5 วิธีบอก“ข่าวร้าย” แบบไม่ “ทำร้าย” คนฟัง (มากนัก)





ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมี “ขั้วตรงข้าม” เสมอเมื่อมีสุข ก็ต้องมีทุกข์ เมื่อมีร้อน ก็ต้องมีหนาว เมื่อมีข่าวดี ก็ต้องมีข่าวร้าย…แน่นอนว่าไม่มีใครอยากได้ยินข่าวร้ายไม่มีใครอยากเป็นคนบอกข่าวร้าย และไม่มีใครอยากจะแบ่งปันข่าวร้าย แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคุณจำเป็นต้องบอกข่าวร้ายแก่เพื่อนฝูงหรือคนที่คุณรัก คุณจะทำอย่างไรจึงจะไม่ทำร้ายคนฟัง

 

[ads]

 

 

   ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องทำหน้าที่บอกข่าวร้ายแก่คนใกล้ตัว ไม่ว่าจะพ่อแม่พี่น้อง คนรัก เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงานเจ้านาย และลูกน้อง ลองใช้วิธีนี้

บอกข่าวร้ายให้น่าฟัง (ขึ้น)


1. ถามตัวเองว่าเรื่องนี้ “คุณมีหน้าที่ในการบอกข่าวร้ายนี้จริง ๆ หรือเปล่า”

   ถ้าคำตอบคือ ใช่ ก็ถึงเวลาจัดการกับอารมณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็นความตื่นเต้น ความเสียใจ ความโกรธแค้น ฯลฯ จากนั้นตั้งสติให้ดี พยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่คุณต้องพูด และต้องการจะพูดทั้งหมด จากนั้นพิจารณาว่าควรสื่อสารด้วยวิธีไหน ส่งข้อความ โทรศัพท์ หรือต้องพูดต่อหน้าเท่านั้น จะได้สังเกตปฏิกิริยาที่จะตามมาได้อย่างชัดเจน จากนั้นจึงค่อยเรียบเรียงคำพูดทั้งหมดออกไปอย่างสั้น ๆ กระชับ แต่ได้ใจความ

    บางเรื่องที่มีความสำคัญมาก ๆ อาจต้องอาศัยการฝึกฝนก่อนเพื่อให้รู้ว่าสิ่งไหนควรพูด สิ่งไหนไม่ควรพูด เพราะเตรียมตัวดีทำให้มีชัยไปกว่าครึ่ง และควรรู้จักยืดหยุ่นประนีประนอม หรือปรับปรุงคำพูดให้สอดรับกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นด้วย

 

2.ให้ความสำคัญกับ “สถานที่และเวลา”


   ต้องเลือกสถานที่ที่เหมาะสม สงบและเป็นส่วนตัว ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดยิ่งในบางกรณีหากเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆอาจจำเป็นต้องปิดเครื่องกำเนิดเสียงและสิ่งเร้าประสาททุกชนิด เช่น วิทยุ โทรทัศน์เพราะสิ่งเร้าอาจจะดึงความสนใจจากคู่สนทนาและทำให้คุณเสียสมาธิในเรื่องที่เตรียมจะพูด

   ส่วนเรื่องของเวลา บางครั้งการรอคอยก็ไม่จำเป็นสำหรับบางเรื่อง เช่น อุบัติเหตุ แต่บางเรื่องก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ผู้ฟังมีสภาวะทางอารมณ์ที่ดี พร้อมที่จะยอมรับฟังข่าวร้ายจากคุณ เช่น การเลิกราของคนรัก หรืออาการเจ็บป่วยของคนที่เขารัก

 

3.เริ่มด้วยฟังอีกฝ่ายอย่างตั้งใจ


   เมื่อคุณพร้อมที่จะบอกข่าวร้ายแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรเริ่มต้นด้วย “คำถามที่แสดงถึงการใส่ใจความรู้สึกอีกฝ่าย” เช่นคุณรู้สึกอย่างไร หรือตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างเมื่ออีกฝ่ายตอบมา คุณจะต้องเป็นผู้ฟังที่ดีนี่ถือเป็นการสร้างความไว้วางใจอันดับแรกและเมื่อคุณจะตอบคำถามใด ๆ กลับไป ก็ควรมี “คำ หรือ วลี” จากประโยคสุดท้ายที่คู่สนทนาพูดออกมาเมื่อสักครู่นี้รวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นการตอกย้ำว่า “ฉันใส่ใจทุกคำพูดของคุณนะไม่ใช่แค่ฟังผ่าน ๆ”

0x600ภาพ:socialpronow.com

4.ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหวเมื่อได้ยินข่าวร้าย


ผู้ฟังย่อมต้องมีปฏิกิริยาต่าง ๆ กลับมา คุณจึงจำเป็นต้องมีความพร้อมในการ “ตั้งรับ” อารมณ์และการกระทำทั้งหมดของเขา การตอบกลับไปด้วยอารมณ์ย่อมไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีกลับมาแน่ ๆ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ผู้พูดควรรู้จักสะกดกลั้นอารมณ์ อดทน และนิ่งสงบเข้าไว้

   แต่วิธีที่ดีกว่านั้นก็คือ ต้องมีความเข้าอกเข้าใจผู้ฟัง พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา และมีความรู้สึกร่วมไปกับคู่สนทนา(ถ้าทำได้) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะแสดงทีท่าปล่อยผ่าน ละเลย หรือไม่สนใจ

 

5.ถ้าคนเดียวไม่ไหวให้ขอ “ตัวช่วย”


   เรื่องบางเรื่อง ถ้าคิดว่าเกินกำลังของคุณ และต้องการ “ผู้ช่วย” เพื่อให้การบอกข่าวร้ายครั้งนี้ผ่านไปด้วยดี คุณอาจมองหาสมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิทหรือบุคคลที่ผู้ฟังเคารพรักมาร่วมพูดคุยด้วยก็ได้ เพราะจะทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกว่ายังมีคนที่เขารักและไว้ใจอยู่เคียงข้างเสมอ

   ขอเพียงมีความเห็นใจ เข้าใจ และมีความปรารถนาดีจากใจจริง คุณก็จะสามารถบอกข่าวร้ายให้ผ่านไปด้วยดี โดยไม่ทำร้ายจิตใจคนฟังแน่นอน 

 

[ads=center]

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก :www.secret-thai.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: