“ตากระตุก” ไม่ใช่แค่ลางบอกเหตุ แต่เป็น “ลางบอกโรค” ที่ต้องรีบแก้ไขด่วน!





“ขวาร้าย ซ้ายดี”

บางคนเชื่อว่า “ตากระตุก” เป็นลางบอกเหตุที่ดีและไม่ดีบางอย่าง การกระตุกของตาซ้ายหรือตาขวารวมไปถึงใบหน้าส่วนอื่นๆอาจบอกเราให้เตรียมตัวรับมือโชคชะตาบางอย่างได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่ตากระตุกบ่อยๆอาจไม่ได้หมายความว่า ‘คุณมีใครมาบอกลางดีหรือลางร้าย’ แต่มันอาจจะเป็น “ลางบอกโรค” ที่คุณจำเป็นต้องรีบแก้ไขโดยด่วนเลยก็ว่าได้ ลางที่ว่านี้คืออะไร? ตามมาศึกษาไปพร้อมกันเลยค่ะ

 

ทราบหรือไม่ค่ะว่า อาการกระตุกบนใบหน้าเกิดจากสาเหตุอะไร? วันนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงสาเหตุของอาการเหล่านี้กันค่ะ เพราะความจริงแล้วโรคกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ลองมาดูกันสักหน่อยว่าคุณเข้าข่ายแบบไหนอยู่หรือไม่?

 

1497-1

 

ประเภทของโรคกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก

1. ตากระตุกหรือตาเขม่น

– ภาวะที่มีการกระตุกของกล้ามเนื้อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว เช่น ใต้หนังตา มุมปาก หรือกล้ามเนื้อรอบลูกตาข้างใดข้างหนึ่ง

-ในบางรายอาจเกิดเป็นประจำจนติดเป็นนิสัยได้ และเกิดขึ้นบ่อยเวลาเครียด กังวลใจ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

– สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการพักผ่อนที่เพียงพอ

 

2. ตากระพริบค้าง (Blepharospasm)

– ภาวะนี้ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายที่เรียกว่า ดีย์สโทเนีย (Dystonia) ผู้ป่วยจะมีตากะพริบทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อรอบลูกตาหดเกร็งตัวตลอดเวลา

– ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ กระพริบตาถี่ ๆ หรือ กระพริบตาปิดค้างและลืมตาไม่ขึ้น

 

3. ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก( Hemifacial spasm)

– ภาวะนี้พบบ่อยในคนไทย

– ความผิดปกติเนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าทั้งซีกที่เลี้ยงด้วยประสาทสมองคู่ที่ 7 มีการกระตุกถี่ ๆ และเกร็งค้าง อาการกระตุกจะเป็นมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยตื่นเต้น ตกใจ หรือกังวล

– อาการของโรคนี้ก่อให้เกิดความรำคาญและทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าเข้าสังคม

– แม้อาการจะไม่รุนแรง แต่รักษาไม่หาย

 

[ads]

 

4. อาการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อใบหน้าบริเวณตรงกลางทั้งหมด( Meige Syndrome)

– ประกอบด้วยอาการตากระพริบค้างร่วมกับการเคลื่อนไหวผิดปกติของปาก จมูกและคิ้วร่วมด้วย

– กลุ่มอาการนี้ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติชนิดดีย์สโทเนีย

 

5. การเคลื่อนไหวผิดปกติของกล้ามเนื้อบริเวณรอบปาก คางและลิ้น (Orofacial Dyskinesia)

– มีการเคลื่อนไหวของปาก คาง และลิ้น อยู่ตลอดเวลา

– ภาวะนี้ส่วนมากเกิดจากการแพ้ยากลุ่มยากล่อมประสาทหลัก หรือยากลุ่มที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ซึ่งโดยมากมักจะพบในผู้สูงอายุ

– รักษาโดยการใช้สารโบทูลินัม 10 ทอกซินฉีดเข้าไปในร่างกาย แต่จะรักษาโรคได้เพียงชั่วคราวเพียง 2-4 เดือนเท่านั้น ต้องกลับมาฉีดซ้ำ

– ผลแทรกซ้อนของการฉีด ได้แก่ ตาแห้ง น้ำตาไหลเยอะ หนังตาตก ตาสู้แสงไม่ได้ เห็นภาพซ้อน เลือดออกบริเวณที่ฉีด ปากเบี้ยว ฝืดคอ และมีผื่นตามลำตัว แต่อาการทั้งหมดจะเป็นเพียงชั่วคราวแล้วจะค่อย ๆ หายเอง

 

1497-2

 

จะเห็นได้ว่าแต่ละอาการไม่ใช่เรื่องที่จะละเลยหรือเพิกเฉยได้เลย อาการตากระตุกที่คุณเป็นอยู่เป็นแบบไหน เป็นบ่อยมากหรือไม่ คุณจำเป็นต้องพิจารณาตัวเอง และรีบไปหาหมอให้ทัน อย่ามัวแต่คิดว่าเป็นลางบอกเหตุจนลืมดูแลสุขภาพของตัวเองนะคะ เพราะโรคร้ายไม่เคยรอเราอยู่แล้ว

ก่อนที่อะไรจะสายเกินแก้…หันมาใส่ใจ ดูแล และรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงตลอดไปกันดีกว่า แล้วเราจะได้มีอวัยวะต่างๆใช้ไปได้อีกนานแสนนาน และไม่ต้องป่วยก่อนวัยอันควรด้วยนะคะ

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก samrong-hosp.com

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: