จับยารักษาโควิดเถื่อน มูลค่ากว่า10ล้าน ตบตาด้วยธุรกิจนำเข้านมเนย

Advertisement วันที่ 4 ส.ค.2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ., นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.), นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ พล.ต.ท.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. แถลงจับกุมเครือข่ายยารักษาโควิด 19 เถื่อน Advertisement นายอนุทิน กล่าวว่า อย. ร่วมกับ บก.ปคบ. สืบหาแหล่งขายยาโมลนูพิราเวียร์ผิดกฎหมายทางสื่อออนไลน์ พบมีการลักลอบนำเข้ายารักษาโควิด เช่น โมลนูพิราเวียร์ ฟาวิพิราเวียร์ เรมเดซิเวียร์ สเปรย์พ่นจมูกที่มีส่วนประกอบของ Nitric Oxide เป็นต้น โดยไม่รับอนุญาต ไม่ผ่านด่าน อย. ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ไม่ผ่านการพิจารณาเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของยา นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ซึ่งครั้งนี้จับกุมเครือข่ายลักลอบขายยารักษาโควิด 3 ราย […]

สธ. ออกหนังสือด่วนที่สุด ถึง ผบ.ตร. จับได้ทันที ผู้ขาย-แปรรูปกัญชา ที่ไม่ขออนุญาต

วันที่ 27 ก.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึง ผบ.ตร. เรื่องดำเนินคดีกับผู้ที่ไม่ขออนุญาตศึกษาวิจัย หรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือ จำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ตอนหนึ่งของหนังสือ ระบุว่า เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กระทรวงสาธารณสุข จึงขอแจ้งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ดำเนินการจับกุมและดำเนินคดีกับบุคคล หรือ นิติบุคคลใดที่ไม่ดำเนินการตาม มาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ในกรณีดังต่อไปนี้ 1.ไม่ขออนุญาตศึกษาวิจัยกัญชา 2. ไม่ขออนุญาตส่งออกกัญชา 3. ไม่ขออนุญาตจำหน่ายกัญชา 4. ไม่ขออนุญาตแปรรูปกัญชาเพื่อการค้า เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสมุนไพร และการใช้ประโยชน์พืชกัญชาทางการแพทย์ และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2565   ข่าวจาก : ข่าวสด  

ราชกิจจาฯ ประกาศให้ โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2565 ประกาศดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคฝีดาษวานร หรือ โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังการป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป) ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (56) ของข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ.2562 “(56) […]

ผมร่วง-ปวดหลังเป็นอาการของ “ออฟฟิศซินโดรม” จริงหรือ?

ตามที่มีข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องผมร่วงและปวดหลังเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีผู้โพสต์ระบุว่า ผมร่วงและปวดหลังเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ทางสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการผมร่วง มีทั้งลักษณะที่ร่วงทั่วทั้งศีรษะหรือผมร่วงเป็นหย่อม และผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็น หรือผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ ทั้งนี้อาการผมร่วงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตามหลังการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ หลังการคลอดบุตร หลังการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ภาวะเครียด และโรคไทรอยด์ เกิดได้ทั้งจากภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ที่สูงหรือต่ำเกินไป โรคทางผิวหนังบางชนิด เช่น โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus, SLE) การติดเชื้อรา ไวรัส หรือแบคทีเรีย การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด รวมถึงโรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นผมและผมร่วงได้ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อพบมีภาวะผมร่วง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป โรคออฟฟิศซินโดรม เกิดจากการทำงานบางอย่างในท่าทางเดิม ๆ ที่ไม่เหมาะสม ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และอาจมีสภาพร่างกาย หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสมร่วมด้วย ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะบางส่วนของร่างกายได้ที่พบบ่อย ได้แก่ คอ บ่า ไหล่ […]

กัญชาฟีเวอร์! ประชาชนสนใจแห่เข้าแอพพลิเคชั่น “ปลูกกัญ” แล้ว35ล้านครั้ง

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.65 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานสถิติการเข้าใช้งานแอพลิเคชั่น ปลูกกัญ ณ เวลา 07.00 น. วันที่ 13 มิ.ย.65 จำนวนการลงทะเบียน 735,932 คน ออกใบรับจดแจ้งกัญชา 713,544 ใบ ออกใบรับจดแจ้งกัญชง 22,388 ใบ จำนวนเข้าใช้งานระบบ 35,7511,572 ครั้ง ทั้งนี้ อย.เปิดให้ประชาชนที่สนใจปลูกกัญชา กัญชง เข้าไปลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ นับตั้งแต่มีการปลดล็อกให้สามารถกัญชา กัญชง ได้ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา   ข่าวจาก : ข่าวสด

กรมอนามัยเตือน ห้ามใช้ผงพิเศษอุดฟัน แพ้รุนแรงเสี่ยงถึงชีวิตได้

วันที่ 2 มิถุนายน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการแชร์คลิปวิดีโอ จากแอพพลิเคชั่น tiktok โดยมีการใช้ผงพิเศษเพื่ออุดฟัน ห่วงประชาชนที่ไม่ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง จนอาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบตามคลิปดังกล่าวได้ จึงขอเตือนว่า ผงพิเศษเป็นยาใช้ภายนอก ห้ามนำไปกิน หรือใช้ทา ในช่องปาก รวมถึงการนำไปใช้อุดฟัน เนื่องจากผงพิเศษมีส่วนประกอบของสารซัลฟานิลาไมด์ ซึ่งสารนี้อาจก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง เกิดตุ่มพอง หนังลอก หรือที่เรียกว่าการแพ้แบบสตีเวนส์-จอห์นสัน ซินโดรม (Stevens-Johnson Syndrome หรือ SJS) หรือเกิดอาการแพ้ร่วมกับอาการแทรกซ้อนในระบบอื่น ๆ จนทำให้ เกิดการเสียชีวิตในบางรายได้​ ​“ทั้งนี้ หากมีฟันผุในช่องปาก โดยรอยผุที่เห็นเป็นรอยสีดำ เป็นรูบนผิวฟัน หรือมีอาการเสียวฟัน เมื่อกินของร้อน – เย็น สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟัน แต่หากพบรอยผุขนาดใหญ่ ลึก มีอาการปวดฟันขึ้นเอง โดยไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้น อาจไม่สามารถอุดฟันได้ เพราะรอยผุทะลุโพรงประสาทฟันแล้ว ควรเข้ารับการรักษารากฟันหรือถอนฟันจากทันตแพทย์ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ สำหรับการป้องกันฟันผุที่ดีที่สุด คือ การแปรงฟันตามหลัก […]

กระทรวงสาธารณสุข รับสมัครนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ป.ตรี บัดนี้-29เม.ย.65

  ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข รับสมัครจ้างเหมาบริการงานวิชาการคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่วันที่ วันที่ 25-29 เมษายน 2565 ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รับสมัครเอกชน (บุคคลธรรมดา) มารับจ้างเหมาบริการงานวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข งานวิชาการคอมพิวเตอร์ 1 คน คุณสมบัติทั่วไป 2.1 เป็นบุคคลธรรมดาที่มีอาชีพรับจ้างงาน 2.2 ไม่จำกัดอายุ 2.3 มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง 2.4 มีความประพฤติดี มีกริยา วาจาสุภาพ เรียบร้อย 2.5 เป็นผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ไม่ละทิ้งหน้าที่ความรับผิดชอบ 2.6 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย 2.7 ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไร้ความสามารถหรือจิตฟันเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน 2.8 ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง 2.9 ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ 2.10 ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ 2.11 […]

สธ.จ่อออก กม.เจาะเลือดตรวจแอลฯ ใช้หักแต้มใบขับขี่ในอนาคต

สาธิต เผย สธ.จ่อออก กม.ใช้วิธีเจาะเลือดตรวจหาแอลกอฮอล์ กรณีมีอุบัติเหตุทางถนน ใช้หักแต้มใบขับขี่ในอนาคต เมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการแถลงข่าวชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” กล่าวว่า สธ. ตระหนักถึงปัญหาบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ด้วยการระบาดโควิด-19 มีการจำกัดการเดินทาง งดกิจกรรมการรวมกลุ่ม งดจัดกิจกรรมช่วงปีใหม่และสงกรานต์ ทำให้ปี 2564 มียอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง รวมถึงการตั้งด่านตรวจบูรณาการป้องกันควบคุมโรคและบังคับใช้กฎหมาย ทำให้พฤติกรรมดื่มแล้วขับลดลง โดยมีผู้เสียชีวิต 16,957 คน คิดเป็น 25.92 ต่อประชากรแสนคน ใกล้เคียงกับเป้าหมายของแผนแม่บทฉบับที่ 5 ที่จะลดผู้เสียชีวิตให้ต่ำกว่า 25.03 ต่อประชากรแสนคน แต่ปัจจุบันมีการเปิดประเทศ มีการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ประชาชนจะมีการใช้รถใช้ถนนทั้งเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวกันจำนวนมาก โดยสาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ คือ ความประมาทในการขับขี่ ขับรถเร็ว ดื่มสุราก่อนขับขี่ ไม่ใช้หมวกนิรภัยและเข็มขัดนิรภัย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ […]

ราชกิจจาฯ ประกาศ สธ. 2ฉบับ ยกเลิกหลักเกณฑ์ช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินโควิด

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ ยกเลิกหลักเกณฑ์-ข้อกำหนดรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ระบุ สถานการณ์มีแนวโน้มลดลง-อัตราครองเตียงลด วันที่ 16 มี.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ ลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยประกาศฉบับที่ 1 เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 ระบุว่า เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง และอัตราการครองเตียงในสถานพยาบาลภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความจำเป็นเหมาะสมและกรอบเวลาในการให้การใช้สิทธิ UCEP กลับเข้าสู่ระบบปกติ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้น เพื่อเป็นการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ จึงสมควรยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา […]

เริ่ม 1 มี.ค.นี้ สธ.ปรับแผน ติดโควิดเป็นผู้ป่วยนอก ผล ATK บวก จ่ายยาตามอาการ

‘เจอ แจก จบ’ สธ.ปรับติดโควิด เป็นผู้ป่วยนอก เริ่ม 1 มี.ค.นี้ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ. ให้สัมภาษณ์ว่า สธ.ได้เตรียมแผนการบริหารจัดการให้โรคโควิด-19 ออกจากการเป็นโรคระบาดไปสู่การเป็นโรคติดต่อทั่วไปหรือโรคประจำถิ่น คือการที่โรคลดความรุนแรงลง ไม่มีภาวะอันตรายมาก มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันประชาชนมีภูมิต้านทางมากเพียงพอ จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือนจากนี้ โดยได้จัดระบบบริการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพิ่มการดูแลในระบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล “เจอ แจก จบ” โดยทำการตรวจผู้ที่สงสัยป่วยโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ ATK หากพบผลเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการ 3 สูตร ได้แก่ 1.ยาฟาวิพิราเวียร์ 2.ยาฟ้าทะลายโจร 3.ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดเชื้อในการเข้าถึงบริการ และเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การเป็นโรคที่ดูแลได้ด้วยตนเอง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 1 มีนาคม […]

1 2 3 14
error: