ร่างกายมนุษย์..ทนความหนาวได้มากสุดเท่าไร?





    ผู้ใหญ่สุขภาพแข็งแรงสามารถวิ่งแก้ผ้าในอุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียสได้อย่างมากแค่ราว 3 นาที และหากอากาศหนาวเย็นกว่า -60 องศาเซลเซียส ผลึกน้ำแข็งจะก่อตัวในเซลล์ผิวหนังแทบจะทันที ส่งผลให้เกิดเป็นแผลน้ำแข็งกัดได้ แม้จะสวมใส่เสื้อกันหนาว แต่ส่วนที่ไม่มีอะไรปกคลุม เช่น ผิวหนัง รอบดวงตาและปลายจมูก ก็เสี่ยงจะเกิดแผลน้ำแข็งกัดได้ ถ้าไม่ได้สวมเสื้อผ้าที่หนาเพียงพอ ก็ไม่มีมนุษย์คนไหนรอดชีวิตจากอุณหภูมิที่ต่ำกว่า -60 องศาเซลเซียสได้ ระบบทางเดินหายใจเป็นระบบที่ได้รับผลกระทบจากอากาศเย็นจัด เพราะสัมผัสอากาศตลอดเวลา โดยชาวอินูอิตและชนพื้นเมืองในเขตหนาวอื่นๆ มักได้รับอาการ บาดเจ็บที่ปอดอยู่บ่อยๆ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในแอนตาร์กติกาจึงป้องกันตัวเองด้วยการหายใจผ่านท่อพิเศษที่ติดอยู่ข้างในเสื้อกันหนาว อากาศจะได้รับความอบอุ่นจากร่างกายของผู้สวมใส่ ก่อนไหลเข้าสู่จมูกแทนที่จะถูกสูดเข้าสู่ปอดโดยตรง

 

[ads]

 

 

shutterstock_70777717

ภาพ:cosmeticdentistofmichigan.com

ลมทำให้อากาศหนาวยิ่งรู้สึกหนาวเข้าไปใหญ่

  Wind chill factor คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเราอยู่ในสภาพอากาศหนาวและมีลมพัด เมื่อเรายืนอยู่ในที่ที่ลมสงบนิ่ง อากาศรอบตัวที่ได้รับความอบอุ่นจากร่างกายจะแผ่หุ้มรอบตัวเราเสมือนเป็นชั้นฉนวน แต่พอเจอกับลมชั้นฉนวนอากาศอุ่นก็จะถูกลมพัดปลิวไป ร่างกายจึงสูญเสียความร้อนเร็วขึ้น เราก็จะรู้สึกว่าอากาศหนาวกว่าอุณหภูมิจริงๆ เช่น อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ในพายุอาจรู้สึกหนาวสั่นไม่ต่างจากอุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียสในยามลมสงบ อีกปัจจัยที่ทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนคือการเปียกน้ำหรือเหงื่อ หากต้องการเอาชีวิตรอดในอากาศหนาวจัด ต้องพยายามทำตัวให้แห้งที่สุด

ร่างกายมนุษย์ดำรงชีวิตในที่หนาวจัดไม่ได้

   เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลงต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ร่างกายจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติ และหากร่างกายยังสูญเสียความอบอุ่นต่อไป อาการก็จะยิ่งทรุดหนัก ลงเรื่อยๆ

32-35 องศาเซลเซียส – ไฮโปเธอร์เมียขั้นแรก, กล้ามเนื้อ : สั่นเพื่อเร่งสร้างความอบอุ่น, หัวใจ: จังหวะการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น, ปอด: หายใจเร็วขึ้น, เลือด: ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เนื่องจากกลูโคสถูกย่อยช้าลง, ผิวหนัง: ผิวหนังซีดเผือด เนื่องจากเส้นเลือดหดตัว

28-32 องศาเซลเซียส – ไฮโปเธอร์เมียขั้นปานกลาง, กล้ามเนื้อ: สั่นอย่างรุนแรง, แขนและขา: การเคลื่อนไหวช้าลงและไม่สัมพันธ์กัน, สมอง: รู้สึกมึนสับสนและตอบสนองช้าลง, ริมฝีปาก หู นิ้วมือ นิ้วเท้า: กลายเป็นสีเขียว เนื่องจากเลือดไม่ได้ไปเลี้ยง

20-28 องศาเซลเซียส – ไฮโปเธอร์เมียขั้นรุนแรง, กล้ามเนื้อ: หยุดสั่น, แขนและขา: ไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้, หัวใจ: จังหวะการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตตกลง, ปอด: หายใจช้าลง, สมอง: สูญเสียความทรงจำและมึนงงอย่างหนัก, ปาก: พูดติดขัด, ผิวหนัง: กลายเป็นสีเขียวและบวม

 

[ads=center]

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก:http://www.scienceillustratedthailand.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: