น่ากลัวมาก! 6 โรคร้ายจะถามหาถ้า “ดื่มน้ำน้อย” แต่ละโรครักษายาก ระบบรวน  ชวนป่วยรุนแรง





จริงอยู่ว่าหน้าที่การงานที่ยุ่งวุ่นวายทำให้คุณลืมที่จะใส่ใจดูแลตัวเอง บางคนแทบจะไม่ได้ดื่มน้ำเลยระหว่างวัน ได้ดื่มน้ำเฉพาะช่วงที่ทานข้าวกลางวันเท่านั้น หากคุณทำแบบนี้บ่อยๆย่อมไม่ดีอย่างยิ่งต่อร่างกาย และขอบอกไว้เลยว่า ร่างกายของคุณกำลัง “ขาดน้ำ” โดยที่คุณไม่รู้ตัว ซึ่งนั่นจะส่งผลร้ายถึงสุขภาพอย่างร้ายแรงโดยที่คุณก็ไม่รู้ตัวเช่นเดียวกัน

 

โรคอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงจากการดื่มน้ำน้อย และอันตรายมากแค่ไหน ต้องรีบไปทำความเข้าใจกันตอนนี้เลยค่ะ

 

 

6 โรคร้ายถามหา ถ้า “ดื่มน้ำน้อย”

1. สมองเสื่อม

แค่ดื่มน้ำน้อยก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้ เพราะสมองมีส่วนประกอบของน้ำค่อนข้างมาก เมื่อร่างกายของเราขาดน้ำ ริมาณของน้ำในร่างกายไม่เพียงพอในการเป็นส่วนหนึ่งของเลือดที่สูบฉีดไปทั่วร่างกาย ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงที่สมองได้เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อมได้นั่นเอง

 

จุดสังเกต หากคุณรู้สึกไม่สดชื่น ไม่กระฉับกระเฉง รู้สึกเนือยๆ อึนๆ มึนๆ คิดช้า ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการ “ดื่มน้ำน้อยเกินไป”  เร่งเติมน้ำให้ร่างกายด่วนเลย

 

 

2. ริดสีดวงทวาร

เมื่อร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ระบบย่อยในกระเพาะอาหารก็จะทำงานได้ยากลำบากมากขึ้น รวมไปถึงลำไส้ที่แห้ง และอาจทำให้เราไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้ง่ายๆ และเมื่อมีของเสียสะสมอยู่ในลำไส้ ลำไส้นานๆ ลำไส้ก็จะดูดซึมของเสียนั้นกลับเข้าร่างกายไปอีก ซึ่งยิ่งทำให้เลือดมีของเสีย และข้นหนืดมากกว่าเดิม นำไปสู่โรคริดสีดวงทวารได้นั่นเอง

 

จุดสังเกต  หากการขับถ่ายอุจจาระไม่ลื่นไหลเหมือนเคย อุจจาระก็แข็งแห้งกว่าเดิม จนเกิดเป็นอาการท้องผูก  ทั้งๆที่ก็เคยขับถ่ายเป็นประจำและรับประทานอาหารที่มีกากใยอย่างเหมาะสม ให้ลองดื่มน้ำเข้าไปมากๆ วิธีนี้จะช่วยการขับถ่ายอุจจาระคล่องตัวมากขึ้นได้

 

1461.4

 

3. ปวดข้อ

ใครปวดข้อบ่อยๆอาจเป็นเพราะคุณดื่มน้ำไม่มากพอก็ได้ เพราะกระดูกอ่อนในหลายๆ ส่วนของร่างกาย รวมไปถึงหมอนรองกระดูก มีส่วนประกอบเป็นน้ำมากถึง 80% ดังนั้นหากข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกแห้ง ไม่ชุ่มชื้นเพียงพอ อาจทำให้ข้อต่อต่างๆ ดูดซับแรงกระแทกได้ไม่ดีพอ จนเกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย หรืออาจอักเสบได้ง่าย เมื่อต้องออกแรงเดิน ยก เหวี่ยง หรือแม้แต่ตอนออกกำลังกาย และยกน้ำหนัก

 

Woman having knee pain in medical office

 

4. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ / กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

หากคุณมีอาการปวดปัสสาวะ แต่ไม่มีปัสสาวะไหลออกมา หรือไหลออกเพียงหยดสองหยด คุณอาจกำลังเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ การติดเชื้อ และการกลั้นปัสสาวะนานๆ

 

 

5. อ้วน

ไม่จำเป็นต้องกินเยอะอย่างเดียวถึงจะอ้วนได้ แต่การดื่มน้ำน้อยก็เป็นสาเหตุที่อาจนำไปสู่โรคอ้วนได้เช่นกัน เพราะการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ หรือดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนทานอาหาร จะทำให้คุณอิ่มง่ายหรืออิ่มเร็วกว่าการทานอาหารโดยไม่ดื่มน้ำเลยนั่นเอง

 

Obese women shows fat on her stomach, Photography 

 

6. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

ประจำเดือน เป็นตัวบ่งบอกถึงสุขภาพได้ดีอีกอย่างหนึ่ง บางทีการที่ประจำเดือนของคุณมาไม่สม่ำเสมอ ขาดๆ หายๆ มีสีเข้มมากเกินไป เป็นลิ่มเลือด หรือแม้กระทั่งมีอาการปวดท้อง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นเช่นนี้ อาจมาจากการดื่มน้ำน้อยก็เป็นได้ เพราะเมื่อน้ำในร่างกายมีปริมาณไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำไปสร้างเป็นประจำเดือนได้นั่นเอง

 

นอกจากนี้ การดื่มน้ำน้อยก็ยังส่งผลเสียถึงผิวพรรณที่หย่อยคล้อย หมองคล้ำ ผิวแห้ง ตาแห้ง และดูแก่กว่าวัยอีกด้วย ใครไม่อยากแก่ไวรีบดื่มน้ำเข้าไปซะ

 

[ads]

 

จะเห็นได้ว่าการดื่มน้ำน้อยไม่ใช่แค่เรื่องธรรมดา เพราะสามารถทำให้เราป่วยได้ง่ายๆ ทั้งนี้เรามี 3 สัญญาณของคนที่ดื่มน้ำน้อยมาฝากกัน หากไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นคนดื่มน้ำน้อยหรือไม่ ให้สังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้

1. ปัสสาวะไม่ถึง 4-7 ครั้งต่อวัน

2. ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มแทบทุกครั้ง

3. ปัสสาวะมีกลิ่นฉุนจัด

 

 

เพราะฉะนั้นหากใครมีอาการตามสัญญาณของคนดื่มน้ำน้อยดังกล่าว ควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้นให้ได้ราวๆ 1,500-2,000 มิลลิลิตรต่อวัน หรือ 6-8 แก้วต่อวัน ทำงานไปจิบไป อย่าดื่มรวดเดียวทีละมากๆ รับรองว่าหากทำได้ร่างกายของคุณจะไม่ขาดน้ำอีกต่อไป

 

เชื่อว่าถ้าคุณเริ่มเปลี่ยนตัวเองตั้งแต่วันนี้ คุณจะต้องสามารถทำได้แน่ๆ ค่อยๆปรับค่อยๆแก้กันไป ไม่นานการกินน้ำอย่างเพียงพอก็จะกลายเป็นหนึ่งในนิสัยที่คุณทำจนเคยชิน และไม่รู้สึกว่าร่างกายขาดน้ำอีกต่อไป

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก สสส., ku.ac.th

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: