เรื่องลับๆที่สาวต้องรู้ก่อนดื่ม ‘ยาสตรี’ ประโยชน์มาก แต่โทษก็มี คิดดีๆก่อนดื่ม!





สาวๆหลายคนที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน มาไม่ตรงบ้าง มาน้อยบ้าง มักจะลองหายาสตรีมารับประทานเสริมดู เพราะคิดว่ายาที่ว่านี้เป็นยาที่สกัดมาจากสมุนไพร ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ และน่าจะช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธืที่เป็นอยู่ได้ ความคิดที่ว่านี้ถูกต้องทั้งหมดจริงหรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบกันค่ะ

 

1493-1

 

เมื่อสาวๆเข้าสู่วัยรุ่น ระบบภายในจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีประจำเดือน มีสิว มีฝ้า ปวดท้องน้อย หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้พวกเธอหันไปพึ่งยาสตรีที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาอย่างครบวงจร เพราะแต่ละชนิดต่างอวดอ้างสรรพคุณขั้นเทพ รักษาหรือบำรุงได้หลากหลายอาการ…แต่จริงๆแล้ว…ยาสตรีสามารถแก้ปัญหาของคุณผู้หญิงได้อย่างที่ว่าหรือไม่ มาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลย

 

ทำไมต้อง ยาสตรี ?

ทางแพทย์แผนไทยถือว่า “ยาสตรี” เป็นยาร้อน บำรุงธาตุไฟ ช่วยในการหมุนเวียนของเลือด มักให้สรรพคุณช่วยฟอกเลือด บำรุงเลือด บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณให้มีเลือดฝาดเปล่งปลั่ง บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้ปวดประจำเดือน แก้จุกเสียด ใช้ขับน้ำคาวปลา หรือทำให้มดลูกแห้งเร็ว  เป็นต้น

 

1493-3

 

ส่วนประกอบที่สำคัญ

ยาสตรี เป็นยาที่สกัดมาจากสมุนไพร แบ่งส่วนประกอบออกได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

            1.สมุนไพรที่มีฤทธิ์ ขับลม เจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต แก้ลมวิงเวียน เช่น น้ำมันสะระแหน่ ดอกคำฝอย ชะเอม ดอกจันทน์ น้ำผึ้ง เปลือกส้ม ขิง ข่า ตะไคร้ กานพลู ขมิ้นชัน การบูร ไพล พริกไทย เทียนดำ เทียนแดง แก่นขี้เหล็ก แก่นฝาง

            2.สมุนไพรที่มีฤทธิ์ฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ว่านชักมดลูก โกศเชียง (ตังกุย) กวาวเครือขาว

            3.แอลกอฮอล์ ซึ่งใช้สกัดตัวยาออกจากสมุนไพร

 

จะเห็นได้ว่า…ส่วนประกอบของยาสตรี ก็คือ สมุนไพรสารพัดชนิดกับแอลกอฮอล์ ที่จะช่วยสกัดเอาตัวยาออกมา ดังนั้น เมื่อดื่มเข้าไปก็เลยทำให้เลือดลมสูบฉีดได้ดี ส่วนสมุนไพรที่ใส่ลงไปก็น่าจะมีสรรพคุณทางยาตามแต่ละชนิดไป

 

แต่ถึงจะประกอบด้วยสมุนไพรมากมาย แต่สมุนไพรเด่น ๆ ที่เรามักจะพบในยาสตรีก็จะมีอยู่ 2 ตัว ได้แก่ "ว่านชักมดลูก" และ "โกฐเชียง (ตังกุย)" ซึ่งจะมีสารชื่อว่าไฟโตเอสโตรเจนที่มีโครงสร้างคล้าย ๆ กับฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน สมุนไพรทั้งสองจึงทำให้ยาสตรีมีฤทธิ์ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนที่เสียไปจากสาเหตุต่าง ๆ และกระตุ้นให้ประจำเดือนมาเมื่อดื่มยาเข้าไปได้

 

[ads]

 

ผลต่อร่างกาย

1. กระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาตัวขึ้น

2. หากมีประจำเดือนมามาก ปวดประจำเดือนจากโรคช็อกโกแลตซีสต์ ยาสตรีทำให้ตกเลือดมากขึ้น และทำให้โรตช็อกโกแลตซีสต์เป็นมากขึ้น

3. หากมีการอักเสบ ที่ช่องคลอด ปากมดลูกหรือมดลูก ยาสตรีอาจเพิ่มการบวมของเนื้อเยื่อ เพิ่มตกขาว ทำให้การอักเสบรุนแรงขึ้น

 

 

ข้อเสียที่พึงรู้

1. การดื่มยาสตรีติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้ติดและส่งผลเสียต่อตับได้

2. ไม่เคยมีการวิเคราะห์ยาสตรีอย่างชัดเจนว่า จะมีสารตกค้างที่อาจก่อให้เกิดโรคหรือผลเสียอะไรหรือเปล่า จึงไม่ทราบผลของการดื่มในระยะยาว

3. บุคคลที่ห้ามกินยาสตรี ได้แก่ สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยที่มีไข้สูง ผู้ที่แพ้แอลกอฮอล์ และผู้ที่กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด

 

หากต้องการให้ประจำสม่ำเสมอ การกินยาสตรีก็คงไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ในทางการแพทย์แล้ว…การที่ประจำเดือนมาไม่ปกติก็คงไม่ใช่เรื่องผิดปกติมากไปนัก เพราะหากบางเดือนหากไข่ไม่ตก ฮอร์โมนไม่ปกติ คุณก็อาจมีประจำเดือนช้ากว่าปกติได้  ส่วนปริมาณของประจำเดือนก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพและอารมณ์ ดังนั้นจึงไม่ได้จำเป็นที่ต้องรับประทานยาสตรีเพื่อขับประจำเดือนออกมา

 

 

แต่ถ้าใครอยากทาน ก่อนซื้อยาสตรีทุกครั้งต้องสังเกตทะเบียนตำรับยาที่แสดงบนฉลากทุกขวดให้ดี ถ้าไม่มีห้ามซ้อมาทานเด็ดขาด อาจจะเป็นอันตรายมากกว่าที่คุณคาดคิดไว้ได้

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก beauty24store.com และ health.kapook.com

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: