เด้งเรียบ เลขาฯกกอ.-เลขาฯกพฐ.หมอกำจร นั่งเลขาฯกกอ.คนใหม่

Advertisement Advertisement คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ประกาศฉบับที่ 79/2557 เรื่องการกำหนดตำแหน่งเพิ่ม และแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง  กำหนดตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี  4 ตำแหน่ง ให้เป็นข้าราชการพลเรือน  ประกอบด้วย นายปรีชา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกรทรวงพลังงาน ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี ให้นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   Advertisement นายอภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม   นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานพัฒนาระบบข้าราชการ(กพร.)ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน นายกำจร ตติยะกวี  ————————————— นายกำจร ตติยะกวี รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายกมล รอดคล้าย จากรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลทันที 

เปิดข้อมูลวิชาสอบข้อเขียน นักเรียนนายสิบตำรวจ เปิดรับ 5,700 อัตรา

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะทำการเปิดรับสมัครนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.) ประจำปี พ.ศ. 2557 เปิดรับจำนวน 5,700 อัตรา โดยรับสมัคร สายป้องกันปราบปราม (ปป.) จำนวน 5,000 อัตรา และสายอำนวยการและสนับสนุน จำนวน 700 อัตรา สายป้องกันปราบปราม นักเรียนนายสิบตำรวจ สายอำนวยการและสนับสนุน (ตำรวจชั้นประทวน)   กำหนดการณ์ที่สำคัญ   วันที่ 4 -28 ก.ค.57  รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต(สมัครที่เวปไซต์นี้ http://www.policeadmission.org เท่านั้น )   วันที่ 5 ส.ค.57 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ   วันที่ 10 ส.ค.57 สอบข้อเขียน   วันที่ 21 ส.ค.57 ประกาศผลสอบข้อเขียน   วันที่ 20 ต.ค.57 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก รอบสุดท้าย   […]

อย่าคิดลอก! จุฬาฯ เปิดโปรแกรม อักขราวิสุทธิ์ ใช้ร่วม17สถาบัน ตรวจสอบลอกวิทยานิพนธ์

จุฬาฯ ใช้โปรแกรม "อักขราวิสุทธิ์" ตรวจสอบการลอกวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ทั้งของนิสิต อาจารย์ และผลงานเก่า ย้อนหลังถึงปี 2548 พร้อมขยายฐานข้อมูลตรวจสอบด้วยการบรรจุวิทยานิพนธ์จากอีก 17 มหาวิทยาลัย พร้อมแชร์โปรแกรมให้ใช้ร่วมตรวจสอบ หวังสร้างบัณฑิตมีคุณภาพ ลดสถาบันเสื่อมเสียชื่อเสียง   วันนี้ (25 มิ.ย.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวภายหลังลงนามความร่วมมือทางวิชาการ "การตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์" ร่วมกับ รศ.ดร.อมร เพรชรสม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาฯ และอธิการบดีมหาวิทยาลัย 17 แห่ง ว่า จุฬาฯ ได้พัฒนาโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ มาตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม และการเขียนวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตจุฬาฯ เมื่อปีการศึกษา 2556 โดยนำวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตจุฬาฯ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548-ถึงปัจจุบัน มาบรรจุเป็นฐานข้อมูลสำหรับตรวจสอบกว่า 1 หมื่นเล่ม เพื่อหวังให้บัณฑิตจบอย่างมีคุณภาพ เพราะที่ผ่านมาพบว่า นิสิตอาจเขียนผลงานโดยนำข้อมูลมาใช้ แต่ไม่ได้อ้างอิงที่มา ซึ่งอาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์       […]

วันสุนทรภู่ โพลล์หนุนบรรจุเนื้อหาการแต่งบทร้อยกรองอย่างละเอียดไว้ในแบบเรียนภาษาไทย

ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาแถลงผลสำรวจความรับรู้เกี่ยวกับสุนทร “ภู่” และความคิดเห็นต่อการอ่าน/เขียนบทร้อยกรองของประชาชนคนรุ่นใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ศ.ศรีศักดิ์ กล่าวหลังจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด1,124คนสามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านข้อมูลทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 51.25ขณะที่ร้อยละ 48.75เป็นเพศชาย นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 37.81มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 21ถึง 25ปี ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 31.76และร้อยละ 30.25จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าและระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าตามลำดับ ในด้านความรับรู้เกี่ยวกับสุนทร “ภู่” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 86.74 ทราบว่าวันสุนทร “ภู่” ตรงกับวันที่ 26มิถุนายนของทุกปี ขณะที่เมื่อพูดถึงสุนทร “ภู่” กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นึกถึงบทประพันธ์ประเภทนิทานเป็นอันดับแรกโดยคิดเป็นร้อยละ 39.86รองลงมาร้อยละ 37.10นึกถึงบทประพันธ์ประเภทกลอนนิราศเป็นอันดับสอง   และเมื่อพูดถึงสุนทร “ภู่” กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 44.13 นึกถึงงานประพันธ์เรื่องพระอภัยมณีเป็นอันดับแรก รองลงมานึกถึงงานประพันธ์เรื่องนิราศเมืองแกลงเป็นอันดับสองซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.44 ส่วนประโยชน์สำคัญสูงสุด 3ประการที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่าได้จากการอ่านงานประพันธ์ของสุนทร “ภู่” คือ ได้ความสนุกเพลิดเพลิน คิดเป็นร้อยละ 78.47 เป็นตัวอย่างในการแต่งบทประพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 75.53 และได้เรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 72.95 […]

แย่แล้วเด็กไทย! ไอคิวต่ำมาตรฐาน สติปัญญาบกพร่อง EQลด แถมขาดไอโอดีน โลหิตจาง

ผลสำรวจ IQ เด็กไทยทั่วประเทศยังต่ำกว่าค่ามาตรฐานคือ 98.59 จาก 100 กรมสุขภาพจิตจับมือกรมอนามัยเดินหน้าสำรวจ IQ เด็ก ป.1 ทั่วประเทศอีกครั้งเดือน ก.ค.นี้ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดการสัมมนา “นักวิจัยภาคสนาม” โครงการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กไทย ความฉลาดทางอารมณ์ ภาวะขาดสารไอโอดีนและภาวะโลหิตจางของเด็กไทยปี 2557 ว่า จากการสำรวจ IQ นักเรียนไทยทั่วประเทศเมื่อปี 2554 พบ IQ เฉลี่ย 98.59 ซึ่งต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากล (IQ = 100) และเมื่อดูในภาพรวมของประเทศ พบว่าเด็กเกือบครึ่ง (ร้อยละ48.5) มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (IQ < 100) รวมทั้งมีระดับสติปัญญาบกพร่อง (IQ < 70) อยู่ถึงร้อยละ 6.5 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลที่ไม่ควรเกิน 2% ขณะที่ระดับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กไทยวัย 3-5 ปี ที่สำรวจเมื่อปี […]

กยศ.เผยปีการศึกษา 57 ปล่อยกู้แล้วกว่า 8 แสนคน ยันรายเก่า-ใหม่ได้ครบทุกคน

วันที่ 24 มิถุนายน น.ส.ฑิตติมา  วิชัยรัตน์  ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า  ขณะนี้ทางกยศ. ได้ทยอยโอนเงินค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพให้แก่ผู้กู้กยศ. ประจำภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2557 แล้ว โดยแบ่งเป็น ผู้กู้รายเก่า 614,896 คน ผู้กู้รายใหม่จำนวน 204,000 คน รวมทั้งหมด 818,896  คน  ใช้งบประมาณทั้งหมด 33,300 ล้านบาท    ในส่วนของภาคเรียนที่ 1 ทางกยศ. จะใช้งบประมาณที่ปีบริหารจัดการไปก่อน และจะตั้งของบประมาณรายจ่ายประจำปีการศึกษา 2558  อีก 3,610  ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ให้ทั้งรายเก่าและใหม่จนครบจำนวน   ขอยืนยันว่าในปีการศึกษา 2557 ทางกยศ. สามารถปล่อยกู้ให้ทั้งผู้กู้รายเก่า และรายใหม่ได้ครบตามตัวเลขที่ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอมาแน่นอน   เมื่อเร็ว ๆ นี้กยศ. ได้ส่งหนังสือ เพื่อยืนยันตัวเลขที่ทางศธ. ขอปรับเพิ่ม ไปยัง […]

เริ่มปี 59 !! ยุบรวม รับตรง-แอดมิชชั่น.. สอบรวมครั้งเดียวหลังจบ ม.6

  ทปอ.ปรับรับตรง-แอดมิชชัน เริ่มปี 59 ให้สอบร่วมกันและสอบเพียงครั้งเดียวหลังเด็กเรียนจบ ม.6 ส่วนสอบวิชาเฉพาะให้กลุ่มสาขาวิชารวมตัวจัดสอบร่วมกันและสอบครั้งเดียว แต่ไม่กำหนดเวลาตายตัวเพราะเป็นความถนัดที่เด็กมีติดตัว ขณะที่แอดมิชชันเล็งเพิ่มสอบวิชาสามัญเพิ่ม ยันเพื่อประโยชน์เด็กเพราะนำคะแนนไปใช้ได้ทุกระบบจึงไม่ทำให้เสียสิทธิ ย้ำปี 58 ใช้ระบบเดิม                 วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม ทปอ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปีการศึกษา 2559 มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือแอดมิชชันกลาง และระบบการรับตรง ในกลุ่มมหาวิทยาลัยสมาชิก ทปอ.                ทั้งนี้ ระบบรับตรงที่ใช้ผลการสอบ ให้ใช้ข้อสอบวิชาสามัญร่วมกัน และจัดสอบเพียงครั้งเดียว โดยจัดสอบภายหลังนักเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว […]

คุรุสภา รับรองมหา’ลัย 13 แห่งเปิดหลักสูตร ป.บัณฑิต

  คุรุสภา รับรองมหา’ลัย 13 แห่งเปิดหลักสูตร ป.บัณฑิต “ไพฑูรย์” ชี้มหา’ลัยที่ได้รับรองหลังเดือน ก.ค.57 เป็นต้นไปให้เปิดรับ นศ.ได้เทอม 2 ปีการศึกษา 57          วันนี้ (19 มิ.ย.) ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้การรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) ของสถาบันการศึกษาเพิ่มเติมอีก 13 แห่ง จากเดิมที่ได้รับรองไปแล้ว 8 แห่งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดังนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) จังหวัดปทุมธานี รับได้ 180 คน มทร.พระนคร รับได้ 180 คน มหาวิทยาลัยธนบุรี กรุงเทพมหานคร รับได้ 120 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี รับได้ 180 คน […]

ครูแก่ 7 แสนคน อุปสรรคแท็บเล็ต

ครูแก่ 7 แสนคน อุปสรรคแท็บเล็ต            นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ซึ่งมีการประชุมร่วมระหว่าง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา กับผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปลี่ยนแปลงงบประมาณการจัดซื้อแท็บเล็ตตามโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ปี 2556 และ 2557 ไปพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) เพื่อการศึกษาในรูปแบบอื่นๆ มาแทนการแจกแท็บเล็ตนั้น โดยมอบให้ ศธ.มาตั้งคณะทำงานเพื่อคิดรูปแบบที่เหมาะสมมาเสนอต่อฝ่ายสังคมจิตวิทยานั้น ศธ.ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นเจ้าภาพ และได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการแล้ว มีนายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานคณะทำงาน และเบื้องต้นได้คิดรูปแบบทดแทนไว้ 4 ทางเลือก ได้แก่ สมาร์ทคลาสรูม สมาร์ทสคูล อี-เลิร์นนิ่ง และสมาร์ทไลบรารี่           "แม้ไอซีทีเพื่อการศึกษามีความจำเป็น แต่ต้องเตรียมความพร้อมในการนำสื่อไอซีทีเพื่อการศึกษามาใช้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนโดยคำนึงถึงงบประมาณที่มีอยู่และมุ่งเป้าให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนอย่างแท้จริง […]

ศธ.เสนอโยกงบซื้อแท็บเล็ต ทำห้องเรียนอัจฉริยะ สมาร์ทคลาสรูม

ล้มเลิกโครงการแจกแท็บเล็ตนักเรียนไปแล้ว กระทรวงศึกษาฯ เสนอคสช.โยกงบฯ จัดซื้อแท็บเล็ตปี 2556-2557 ชงทำสมาร์ทคลาสรูม 15,000 โรงเรียน  คาดจะสร้างได้ครบภายใน 2 ปี  จากงบโครงการจัดซื้อแท็บเล็ตปี 2557 กว่า 5,000 ล้านบาท    นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงมติที่ประชุม ศธ.ร่วมกับคณะสังคมจิตวิทยาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยกเลิกโครงการแท็บเล็ต โซน 4 ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 1,000 ล้านบาท และงบโครงการปี 2557 อีก 5,000 ล้านบาท  โดย ศธ. จะประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มหาวิทยาลัย รวม 10 หน่วยงานประชุมเพื่อขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณจัดซื้อแท็บเล็ต ไปเป็น สมาร์ทคลาสรูม โดยในวันจันทร์ที่ 23 มิ.ย.จะประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบห้องสมารท์คลาสรูม กำหนดมาตรฐานไว้ว่าห้องดังกล่าวจะมีแท็บเล็ตที่ประสิทธิภาพดีขึ้นให้นักเรียนใช้ มีแท็บเล็ตให้ครูในห้อง มีเครื่องมือสื่อสารเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ค่าใช้จ่ายห้องละ […]

1 54 55 56 57
error: