้อความด้วยว่ “บ้านหลังนี้ ข้าพเจ้าได้กรรมสิทธิ์ โดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย บุคคลใดเข้ามากระทำการใดๆในบ้านและที่ดินและบ้านหลังนี้ ถือว่ามีความผิดฐานบุกรุก จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน” “การครอบครองปรปักษ์” ถูกระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ระบุว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์” โดยสำนักงานศาลยุติธรรม อธิบายข้อกฎหมายไว้ว่า ในทางปฏิบัติ แม้จะเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 1382 กำหนดแล้ว บุคคลที่อ้างการครอบครองปรปักษ์นั้น ต้องดำเนินการ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ พร้อมแสดงหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนศาลจะพิจารณา ศาลจะมีหมายส่งไปยังเจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อในกรรมสิทธิ์ดังกล่าว เพื่อให้มาคัดค้าน และศาลจะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างการครอบครองปรปักษ์ดำเนินการเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินพิพาท เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย กรณีไม่มีผู้คัดค้าน ศาลอาจจะมีคำสั่งให้บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้นั้นต้องนำคำสั่งศาลไปติดต่อกรมที่ดินเพื่อขอเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นได้ อย่างไรก็ตามการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ได้ง่ายและต้องมีหลักเกณฑ์หลายอย่างตามกฎหมาย ดังนี้ […]

error: